การก่อตั้งสมาคม ของ สมาคมธรรมประทีป

พ.ศ. 2505 ด็อกเตอร์ หนุ่มใหญ่ท่านหนึ่งนามว่า ดร. พิภพ ตังคณะสิงห์ ผู้อำนวยการและเจ้าของโรงเรียนสากลการบัญชี ได้สังเกตเห็นเพื่อนบ้านที่เป็นชาวต่างชาติเป็นชาวไต้หวันชื่อ มิสเตอร์พัว (พัวกิมจุง) และเพื่อนประมาณ 10 กว่าคน ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมาชิกของสมาคมสร้างคุณค่า (โซคา งักไก) มักจะมารวมตัวกันเพื่อสวดมนต์ จึงเกิดความสงสัยและสอบถามรายละเอียด จนได้ทราบว่า เป็นการสวดมนต์ฝ่ายมหายาน เป็นศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามรายละเอียดนั้นไม่สามารถสื่อการกันได้มากนัก เนื่องจากมิสเตอร์พัวพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องแคล่วนัก

ต่อมาได้พาชาวต่างชาติชาวอเมริกันมาขอพบอาจารย์พิภพเพื่อเล่าความเป็นมาของ พุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ให้อาจาร์ยฟัง ส่งผลให้อาจารย์เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ ของนิกายนี้ อย่างไรก็ตาม ดร.พิภพ มิได้ตกลงปลงใจเชื่อในหลักคำสอนนี้ในทันที ในเวลาต่อมาได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือต่างๆ รวมถึงสอบถามจากพระเถระที่มีความรู้ แต่ก็ยังไม่กระจ่างจนในที่สุด ดร.พิภพ จึงได้เข้าไปสืบค้นข้อมูลที่ หอสมุดแห่งชาติ และที่นี้นี่เองท่านจึงได้พบรายละเอียดของนิกายนี้ ดร.พิภพจึงได้เริ่มปฏิบัติธรรมนิกายนิชิเร็นโชชูเป็นคนแรก และได้ทำการชักชวน คุณธนิษฐา พูลสมบัติ ผู้เป็นภรรยามานับถือด้วย ซึ่งถือเป็นศิษย์คนแรกของอาจารย์ ในเวลาต่อมาได้มีสมาชิกผู้นับถือมากขึ้น ดร.พิภพ ได้มีความคิดที่จะสร้างความเป็นผึกแผ่นของผู้นับถือจึงพยายามจะขอจดทะเบียนสมาคม จึงได้มีการเดินทางไปพบกับเพื่อนเก่าของดร. พิภพ อาทิเช่น สัญญา ธรรมศักดิ์, สุนทร หงส์ลดารมภ์, ประดิษฐ์ ลีวีระวงศ์ และอีกหลายท่าน เนื่องจากในสมัยนั้นการจดทะเบียนสมาคมเป็นเรื่องยาก หากไม่มีบุคคลทางราชการรับรอง

สมาคมธรรมประทีปได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2514 จากนั้นการเผยแผ่ธรรมก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและมีแบบแผน มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ดร. พิภพได้ปฏิเสธตำแหน่งนายกสมาคม และได้มอบตำแหน่งให้กับนายประสิทธิ์ พรรณรัตน์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

แน่นอนว่ามากคนก็มากความ ในภายหลังได้เกิดกรณีขัดแย้งกันระหว่าง ดร.พิภพ และผู้ดูแลสมาชิกที่ส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น (ยิมูโจ) ทำให้สมาชิก 8 เขตในสมัยนั้น (ทั้งหมดมี 9 เขต) ตัดสินใจแยกตัวออกมาก่อตั้งเป็นสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ส่งผลให้สมาคมธรรมประทีปต้องย้ายสำนักงานที่ตั้งมาอยู่ที่เขตคลองเตยและบางไผ่ตามลำดับ

ใกล้เคียง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมกีฬาโรมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ สมาคมสร้างคุณค่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา