ธีมหลัก ของ สวนปริศนา

การฟื้นตัว

ความเจริญขึ้นของสวนและของแมรี่เป็นสัญลักษณ์หลักของหนังสือ ที่ได้แรงดลใจส่วนหนึ่งจากความสนใจของผู้เขียนในทฤษฎีของลัทธิ Christian Science[1]คือสวนลับที่คฤหาสถ์มิสเซิลเธวตแมเนอร์ เป็นที่ ๆ เกิดทั้งความหายนะและการฟื้นตัวของครอบครัว[2]

โดยใช้สวนเป็นแนวเรื่อง นางเบอร์เนทท์ได้เขียนเรื่องพลังธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้รักษาตามตัวอักษรเลยก็คือ แมรี่ เล็นน็อกซ์ ได้เกิดชีวิตชีวาขึ้นพร้อม ๆ กับสวนของเธอและก็เป็นอย่างนั้นด้วยสำหรับคอลินและนายเครเว็นคือ เมื่อพวกเขาหันไปสนใจอะไรนอกเหนือไปจากปัญหาของตัวเอง พวกเขาจึงได้พบความสุขและชีวิตใหม่

มีอะไรในเรื่องที่ขนานกันหลายอย่างเมื่อกล่าวถึงการฟื้นสภาพคือ แมรี่มาถึงบ้านในฤดูหนาว เมื่อดอกไม้ในสวนกำลังจำศีลอยู่ เธอจึงไม่แน่ใจว่าต้นไม้ตายหมดหรือยังโดยขนานกัน แมรี่เป็นเด็กในอินเดียที่ไม่มีบุคลิกภาพอะไรเพราะไม่มีใครสนใจในเธอ มีแต่คนสนใจในฐานะของเธอและพ่อแม่แมรี่จึงเป็นเด็กหญิงที่ "จำศีล" อยู่เช่นกัน ผู้ต้องได้การดูแลเหมือนกับต้นไม้ต้องการ

แมรี่ดูแลสวน และดิกอน ผู้สามารถทำสัตว์ให้เชื่องได้ ก็ดูแลแมรี่ก่อนที่เขาจะมาช่วย แมรี่ไม่รู้จักว่าควรจะประพฤติกับเด็กอายุราวกันอย่างไร ว่าควรมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ เล่น หรือใช้จินตนาการดิกอนช่วยดึงบุคลิกของเธอออกมา ช่วยแก้พฤติกรรมอย่างใจดีเมื่อเธอผิดพลาด และแสดงความเมตตากรุณาต่อเธอเป็นคนแรก ๆ นอกเหนือไปจากมาร์ธาพี่สาวมองในหลาย ๆ แง่ ดิกอนเป็นเหมือนกับเทวดาเด็ก คล้าย ๆ กับปีเตอร์ แพนเขาไม่เหมือนคนอื่นและน่ารักมาก คล้ายกับเทวดาประจำทุ่ง แม้ว่ารูปร่างจะไม่งามมาก

การฟื้นสภาพก็แพร่กระจายต่อไปเพราะว่าเมื่อดิกอนให้ความคิดใหม่ ๆ ความสนใจ และความเมตตาแก่แมรี่ แมรี่ก็หันไปทางคอลินแล้วเทอุดมคติและหลักเหล่านั้นให้แก่เขา ซึ่งเป็นเด็กชายที่เหงาโดดเดี่ยวยิ่งกว่าแมรี่ความพิการและความเชื่อมั่นว่าเขาจะตาย ขยายอุปมาว่าด้วยสวนแม้ออกไปอีกคือ คอลิน ที่อยู่ในบ้านตลอด ก็เหมือนกับต้นไม้ที่ไม่ได้แสงตะวันเขาเหี่ยวแห้ง (คือกล้ามเนื้อฝ่อเพราะไม่ได้ออกกำลัง) และไม่มีความสุขเลยเมื่อแมรี่เริ่มคุยกับเขาทุกวัน เพื่อสร้างความสนใจและนำแสงตะวันมาให้เขาในชีวิต คอลินก็ลุกตื่นขึ้นเด็กทั้งสามคนเล่นในสวนแล้วเติบโตเป็นตัวของตัวเอง และ "มนต์" ในการดูแลผู้อื่นก็เป็นธีมหลักอย่างหนึ่งในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวพันกันไปหมดเช่นนี้

