ข้อสังเกตจากการรบ ของ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

  • การรบครั้งนี้ผิดกับการรบเท่าที่ทหารไทยได้เคยผ่านมา ทำให้ต้องระดมกำลังทหารหน่วยต่าง ๆ เข้าสู่ยุทธบริเวณจำนวนมาก ทั้งจากเหล่าม้า เหล่าราบ เหล่าปืนใหญ่ เหล่าทหารช่าง หน่วยรบพิเศษ รวมทั้งการรบนอกแบบที่ต้องใช้ทหารพรานเข้าเกาะฐานที่มั่นของฝ่ายลาวด้วย
  • การส่งกำลังบำรุงของทหารไทยเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเส้นทาง สภาพถนนที่ค่อนข้างแคบและขรุขระ อีกทั้งเป็นทางสูงชันคดเคี้ยว ลัดเลาะไปตามไหล่เขาที่ค่อนข้างสูงไม่ต่ำกว่า 1000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
  • สาเหตุที่ทหารลาวได้ยึดเนิน 1428 ชนิดหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมถอย เท่าที่ดูจากภูมิประเทศแล้ว เนิน 1428 เป็นเนินบนยอดเขาที่สูงที่สุด สามารถมองเห็นชัยภูมิรอบๆ ได้เป็นอย่างดี และ ผตน. ของลาวจะคอยชี้เป้าให้ปืนใหญ่ยิงถล่มทหารไทยที่กำลังรุกคืบหน้าอยู่เบื้องล่างอย่างได้ผล และที่สำคัญคือ เนิน 1428 นั้นทหารลาวได้ทำบังเกอร์ถาวร (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ขุดอุโมงเชื่อมต่อกับรอบฐาน ปรับพื้นที่ ขุดร่องเหลดไว้พร้อมสรรพ เป็นฐานที่มั่นแข็งแรง สามารถทนทานการโจมตีทางอากาศได้อย่างดี อีกทั้งมีการวางกับระเบิด
  • การประเมินค่าขีดความสามารถในการรบของทหารลาว ซึ่งได้รับการฝึกจากเวียดนาม มีสหภาพโซเวียตสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะทหารปืนใหญ่ และหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งต้องใช้ฝีมือและเทคโนโลยีเข้าช่วย จึงจะปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การใช้สุนัขสงคราม ตรวจหาทุ่นระเบิด นับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลดีที่สุด[ต้องการอ้างอิง] แต่เมื่อถึงสนามรบจริง สุนัขบางตัวกลับเดินหนีเพราะเวียนหัวกลิ่นกำมะถัน จากที่ทหารลาววางเอาไว้ ทหารไทยจึงช่วยตนเองเอาไม้ไผ่มาทำเครื่องค้นหากับระเบิดไปพลาง ๆ ก่อน เพราะเครื่องตรวจทุ่นระเบิดมีจำนวนจำกัด[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า สมรภูมิไอเดีย สมรภูมิมอดไหม้ สมรภูมิเดียนเบียนฟู สมรภูมิพรมแดง สมรภูมิบ้านพร้าว สมรภูมิเกตตีสเบิร์ก สมรภูมิวอเตอร์ลู สมรภูมิอิโวะจิมะ สมรภูมิช่องบก