รูปเหมือนของสมเด็จโต ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี)

ความศรัทธาในตัวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ทำให้เกิดความนิยมสร้างรูปหล่อเหมือนตัวจริงของท่านประดิษฐานตามวัดต่างๆ โดยทั่วไป (ในภาพนี้ รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ)

เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "รูปหล่อสมเด็จ" ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444[18] ดังความในสำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช 2444 ดังนี้

เมืองสิงหบุรี

วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๐
ถึงกรมหลวงเทวะวงษวโรปการ

"......เวลาเช้า ๒ โมงออกจากพลับพลาเมืองอ่างทอง มาจนเวลา ๕ โมงเช้าถึงวัดไชโย ได้แวะขึ้นที่วัด...ในมุขหลังพระอุโบสถรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มีเค้าจำได้ แต่หนุ่มไปกว่าเมื่อเวลาถึงมรณภาพสักหน่อยหนึ่ง..."[19]— พระราชหัตถเลขา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔

(ซ้าย) รูปเหมือนสมเด็จโตในพระวิหารวัดระฆังโฆสิตาราม (ขวา) รูปเหมือนสมเด็จโตในท่านับลูกประคำ เป็นรูปเหมือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่จดจำของคนในปัจจุบัน โดยได้ถอดแบบมาจากรูปถ่ายจริงของท่านเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่

อย่างไรก็ดี รูปเคารพท่านที่เป็นที่แพร่หลายคือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่สร้างขึ้นและประดิษฐานอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นไม่นานหลังจากได้สร้างรูปเคารพรูปแรกขึ้นและนำไปประดิษฐานที่วัดไชโยวรวิหาร ก่อนปี พ.ศ. 2444 มีขนาดหน้าตัก 48 เซนติเมตร ลักษณะนั่งสมาธิ โดยเคยมีงานแห่สมโภชรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในวัน แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี[20] แต่ปัจจุบันได้เลิกจัดไปแล้ว ปัจจุบันรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของวัดระฆังโฆสิตาราม ยังคงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถของวัด มีผู้คนเคารพนับถือมากราบไหว้สักการะมากในปัจจุบัน

ในช่วงหลัง มีผู้นำรูปถ่ายเมื่อครั้งมีชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในท่านับลูกประคำ ไปจัดสร้างเป็นรูปหล่อและรูปเหมือนเพื่อสักการบูชา จนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จนถึงปัจจุบัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตมากมาย เพื่อให้สมชื่อโต ของสมเด็จท่าน โดยรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ขนาดใหญ่ เช่นที่ วิหารสมเด็จโต มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สมเด็จโตองค์ใหญ่ปางเทศนาธรรม วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี สมเด็จโตองค์ใหญ่ วัดตาลเจ็ดยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จโตองค์ใหญ่ที่สุดในโลก วัดสระลงเรือ จังหวัดกาญจนบุรี และที่วัดสามัคคีบรรพต จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี) http://www.9pha.com/?cid=357489 http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/... http://vdo.palungjit.com/video/1818/%E0%B8%A0%E0%B... http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid... http://www.watchaiyo.com/index.php/luangphortho http://www.watrakang.com/biography.php http://www.komchadluek.net/detail/20091229/42948/%... http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=17... http://www.dhammathai.org/monk/sangha27.php http://www.watindharaviharn.org/buddha.html