โครงสร้างของสภาสูง ของ สภาสูง

การได้มาซึ่งสภาสูง อาจกระทำได้โดยหลายวิธี เช่น การเลือกตั้งโดยประชาชน การแต่งตั้ง การได้มาแบบผสมระหว่างการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง เช่นในประเทศไทย และการได้รับสืบทอดตำแหน่งภายในสกุล

มีสภาสูงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน แต่ใช้วิธีการแต่งตั้งโดยหัวหน้ารัฐบาล เนื่องจากต้องการให้สภาสูงประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแท้จริง ซึ่งการเลือกตั้งมักไม่ได้ผู้ทรงคุณวุฒิเช่นนั้น อาทิ สมาชิกวุฒิสภาแห่งแคนาดาได้มาด้วยการเลือกสรรของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดานำความกราบบังคมทูลฯ ให้พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมีพระราชโองการแต่งตั้ง

ทั้งนี้ สำหรับการได้รับสืบทอดตำแหน่งภายในสกุล เช่น (ในประเทศเยอรมัน), สภาขุนนางของประเทศอังกฤษ (มีจวบจนปัจจุบัน) และสภาขุนนางของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นยกเลิกวิธีการนี้เมื่อ พ.ศ. 2490)

สำหรับการเลือกตั้งโดยประชาชนมีทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม แบบทางตรงคือ ประชาชนเลือกผู้แทนประชาชนแล้ว เมื่อผลการเลือกตั้งเป็นที่รับรอง ผู้แทนนั้นก็เป็นสมาชิกสภาสูงทันที, ส่วนแบบทางอ้อมคือ ผู้แทนนั้นไปคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสมาชิกสภาสูงอีกที

อย่างก็ดี โดยทั่วไปแล้วสภาสูงมักประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม เช่น วุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 เมื่อ พ.ศ. 2456 แต่ในประเทศที่สมาชิกสภาสูงมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มักมีสัดส่วนต่ำกว่าสภาล่าง เช่น วุฒิสภาของออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งการกำหนดจำนวนสมาชิกที่ได้จากการเลือกตั้งของรัฐต่าง ๆ ไว้ตายตัวตามจำนวนรัฐโดยไม่ใช้จำนวนประชากร

ใกล้เคียง

สภาสูง สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูประชาธิปไตย สภาสูงสุดสำหรับการสร้างชาติใหม่ สภาสูงสุดแห่งชาติ สภาสังคายนาสากล สภาสังคมนิยมชาตินิยมแห่งนาคาแลนด์ สภาสังฆาธิการนครรัฐวาติกัน