พระราชประวัติ ของ สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี

พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

เสด็จพระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339 และสวรรคตเมี่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403[1]

สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ นักองค์ด้วง พระราชสมภพเมี่อ พ.ศ. 2339[1] เป็นพระราชโอรสของ สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ (นักองเอง) และพระราชอนุชาในสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี (นักองจันทร์)

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีเสด็จสวรรคตนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นักองจันทร์ อภิเษกขึ้นครองราชย์ที่เขมรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา แต่เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์แล้วมีใจออกห่างกรุงสยามโดยหันไปพึ่งญวนแทน ในช่วงนั้นเจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระอุทัยราชา ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น ซึ่งรวมทั้ง นักองด้วง จึงต้องหนีเข้ามายังกรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา โดยเข้ามาพำนัก ณ วังเจ้าเขมร ซึ่งเป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี พระบิดาเคยพำนักอยู่[2]

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า "หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร" ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา[3] มีพระนามว่า "พระหริรักษ์รามาธิบดี ศรีสุริโยพันธุ ธรรมมิกวโรดม บรมศรีอินทรา มหาจักรพรรดิราช บรมนารถบรมบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร เจ้ากรุงกัมพูชา" เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 4 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม จุลศักราช 1209 ตรงกับวันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2390[4][5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยพระนามของสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ตามที่ทรงมีศุภอักษรเข้ามาขอเปลี่ยน เป็น "องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร"[6]

สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ที่กรุงอุดงค์

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%... http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%... http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%...