การไปราชการสงคราม ของ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ_เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์

ในปี พ.ศ. 2326 เหงียน ฟุก อั๊ญ หรือองเชียงสือ เชื้อสายของขุนศึกสกุลเหงียนซึ่งมีอำนาจปกครองภาคใต้ของเวียดนาม (ภายหลังได้ตั้งตัวเป็นจักรพรรดิซา ล็อง สถาปนาราชวงศ์เหงียนปกครองเวียดนาม) ได้เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อขอความช่วยเหลือในการกอบกู้เมืองไซ่ง่อนจากกองทัพฝ่ายกบฏเต็ยเซิน ถึงเดือน 5 ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 1146 ตรงกับ พ.ศ. 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์นำกองทัพจำนวน 50,000 คน เคลื่อนพลเข้าโจมตีเมืองไซ่ง่อนทางเรือร่วมกับองเชียงสือ และให้พระยาวิชิตณรงค์นำกองทัพเคลื่อนพลมาทางบกตามหัวเมืองเขมรต่าง ๆ เพื่อเกณฑ์ไพร่พลชาวเขมรมาร่วมรบ โดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)[4] เจ้าเมืองพระตะบอง ได้เกณฑ์ไพร่พลจำนวน 5,000 คน เข้าร่วมสมทบด้วย ทว่า กองทัพของสยามและองเชียงสือกลับปราชัยต่อกองทัพไตเซินภายใต้การนำของเหงียน เหวะ ในการรบที่สักเกิ่มซว่ายมุต ซึ่งพงศาวดารฝ่ายไทยบันทึกไว้ว่ารบกันที่ปากคลองวามะนาว (ภาษาเวียดนามเรียกชื่อคลองนี้ว่า หวั่มนาว Vàm Nao) และต้องเลิกทัพกลับไปทางกัมพูชา เมื่อข่าวการพ่ายศึกเข้าไปถึงที่กรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงพระพิโรธ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราเรียกกองทัพกลับเข้ามายังพระนคร แล้วลงพระราชอาญาจำกรมหลวงเทพหริรักษ์และข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งเสียทัพแก่ข้าศึกนั้น ภายหลังสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ได้กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้กรมหลวงเทพหริรักษ์กับข้าราชการซึ่งรับพระราชอาชญาอยู่ในเวรจำนั้น พ้นโทษด้วยกันทั้งสิ้น[5][6]

นอกจากนั้น ในปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 กรมหลวงเทพหริรักษ์พร้อมด้วยพระยายมราช นายทัพนายกองไทยและลาว (ทั้งฝ่ายล้านนาและล้านช้าง) ได้ยกทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน สามารถขับไล่กองทัพพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสนไปได้ กองทัพไทยและลาวสามารถกวาดต้อนครอบครัวได้ 23,000 คนเศษ แล้วรื้อกำแพงเผาบ้านเมืองเสีย จากนั้นจึงได้แบ่งปันครอบครัวที่กวาดต้อนได้เป็น 5 ส่วน แบ่งให้เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองน่าน เมืองเวียงจันทน์ เมืองละ 1 ส่วน (รวม 4 ส่วน) อีก 1 ส่วนถวายลงมา ณ กรุงเทพฯ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีบ้าง แบ่งไปอยู่เมืองราชบุรีบ้าง แต่ทัพของกรุงเทพฯ นั้นกลับลงมาเปล่าไม่ได้ราชการสิ่งใด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงขัดเคืองเป็นอันมาก ดำรัสว่าไม่รู้เท่าลาว และโปรดเกล้าฯ ให้ลงพระราชอาชญาจำกรมหลวงเทพหริรักษ์ พระยายมราช ไว้ที่ทิมดาบชั้นนอกตรงหลังศาลาลูกขุนฝ่ายซ้ายไว้ 4 วัน 5 วันก็โปรดให้พ้นโทษ[7][8]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ_เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%... http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%... http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%... http://bcnnon.ac.th/webnon/Load/2013/01/king22.pdf http://www.huso.tsu.ac.th/huso_mag/DATA/08%20%E0%B... http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/en/r... https://books.google.com/books?id=5y0yAAAAIAAJ