พระราชประวัติ ของ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่_10_แห่งเดนมาร์ก

พระองค์และพระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

พระราชบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์ได้แก่ เจ้าชายจอร์จ วัลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก บารอนแม็กซิมิลเลียนแห่งวัทเทอร์วิลล์-เบร็คเฮล์ม, เคานต์อีเทนเนแห่งลาบอร์ด เดอ มงเปอซา, สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ, แกรนด์ดัชเชสโจเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก และนางบริจิตตา จูเอล เฮลลิงโซ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก[2] โดยพระราชมารดาคือสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่เครปสโครวระหว่างปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2524 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2519 ทรงเป็นนักเรียนประจำพระราชวังอามาเลียนเบิร์กและช่วงชั้นที่ 3 ที่เครปสโครว ในระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2526 มกุฎราชกุมารทรงเป็นนักเรียนประจำที่ École des Roches ในนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2529 ทรงเข้าศึกษาโรงเรียนมัธยมปลายโอเรการ์ด จิมเนเซียม

พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536 โดยทรงใช้พระนามว่า เฟรเดอริก เฮนริกเซน ทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2537 ทรงเป็นผู้แทนของเดนมาร์กปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ต่อมาทรงเข้าศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออร์ฮูส โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของรัฐบอลติกซึ่งพระองค์เคยเสด็จเยือนหลายครั้งในระหว่างทรงศึกษา[3][4] หลังสำเร็จการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 มกุฎราชกุมารทรงได้ตำแหน่งเลขาธิการประจำสถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กที่กรุงปารีสตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2542

พระองค์ทรงสำเร็จการฝึกหลักสูตรของหน่วยมนุษย์กบแห่งเดนมาร์ก (เทียบเท่ากับหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือซีล) ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกประมาณ 9 เดือน และทรงเข้าประจำการเป็นทหารเรือในหน่วยดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2537 ในระหว่างการฝึก ทรงได้รับฉายามนุษย์กบว่า "พินโก"

ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545 พระองค์ได้รับการฝึกเป็นผู้นำ ณ สถาบันป้องกันประเทศแห่งเดนมาร์ก และในปีต่อมาทรงเป็นหนึ่งในคณะทหารของการบัญชาการการป้องกันราชอาณาจักรเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์ปาฐกถาระดับอาวุโสขององค์การแผนยุทธศาสตร์ในสถาบันดังกล่าวอีกด้วย

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พระองค์เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้ตามเสด็จพระชนนีและพระชนกเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[5]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่_10_แห่งเดนมาร์ก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0001444... http://kongehuset.dk/en https://web.archive.org/web/20090415005601/http://... http://www.au.dk/fileadmin/www.au.dk/au-gustus/tid... https://web.archive.org/web/20110605171650/http://... http://www.um.dk/publikationer/um/english/factshee... https://web.archive.org/web/20120618115134/http://... http://kongehuset.dk/english/The-Royal-House/Crown... https://web.archive.org/web/20141231082615/http://... https://www.wikidata.org/wiki/Q1004037#identifiers