ความสำนึกเห็นใจผู้อื่น

เรื่องเป็นการประจัญกันระหว่างสามัญสำนึกกับ "ภูมิปัญญา" ที่ยอมรับกันในสมัยนั้น โดยที่สามัญสำนึกเป็นผู้ชนะทั้งคนใช้และพ่อมองว่าทำให้เด็กเสียหายเพราะได้ความเชื่อผิด ๆ จากหมอที่ใช้ "ความรู้" ของแพทย์ในยุคนั้นส่วนบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของความสำนึกเห็นใจผู้อื่นแบบอังกฤษ ก็คือ ซูซาน โซว์เออร์บี้ ผู้เป็นมารดาของมาร์ธาและดิกอนผู้มีพฤติกรรมเหมือนกับแม่ ที่ยินดียอมรับเด็กที่ไม่มีใครรักเช่นแมรี่และคอลินเธอสำนึกถึงความสำคัญของการหัวเราะที่ช่วยให้ทั้งสองแข็งแรงขึ้น แต่ก็สำนึกถึงความสำคัญของการทะเลาะกันเพื่อแสดงความสำคัญของสิ่งที่ตนพูดด้วยเธอมักจะทำสังเกตการณ์โดยเป็นโฆษกให้กับผู้เขียน เช่น อุปมาว่าด้วยโลกเหมือนกับส้ม ซึ่งก็คือ"ไม่มีเด็กคนไหนเป็นเจ้าของโลก แต่ไม่นานก็จะค้นพบส่วนที่ตนพึงได้"เธอยังให้ข้อสังเกตด้วยว่า สิ่งที่แย่ที่สุดสองอย่างในโลกคือ "เมื่อเด็กไม่เคยได้อะไรตามใจเลย" (แมรี่) หรือ "เมื่อเด็กได้ทุกอย่างตามใจ" (คอลิน)ความเป็นกันเอง เป็นผู้ดูแลห่วงใย และความเชื่อในวิธีพยาบาลที่ง่าย ๆ ในที่สุดก็ช่วยทำลายอุปสรรคสุดท้ายของแมรี่และคอลิน คือ อุดมคติที่ถือชนชั้นวรรณะ ตำแหน่ง และความหยิ่งยโสโอหัง ที่ทำให้ไม่สำนึกเห็นใจผู้อื่น

ซูซาน โซว์เออร์บี้ ก็เป็นสัญลักษณ์ของสามัญสำนึกที่ทำให้เธอสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับแมรี่และคอลินได้เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกหิวอย่างปิดบังไม่ได้ เธอก็จะนำอาหารมาให้เมื่อแมรี่อธิบายถึงการแสดงละครที่ร้ายกาจและเกินไปของคอลินว่า ยังป่วยอยู่ เธอก็สนับสนุนให้หัวเราะและวางกลยุทธ์ก่อนที่เธอจะรู้เรื่องสวนลับและคอลิน เธอก็ปล่อยให้ดิกอนเก็บความลับของเขา แม้เขาเสนอว่าจะบอกเธอเป็นตัวอย่างที่ดิเลิศสำหรับความไว้วางใจ การทำตามความเหมาะสม และนิสัยเป็นกันเอง ตรงกันข้ามกับความมั่งคั่งของมิสเซิลเธวตแมเนอร์ กับนายเครเว็น และกับการดูแลรักษาคอลินเมื่อเด็กทำตามสามัญสำนึกแบบชาวบ้านของเธอแทนที่จะทำตาม "วิทยาศาสตร์" ที่ซับซ้อน จึงฟื้นสภาพได้เนื่องจากอากาศที่ดีในฤดูร้อน การออกกำลังกาย การหัวเราะ และสามัญสำนึกแบบอังกฤษ

การเอาชนะความช้ำใจ

ทั้งแมรี่และคอลินเกิดความช้ำใจพอสมควรในวัยเด็กผลของความช้ำใจแสดงอย่างละเอียดในหนังสือไม่เหมือนกับหนังสือเด็กทั่วไป

คอลินยอมรับว่า เขาทำให้ตัวเองตีโพยตีพายอย่างควบคุมไม่ได้เนื่องจากความคิดที่ไม่ดี แม้ว่าเขาจะรู้สึกถูกหัวเราะเยาะ และกังวลว่าผู้ใหญ่ที่ดูแลเขาจะคิดถึงเขาอย่างไร จึงไม่ยอมรับเรื่องนี้กับใครนอกจากแมรี่เพราะเขาเข้าใจว่า เธอผู้เป็นเด็กเหมือนกัน จะไม่หัวเราะเขาสิ่งที่คอลินกลัวที่สุดก็คือถูกหัวเราะ เพราะเขามั่นใจอยู่แล้วว่าคนมักหัวเราะเยาะเขาเขาเชื่อว่าเขาจะเสียชีวิตอีกไม่นาน แต่ความเจ็บป่วยที่ไม่มีอยู่จริง ๆ ของเขามักมาจากความหวาดระแวงของตัวเองและการคิดมากเกินไปโดยไม่มีอะไรอย่างอื่นทำ

ความสำนึกเห็นใจผู้อื่นไม่ใช่จะเปรียบได้โดยตรงกับ "การเข้าไปยุ่งมากเกินไป" เท่านั้น แต่ยังเทียบกับ "การเข้าไปยุ่งแบบผิด ๆ" ได้อีกด้วยคือ โดยยอมคอลิน และเห็นชอบกับความกลัวแบบเด็ก ๆ ของเขาทุกอย่าง พวกคนดูแลจึงเพิ่มความวิตกกังวลและความบ้าคลั่ง แทนที่จะสอนเขาวิธีที่มีประโยชน์เพื่อรับมือกับอารมณ์ซึมเศร้าและความวิตกกังวลจนทำอะไรไม่ถูกของตนเอง

สำหรับแมรี่ เธอไม่มีใครสอนให้เข้ากับเด็กอื่น ๆ ได้เช่น เมื่อเธอไปอยู่กับครอบครัวบาทหลวงชั่วคราว เธอทนลูกชายเขาแทบไม่ได้ ผู้ล้อเธอไม่เลิกเพราะว่าเธอเคร่งครัดและไม่ยุ่งกับคนอื่นความไม่สุภาพและความหน้างอของแมรี่เป็นตัวซ่อนความอายและความกลัวของเธอ(เหมือนกับสัจพจน์ที่กล่าวในหนังสือว่า สัตว์จะขู่ก็ต่อเมื่อมันกลัว)

แมรี่มักจะเรียนรู้ประพฤติตามคนรอบ ๆ ข้างเมื่อไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จึงกลายเป็นกระจกสะท้อนสำหรับคนรอบข้างให้เห็นสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบในตนเองเช่น เมื่อเลียนแบบพฤติกรรมที่พ่อแม่ของเธอมีต่อเธอ เธอจึงเป็นคนที่ไม่ยุ่งกับใครและหยิ่งเมื่อกำลังข้ามเรือเมื่อเธอพบกับหัวหน้าแม่บ้าน คือ นางเม็ดล็อก ผู้มักจะพูดถึงแมรี่เหมือนกับเธอไม่ได้อยู่ที่นั่น แมรี่จึงเริ่มประพฤติเหมือนกับนางไม่ได้อยู่ที่นั่นเหมือนกัน(เช่น แมรี่อยู่ห่าง ๆ นางที่สถานีรถไฟ เพราะว่า "เธอไม่อยากให้ใครคิดว่า เธอเป็นลูกสาว")เมื่อแมรี่ไปถึงมิสเซิลเธวต (กับนางเม็ดล็อกผู้มารับ) เธอก็รู้สึกเหงา โกรธ และสับสนแล้ว

