ประวัติ ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงถวายสมณุตมาภิเษกตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 นับแต่นั้นก็ยังไม่มีพระเถระรูปใดในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เนื่องจากสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตอยู่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริจะตั้งพระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรโต) วัดโสมนัสวิหาร เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะใหญ่ผู้ช่วยคณะธรรมยุติกนิกาย สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงนิพนธ์ราชทินนามถวายว่าสมเด็จพระธรรมวีรวงศ์ แต่พระพิมลธรรมกลับไม่ค่อยชอบ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสจึงทรงแก้ไขใหม่เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์[2] และเป็นธรรมเนียมสืบมาให้ถวายเฉพาะแก่สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุตที่ชำนาญด้านการเทศนา

ใกล้เคียง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา