ประวัติ ของ สมเด็จพิชัยเสนา_เตีย_บัญ

พลเอก สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดเกาะกง (ซึ่งขณะนั้นเป็นของกัมพูชาแล้ว)[3] เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายเต็ก (เตีย ตึก-Tea Toek) ชาวไทยเชื้อสายจีน กับนางหนู เพ่งจินดา (นู เปงจันดา-Nou Pengchenda) ชาวไทยเกาะกง [4] ปัจจุบันทั้งคู่เสียชีวิตแล้ว

เตีย บัญ มีชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้คือ "สังวาลย์" หรือ เตีย สังวาลย์ (Tea Sangvan) โดยครอบครัวของเขาจะมี ว.แหวนอยู่เหมือนกันตั้งแต่ สวัสดิ์ สังเวียน สังวาลย์ วน และวิน ช่วงที่สงครามกับฝรั่งเศสใกล้จบ สังวาลย์ได้เข้าไปเรียนในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เมื่อมาอยู่ไทยต้องมีนามสกุล มีลุงคนหนึ่งเห็นสังวาลย์กลิ้งไปกลิ้งมา เลยให้ใช้นามสกุลหินกลิ้ง เป็นสังวาลย์ หินกลิ้ง แต่พอกลับมากัมพูชา ซึ่งไม่ใช้นามสกุล เลยนำชื่อก๋ง (ปู่) มาใช้คือ เตีย เลยเป็นเตีย สังวาลย์ นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อคือเยื่อ เนื่องจากหัวเราะดังเหมือนคนชื่อเยื่อ แต่ไม่มีใครใช้เรียกอีก ในสมัยที่กัมพูชาปกครองระบอบสังคมราษฎรนิยม ผู้นำประเทศขณะนั้นคือ เจ้านโรดม สีหนุได้ทรงดำเนินนโยบายต่อต้านไทยทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวไทยเกาะกงขึ้น สังวาลย์ซึ่งมีเชื้อสายไทยจึงถูกจับไปยิงทิ้ง แต่ว่าไม่ตาย ซึ่งคำว่า บัญ คือ ยิง วันนั้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เตีย บัญ ถูกจับไปยิงพร้อมกัน 3 คน ขณะทหารลั่นไก เตีย บัญ หลับตา คิดว่าอย่างไรก็ตายแน่นอน ปรากฏว่าเลือดเพื่อนๆ ไหลมาเปื้อนตัว และล้มลงไปด้วยกัน เมื่อได้ยินเสียงทหารพูดกัน จึงลองขยับตัวดูแล้วรู้ว่ายังไม่ตาย เมื่อทหารคนหนึ่งหันมาเห็นหน้าเข้า แล้วรีบไปหยิบปืนมายิงซ้ำ แต่ปืนกลับด้าน สร้างความตกใจให้ทหารเป็นอันมาก ระหว่างนั้นเตีย บัญ จึงวิ่งหนีเข้าป่า ตั้งแต่นั้นชื่อ เตีย บัญ จึงเรียกขานมาตั้งแต่นั้นเอง[5]

ต่อมาในภายหลังเมื่อเตีย บัญรอดชีวิตจากการกวาดล้างชาวไทย เขาได้เข้ารีตเป็นชาวเขมร โดยการแสดงความเป็นเขมรเพื่อข่มความเป็นไทยเอาไว้ เขาหัดเรียนภาษาเขมรจนคล่องแคล่วและเข้ารับราชการในกองทัพกัมพูชา

ด้านชีวิตส่วนตัว เตีย บัญ ได้สมรสในปี พ.ศ. 2518 กับเตือนใจ ธรรมเกษร (เตา เตือน-Tao Toeun) บุตรสาวของแช่ม ธรรมเกษร ซึ่งเป็น 1 ใน 7 อดีตผู้นำพรรคไทยเกาะกง ที่ถูกเขมรแดงลวงไปสังหารใน พ.ศ. 2517 โดยครอบครัวของเตียบัญกับเตือนใจ มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยเป็นบุตรชาย 2 คน และบุตรสาว 1 คน ได้แก่ เตีย สยาม (เตีย เซียม-Tea Siam) , เตีย สิงหา (เตีย เซ็ยฮา-Tea Tyhas) และเตีย กัญญา (เตีย กาญา-Tea Kanha)

เตีย บัญ มีความสามารถทางการทหาร มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับใส่ ภู่ทอง และนายทหารระดับสูงของไทยจำนวนมาก ทำให้เขาสามารถดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ได้ แม้ว่าสื่อมวลชนต่างประเทศจะมองว่าใส่ ภูทองถูกลดความสำคัญลง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ที่ใส่ ภูทองถูกย้ายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบของพรรคประชาชนกัมพูชา อีกทั้งสุขภาพก็ทรุดโทรม และใช้เวลาส่วนใหญ่ในไทย ขณะที่เส้นสายของฮุน เซน และเจีย ซีมมีมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อเตีย บัญ แต่ในเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ เตีย บัญยังคงรักษาสถานะของตัวเองได้เป็นอย่างดี

สำหรับตำแหน่งหลังสุด เตีย บัญ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[6] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมราฐ สังกัดพรรคประชาชนกัมพูชา[7]ในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา

พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พลเอกเตีย บัญ เป็นขุนนางชั้นสมเด็จ ที่ "สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[1]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพิชัยเสนา_เตีย_บัญ http://hilight.kapook.com/view/26898 http://www.posttoday.com/world/news/506344 http://gocn.southcn.com/qw2index/2006tpzx/2006tpzx... http://www.mofa.go.jp/announce/event/2008/3/117845... http://www.uc.edu.kh/third_honorary_doctoral_degre... http://www.mond.gov.kh/index/cv-minister/cv-tea%20... http://www.dpmteabanhnet.org.kh/index.php?category... http://www.necelect.org.kh/English/ElectionResult/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0002709...