พระพุทธรูปแม่ศรีมหาตา ของ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา

มีการพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่กุฏิคณะ 15 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งบันทึกว่าถูกขนย้ายมาจากสุโขทัยช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่มีพุทธศิลป์ผสมผสานทั้งแบบเชียงแสนและสุโขทัย โดยมีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปเขียนด้วยอักษรแบบสุโขทัยแต่เขียนกล้ำแบบล้านนา[12] ความว่า[13][14]

พระเจ้าแม่ศรีมหาตาขอปรารถนาเป็นผู้ชายชั่วหน้า จุงข้าได้เป็นศิษย์จนพระศรีอาริยโพธิสัตว์เจ้า แต่ทานข้าทั้งผองแห่งพระองค์เจ้าอยู่หัวทั้งสองกับแม่พระพิลกและแม่ศรีให้เป็นค่าถือจังหันพระเจ้าสิ้นเบี้ย ๔๔๕๐๐

อันมีความหมายว่า เจ้าแม่ศรีมหาตาขอเกิดเป็นผู้ชายในชาติหน้า เพื่อจักได้เป็นลูกศิษย์ของพระศรีอาริย์ พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองกับแม่พระพิลกและแม่ศรี [มหาตา] ถวายข้าไททั้งหลายให้เป็นข้าพระสำหรับปรนนิบัติดูแลพระ

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ อธิบายว่า แม่พระพิลกคือพระราชชนนีในพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ส่วนเจ้าแม่ศรีมหาตา มาจากคำว่า พระศรีธรรมราชมารดา แปลว่ามารดาของพระศรีธรรมราชา ที่คาดว่าน่าจะหมายถึงนางษาขาพระราชชนนีในพระมหาธรรมราชาที่ 4[15] ส่วนเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี ว่าเจ้าแม่ศรีมหาตา คือสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาผู้เป็นพระราชชนนีในพระมหาธรรมราชาที่ 3[16]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช