ยุทธการบ้านร่มเกล้า ของ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

จากคำบอกเล่าของทหารที่อยู่แนวหน้า[ต้องการอ้างอิง] ระบุว่าทหารไทยในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าต้องรบกับข้าศึกที่มียุทธภูมิดีกว่า มีอำนาจการยิงสนับสนุนต่อเนื่องและรุนแรง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะแนวกับระเบิด ทหารหลายนายซึ่งผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน กล่าวว่า เป็นการรบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมาในชีวิตการเป็นทหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะบริเวณเนิน 1182, 1370, และ 1428

ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่งถูกยิงตกด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน และจรวดแซม[ต้องการอ้างอิง]

เนื้อหาส่วนนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์
หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้าอภิปรายแล้วนำป้ายนี้ออกได้
กรุณาศึกษาวิธีเขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณทราบว่าเนื้อหาส่วนนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ลบเนื้อหาดังกล่าวออก

ประภาสกรำศึกในสมรภูมิร่มเกล้าตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ประสบการณ์เฉียดตาย ๒๗ วันนั้นยังชัดเจนในความทรงจำ เขาเล่าว่าที่หมายทางทหารของไทยมีทั้งหมด ๕ จุด ที่หมาย ๑ คือเนิน ๑๔๒๘ เป็นจุดที่ต้องยึดให้ได้ และทหารพรานจากค่ายปักธงชัย ๙ กองร้อยกับ ๑ ฐานยิง ประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด ๘๐ ๑๑๐, ๑๒๐ มม. ได้รับมอบหมายให้อยู่ในแนวหน้าตีจุดนี้ส่วนจุดอื่น ๆ ทหารหลักเป็นผู้รับผิดชอบ“กองทัพไทยอ่านเกมขาดว่าค่าตัวทหารหลักแพงกว่าทหารพรานที่มีค่าอาหารวันละ ๒๔๐ บาท ค่าจู่โจม ๑๘๐ บาท ตายแล้วจ่ายแค่ ๒ แสนบาทจบ คิดดูว่าเขาส่งทหารยศจ่าสิบเอกเท่านั้นมาคุมหน่วยผม ไม่ใช้นายร้อยเพราะไม่คุ้ม ปรกติทหารพรานถูกฝึกรบนอกแบบ (สงครามกองโจร) แต่ศึกนี้จัดกำลังในแบบ ซึ่งไม่เหมาะ ตอนไปถึงที่นั่นปืนใหญ่เราล้อมที่หมาย ๑ เป็นรูปครึ่งวงกลม เราต้องเข้าตีเนิน ๑๔๒๘ จากด้านหนึ่ง ถ้าตีได้จะตีเนินที่เหลือได้ทั้งหมด ที่ร่มเกล้าภูมิประเทศเป็นภูเขาดิน พอฝนตกจะลื่นมาก เนิน ๑๔๒๘ ชันราว ๗๐ องศา ไม่มีที่ราบ ฐานของลาวไม่ได้อยู่ยอดเนิน แต่อยู่ต่ำลงมาจากยอดเนิน เขาทำแนวตั้งรับไว้ ๓ แนว แนวแรกคือรั้วขวาก ไม้รวก แนวที่ ๒ คือกับระเบิด แนวที่ ๓ คือคูเลด (สนามเพลาะ) แนวตั้งรับจากแนวแรกถึงแนวสุดท้ายลึก ๑ กิโลเมตร  ตามโคนไม้ก็วางระเบิดเต็มไปหมดเพราะรู้ว่าเวลายิงกันทหารไทยจะไปตรงนั้น ปืนใหญ่ลาวแม่นมากขณะที่ปืนใหญ่ไทยยิงไม่แม่น แม้จะเป็นฝ่ายรุกแต่ใจเราตั้งรับเพราะเสี่ยงมาก ยิงกันพักเดียวโดนหามลงมาทีละคน ๆ ผมคิดแล้วว่าจะถึงคิวเราเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงทหารลาวตลอดแต่ไม่เห็นตัวเลย”

หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่าง ๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 นาย[ต้องการอ้างอิง]

กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบแซม 7[ต้องการอ้างอิง]

ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก ด้วยมีความเสียเปรียบหลายประการ ในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่หลังพบว่าการรบในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะนายทหารจึงปรับแผนการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่าง ๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า สมรภูมิไอเดีย สมรภูมิมอดไหม้ สมรภูมิเดียนเบียนฟู สมรภูมิพรมแดง สมรภูมิบ้านพร้าว สมรภูมิเกตตีสเบิร์ก สมรภูมิวอเตอร์ลู สมรภูมิอิโวะจิมะ สมรภูมิช่องบก