ประวัติ ของ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

ค.ศ. 1915–คริสต์ทศวรรษ 1980: การก่อตั้งและช่วงปีแรก

ผู้ประสานงานการส่งเสริมสุขภาพที่กิจการกองเรือซาเซโบะ จากออกัสตา รัฐจอร์เจีย ตรวจสอบความดันโลหิตของกะลาสีระหว่างแคมเปญรณรงค์โรคหัวใจ "โกเรดฟอร์วีเมน" สำหรับผู้หญิงในปี ค.ศ. 2009

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเติบโตขึ้นจากกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็ก ๆ ผู้นำหลักคือสมาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาอาการโรคหัวใจ ที่ก่อตั้งขึ้นในนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1915 เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ องค์กรที่คล้ายกันหลายแห่งได้รับการก่อตัวหรือพัฒนาขึ้นในบอสตัน, ฟิลาเดลเฟีย และชิคาโกในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยตระหนักถึงความต้องการขององค์กรระดับชาติในการแบ่งปันการวิจัยและการส่งเสริมผลการวิจัย สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1924 โดยมีผู้ชำนาญโรคหัวใจ 6 คนซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้นำหลายกลุ่ม[1]

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกายังคงมีขนาดเล็กจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 เมื่อได้รับเลือกสำหรับการสนับสนุนโดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ผ่านทางธุรกิจของพวกเขา จากรายชื่อองค์กรการกุศลที่แจ้งความจำนง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ให้เงิน 1.5 ล้านดอลลาร์จากรายการวิทยุทรูธออร์คอนซีเควนส์ เพื่อให้องค์กรสามารถออกไปทำงานระดับประเทศได้[5]

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจำกัดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลเกิดขึ้นจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และหลักเกณฑ์การบริโภคอาหารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1957 และ 1961 ส่วนรายงานสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ค.ศ. 1957 ประกอบด้วย: (1) อาหารอาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (2) ปริมาณไขมันและแคลอรีทั้งหมดในอาหารอาจเป็นปัจจัยสำคัญ (3) อัตราส่วนระหว่างไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวอาจเป็นปัจจัยพื้นฐาน และ (4) จจัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือไขมัน ทั้งอาหารและและขาดโภชนาการอาจมีความสำคัญ โดยในปี ค.ศ. 1961 การค้นพบเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่คำแนะนำใหม่ของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาใน ค.ศ. 1961 ได้แก่: (1) รักษาน้ำหนักตัวให้ถูกต้อง (2) ออกกำลังกายในระดับปานกลาง เช่น การเดินเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก (3) ลดปริมาณไขมัน, ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลทั้งหมด เพิ่มปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (4) ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งชัดเจนควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนอาหาร และ (5) การเปลี่ยนแปลงอาหารควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ คำแนะนำเหล่านี้ยังคงมีความแม่นยำมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ถึง 1980 แต่ยังคงเป็น "การเชื่อมโยงกันทั่วไปในหมู่พวกเขา"[6]

คริสต์ทศวรรษ 1990–คริสต์ทศวรรษ 2000: การณรงค์ให้ความรู้

ในปี ค.ศ. 1994 นิตยสารเดอะโครนิเคิลออฟฟิแลนโธรฟี ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ เผยแพร่ผลการค้นคว้าที่ใหญ่ที่สุดขององค์การการกุศลและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรรวมทั้งความน่าเชื่อถือ การค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการจัดอันดับให้เป็น "องค์การการกุศล/ไม่แสวงหาผลกำไรในอเมริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด" อันดับ 5 จากองค์การการกุศลกว่า 100 แห่ง กับ 95 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันที่มีอายุเกินกว่า 12 ปีที่เลือกหมวดหมู่ในลักษณะ รัก และ ชอบมาก สำหรับสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา[3]

ในปี ค.ศ. 2003 ได้มีการตีพิมพ์ “รายงานฉบับที่เจ็ดของคณะกรรมการร่วมแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน, ตรวจจับ, การประเมินผล และการรักษาความดันโลหิตสูง” (เจเอ็นซี 7)[7]

