การทำงาน ของ สมคิด_จาตุศรีพิทักษ์

งานการเมือง

  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ทนง พิทยะ)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.สม จาตุศรีพิทักษ์)
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 9 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 9 ตุลาคม 2544 – 3 ตุลาคม 2545 รองนายกรัฐมนตรี
  • 3 ตุลาคม 2545 – 8 กุมภาพันธ์ 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 8 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 มีนาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี
  • 10 มีนาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 11 มีนาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี[4]
  • 11 มีนาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 2 สิงหาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[5]
  • 15 กุมภาพันธ์ 2550 – 21 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ชีวิตภายหลังการรัฐประหาร 2549

สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยม หรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของสมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ต่อมาในปี 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6] จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 เขาขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป้นโจทก์ฟ้องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฉ้อโกง ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้อง[7]

สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[8]

หลังการรัฐประหาร 2557

สมคิด ได้เข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 2558 สมคิดจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เขาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กรณีกระทรวงการคลังไล่ออกนายสาธิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมคิด_จาตุศรีพิทักษ์ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/352103 http://www.moneychannel.co.th/Menu6/BreakingNews/t... http://www.mof.go.th/leader2002/somkid.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0002705... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0011720... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0015467... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/...