ประวัติ ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

พระพุทธโฆสะเป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ฝ่ายเถรวาท ได้ประพันธ์วรรณกรรมบาลีไว้หลายเล่ม เช่น วิสุทธิมรรค สมันตปาสาทิกา เป็นต้น ในสุวรรณภูมิจึงมีการใช้นามของท่านเป็นราชทินนามสำหรับพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในด้านคันถธุระ[1]

ในพระราชพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเขารังแร้ง ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ห้ามทัพพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกรุงเชียงแสนไม่ให้ตีเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนสมัยอาณาจักรศรีอยุธยาก็มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอโยธยา ได้แต่ง "ราโชวาทชาดก" ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[2] และสมัยสมเด็จพระเพทราชามีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อยู่วัดพุทไธศวรรย์

ในทำเนียบ "ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า" ปรากฏชื่อพระพุทธโฆษา วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระราชาคณะในคณะคามวาสีฝ่ายขวา[3] ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ (บางรูปเป็นเจ้าคณะกลาง) ตอนแรกมีสมณศักดิ์ระหว่างชั้นธรรมกับเจ้าคณะรอง ต่อมายกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะจวบจนปัจจุบัน

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช