พระราชประวัติ ของ สมเด็จพระราเมศวร

สมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพในปี พ.ศ. 1882[1] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ประสูติแต่พระมเหสีซึ่งเป็นพระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา) เดิมมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรไปครองราชสมบัติในเมืองลพบุรี[2]

หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1912 พระองค์จึงเสด็จฯ จากเมืองลพบุรีมาเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา[3] ขณะนั้นมีพระชนมพรรษาได้ 37 พรรษา แต่พระองค์ทรงครองราชสมบัติได้เพียงปีเดียว สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าก็ยกทัพจากเมืองสุพรรณบุรีเข้ามา พระองค์จึงออกไปรับเสด็จฯ เข้าพระนคร แล้วถวายราชสมบัติให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน ส่วนพระองค์กลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม[4]

ภายหลังสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1931 สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาได้เพียง 7 วัน สมเด็จพระราเมศวรได้ยกพลจากเมืองลพบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยา โปรดให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลัน ณ วัดโคกพระยา[5] แล้วขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ 2 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 49 พรรษา[1]

ในปี พ.ศ. 1938 เย็นวันหนึ่งสมเด็จพระราเมศวรเสด็จไปพระที่นั่งมังคลาภิเษก ระหว่างทางมีวิญญาณของท้าวมล มาปรากฏนั่งขวางทางเสด็จอยู่แล้วหายไป พระองค์ก็สวรรคต[6] สิริพระชนมพรรษา 56 พรรษา[7] ทรงครองราชสมบัติรวม 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยสมเด็จพระเจ้ารามราชา พระราชโอรสของพระองค์ได้สืบราชสมบัติ

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก