ประวัติ ของ สมเด็จพระวันรัต_(เฮง_เขมจารี)

ชาติกำเนิด

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า กิมเฮง บิดาเป็นพ่อค้าชาวจีนชื่อตั้วเก๊า แซ่ฉั่ว มารดาชื่อทับทิม เสียชีวิตระหว่างคลอดบุตรคนที่สี่ ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2424 (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2425) ภูมิลำเนาท่านอยู่บ้านท่าแร่ ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี เมื่ออายุได้ 10 ปี ได้เรียนภาษาไทยกับพระอาจารย์ชัง วัดขวิด อยู่ 2 ปี แล้วย้ายไปเรียนกับพระสุนทรมุนี (ใจ) ขณะยังเป็นพระปลัดอยู่วัดมณีธุดงค์[1]

อุปสมบทและศึกษาปริยัติธรรม

เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วเรียนภาษาบาลีที่วัดมณีธุดงค์ต่อจนกระทั่งอายุได้ 16 ปี ตรงกับปี พ.ศ. 2440 จึงย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เรียนภาษาบาลีกับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) และหลวงชลธีธรรมพิทักษ์ (ยิ้ม) เมื่อยังเป็นมหาเปรียญ ต่อมาเรียนกับพระอมรเมธาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหลวง จนสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคในปี พ.ศ. 2444[2]

ถึงปีขาล พ.ศ. 2445 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) และพระเทพเมธี (เข้ม ธมฺมสโร) เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์[3] แล้วเข้าสอบในปี ร.ศ. 122 ได้เพิ่มอีก 2 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค[4] ต่อมาเข้าสอบอีกได้เป็นเปรียญธรรม 8 ประโยคในปี ร.ศ. 123[5] และในที่สุดสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี ร.ศ. 124[6]

ศาสนกิจ

นับแต่เป็นสามเณรเปรียญ 4 ประโยค ท่านก็ได้รับมอบหมายให้เป็นครูสอนในมหาธาตุวิทยาลัย[7] เมื่อสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ชราภาพ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสโปรดให้ท่านเป็นผู้จัดการวัดมหาธาตุแทนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455[8] เมื่อสมเด็จพระวันรัตมรณภาพในปี พ.ศ. 2466 ท่านจึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน[9] ตลอดช่วงเวลาที่ครองวัด ท่านได้จัดระเบียบวัดทั้งในด้านการทะเบียน การทำสังฆกรรม จัดลำดับชั้นการปกครองคณะ เข้มงวดกับจริยวัตรของพระเณรในวัด และจัดการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมและก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอกับการขยายการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังสนองงานถวายสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสจนเป็นที่พอพระทัย

เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ประกาศใช้ ท่านได้รับคัดเลือกเป็นประธานสังฆสภาเป็นรูปแรก

ใกล้เคียง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระวันรัต_(เฮง_เขมจารี) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/...