ก่อนสมัยประชุม ของ สมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย_26–27_ตุลาคม_2563

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2563 เผยแพร่วันที่ 21 ตุลาคม 2563 โดยระบุเหตุผลว่าต้องการทราบความเห็นของสมาชิกรัฐสภา 3 เรื่อง ได้แก่

  1. ความเสี่ยงของการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
  2. เหตุขบวนเสด็จฯ ผ่านที่ชุมนุมบริเวณถนนพิษณุโลกในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร
  3. การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และความกังวลสถานการณ์บานปลายเป็นการจลาจล[1] ญัตติทั้งสามข้อไม่มีข้อใดตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม อันได้แก่ นายกรัฐมนตรีลาออก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีไปตรงกับข้อเรียกร้องของพรรคก้าวไกลบ้างตรงที่ต้องการอภิปรายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[1]

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 พรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงว่าญัตติของคณะรัฐมนตรีเป็นการใส่ร้ายผู้ชุมนุม ต้องการใช้เวทีรัฐสภาฟอกขาวให้รัฐบาล และไม่ใช่ทางออกของปัญหา[2] พรรคก้าวไกลเตรียมเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ด้านพรรคเพื่อไทยระบุว่าเตรียมผู้อภิปรายไว้ 20 คนเกี่ยวกับการประท้วง แต่เห็นว่าไม่ควรอภิปรายเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ประชุม และให้ขึ้นอยู่กับประธานวิปรัฐบาล ส่วนพรรคพลังประชารัฐจัดตัวผู้อภิปรายไว้ 5 คน ได้แก่ วิรัช รัตนเศรษฐ, ไพบูลย์ นิติตะวัน, ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์, ปารีณา ไกรคุปต์ และสิระ เจนจาคะ โดยส่วนใหญ่จะอภิปรายในเรื่องเหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ[3]

สมัยประชุมดังกล่าวจัดเวลาอภิปรายไว้ 25 ชั่วโมง แบ่งเป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน 8 ชั่วโมง, ส.ส.รัฐบาล 5 ชั่วโมง, คณะรัฐมนตรี 5 ชั่วโมง และสมาชิกวุฒิสภา 5 ชั่วโมง และชวน หลีกภัยในฐานะประธานรัฐสภา 2 ชั่วโมง[4] กลุ่มประชาชนปลดแอกมองว่าการประชุมดังกล่าวเวลาส่วนใหญ่เป็นของฝั่งรัฐบาล และขอให้ประชาชนร่วมกันจับตาว่ารัฐบาลจะใช้วิธีฟอกขาวตนเองอย่างไร และเชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น[5] ผู้คุมเสียงในสภาฝ่ายรัฐบาลเชื่อว่าสมาชิกรัฐสภามีวุฒิภาวะมากพอไม่อภิปรายถึงประเด็นอ่อนไหว คือ เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวว่า หากสมาชิกคนใดอภิปรายจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากเอกสิทธิ์ตามกฎหมาย[6]

ตำรวจเตรียมรถคุมขังและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงดูแลความปลอดภัยโดยรอบที่ประชุม[7]

กลุ่มผู้ชุมนุมศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (ศปปส.) ชุมนุมข้ามคืนวันที่ 25–26 ตุลาคม 2563 รอบสัปปายะสภาสถาน เพื่อเตรียมยื่นคัดค้านการตั้งคณะกรรมาธิการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีสุวิทย์ ทองประเสริฐ (อดีตพระพุทธะอิสระ) เข้าร่วมด้วย[8] โดยพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​อำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มดังกล่าวโดยจัดหารถสุขาและรถขยะให้[9]

ใกล้เคียง

สมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย 26–27 ตุลาคม 2563 สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ สมัยปัจจุบัน สมัยประชุมพิเศษฉุกเฉินที่ 11 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัย ปานอินทร์ สมัยการปกครองส่วนพระองค์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกลางตอนต้น สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สมัยไพลสโตซีน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภาไทย_26–27_ตุลาคม_2563 https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/2008... https://www.bbc.com/thai/thailand-54688443 https://www.bbc.com/thai/thailand-54702089 https://ch3thailandnews.bectero.com/news/214834 https://news.ch7.com/detail/445677 https://www.khaosodenglish.com/politics/2020/10/26... https://www.prachachat.net/politics/news-542909 https://www.prachachat.net/politics/news-543944 https://www.prachachat.net/politics/news-544224 https://www.dailynews.co.th/politics/803135