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาและสภาการโฆษณาได้เปิดตัวประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะเกี่ยวกับซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้นและเว็บไซต์[8] เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ประกาศรณรงค์สร้างความตื่นตัวถึงกรณีหัวใจหยุดเต้นขึ้นใหม่โดยให้ชื่อว่าบีเดอะบีท[9] จุดมุ่งหมายของการรณรงค์คือการสอนเด็กที่มีอายุ 12 ถึง 15 ปีได้สนุกกับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพและวิธีใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

ในปี ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้เปิดตัวการรณรงค์ "โกเรดฟอร์วีเมน" ในอดีตผู้ชายเป็นหัวข้อหลักของโรคหัวใจและการวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง "โกเรดฟอร์วีเมน" จึงมุ่งเน้นเฉพาะสตรีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและการดำเนินการที่พวกเธอสามารถทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเอง รายได้ทั้งหมดจากการรณรงค์ท้องถิ่นและระดับชาติสนับนำไปใช้เพื่อสนุนการรับรู้, การวิจัย, การศึกษา และโครงการชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสตรี[10]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับรองนินเท็นโดวีคอนโซล โดยมีไอคอนสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาปรากฏบนกล่องคอนโซล เช่นเดียวกับวีฟิตพลัส และวีสปอร์ตรีสอร์ต

ค.ศ. 2012–15: อีเวนต์และกิจกรรมล่าสุด

ภาพกิจกรรมกระโดดเชือกเพื่อหัวใจในปี ค.ศ. 2014 โดยอาสาสมัครจากฝูงบินที่ 6 และกรมทหารม้าที่ 8 ได้ช่วยนักเรียนในการฉลองการสิ้นสุดกิจกรรม "กระโดดเชือกเพื่อหัวใจ" ซึ่งเป็นอีเวนต์การระดมทุนของโรงเรียน เพื่อระดมทุนสำหรับสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการรณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับวิธีการทำซีพีอาร์แบบใช้มือเท่านั้น[11][12][13] การณรงค์ในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งเริ่มในนครนิวยอร์ก มีเจนนิเฟอร์ คูลิดจ์ เป็นโฆษก[14]

ในปี ค.ศ. 2012 มิเชลล์ วิลเลียมส์ ซึ่งเป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงและนักแสดงหญิงได้เป็นทูตในการรณรงค์ พาวเวอร์ทูเอ็นสโตรก ในบทพูดของเธอ-เธอได้กล่าวว่า "ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรกับการรณรงค์ [...] พ่อของฉันเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2005 เนื่องจากการสูบบุหรี่, เบาหวาน และการลดน้ำหนักในแบบที่อาจทำลายสุขภาพ รวมถึงย่าของฉันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี ค.ศ. 2006 เมื่อเธอไปหาหมอเพื่อรับการรักษาผู้ป่วยนอกแบบง่าย ๆ ฉันนำความรู้มาสู่ผู้คนเพื่อให้รู้ว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ มาดูแลตัวเองกันเถอะ…ขั้นตอนแรกคือความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของคุณ"[15]

ส่วนในปี ค.ศ. 2014 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ออกแนวทางแรกในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในสตรี[2]

สำหรับในปี ค.ศ. 2015 สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้รับการรับรองการรณรงค์โทแบคโค 21 อย่างเป็นทางการ โดยการแนะนำภายในเมือง, รัฐ และรัฐบาลแห่งชาติในการเพิ่มอายุการจำหน่ายยาสูบและนิโคตินแก่บุคคลที่อายุตั้งแต่ 18 ถึง 21 ปี[16]

และในปี ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้ร่วมมือกับแชริตีไดนามิกส์และไมเทค เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการระดมทุนในตลาดเยาวชนแห่งชาติของตน สามารถบริจาคเช็คเงินฝากโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือของตนได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย[17]

ใกล้เคียง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมกีฬาโรมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ สมาคมสร้างคุณค่า สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา http://www.cbsnews.com/news/first-guidelines-issue... http://www.eldiariony.com/Neoyorquinos_aprenden_a_... http://momster.familycircle.com/blog/the-new-rules... http://www.instagram.com/american_heart http://www.myfoxdetroit.com/story/18721365/stifler... http://www.pimsmultimedia.com/AHA_STAYIN/media.php http://www.prnewswire.com/news-releases/associatio... http://blackdoctor.org/7722/michelle-williams-the-... http://newsroom.heart.org/news/states-should-heed-... http://www.newsroom.heart.org/index.php?s=43&item=...