มาร์ธาเป็นคนแรกที่แสดงความเมตตาต่อเธอ และแม้ว่า แมรี่จะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ๆ แต่แมรี่ก็เริ่มมีเมตตากลับคืนเมื่อเธอเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ได้ความเมตตาของมาร์ธาเป็นกุญแจเปิดประตูจิตใจของแมรี่ที่กำลังจำศีลอยู่มาร์ธาบอกเธอถึงเรื่องสวนลับ ให้เชือกกระโดนแก่เธอ และบอกแม่กับน้องชาย (คอลิน) ของเธอว่า แมรี่เป็นเด็กที่แปลกและเหงาแค่ไหน แล้วจึงทำให้แมรี่ได้เพื่อนเล่น (คือคอลิน)แม้ว่า มาร์ธาจะไม่ได้ยุ่งกับแมรี่และสวนลับโดยตรง แต่แมรี่ก็เริ่มเข้าใจถึงความเมตตาที่มาร์ธาให้แก่เธอ เพราะมันทำให้แมรี่รู้สึกเสียความภาคภูมิใจและเสียแรงจุดเปลี่ยนของแมรี่ก็คือเมื่อเธอขอบคุณมาร์ธา โดยสำนึกได้เป็นครั้งแรกว่า มาร์ธาและมารดาของเธอเสียทรัพย์ที่หามาได้โดยยากเพื่อแมรี่แทนการทำให้กับครอบครัวของตน

สวนและธีมการฟื้นสภาพดำเนินไปพร้อม ๆ กับความยอมรับว่า เด็กเกิดความช้ำใจในวัยเด็กผู้เขียนไม่ได้ทำให้แมรี่หรือคอลินดูน่ารักหรือดูโรแมนติกแต่ว่า ผู้เขียนเล่าให้ผู้อ่านฟังว่า ความช้ำใจสามารถมีผลต่อเด็กได้อย่างไร แต่ก็บอกถึงความฟื้นสภาพทางจิตใจได้ดีของเด็ก และสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้เมื่อหันความสนใจไปจากความมืดมิดในตน แล้วเข้าไปสู่แสงสว่างและความอบอุ่นที่ไม่รู้จักจบสิ้นของสวนลับการหัดเดินใหม่ของคอลินเป็นก้าวแรก (ทั้งโดยตรงและโดยอุปมา) ไปสู่การได้สุขภาพกลับคืน และไปจากวัยเด็กที่พิการ

การผสมผสานเรื่องจริงกับจินตนาการ (Magical realism)

วิธีหนึ่งที่แมรี่และคอลินฟื้นสภาพจากเหตุการณ์ร้ายในอดีตได้ เป็นการทำตามความเหมาะสมแบบอังกฤษอย่างหนึ่งที่ทุกวันนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นอำนาจของการคิดในเชิงบวก และความเชื่อว่าความคิดเช่นนั้นจะช่วยรักษาทั้งกายใจคือ แมรี่กับคอลินเริ่มพูดถึง มนต์ขลังของสวนแม้ว่า ดิกอนจะอ้างว่า มนต์ ความจริงก็คือการดำเนินของพระเป็นเจ้าผ่านทุ่งและป่าผู้เขียนเชื่อหลักของลัทธิ Christian Science ที่เชื่อในพระเจ้าว่าเป็นพลังแห่งชีวิตแทนที่จะเป็นบุคคลใดคนหนึ่ง

ดังนั้น "มนต์" จึงเป็นคำรื่นหูสำหรับความคิดเชิงบวกที่เชื่อมกับธีมหลัก 3 อย่างในหนังสือ คือ การฟื้นสภาพของสวนให้ผลเป็นการคิดเชิงบวกความคิดเชิงบวกหันความสนใจจากความช้ำใจและฟื้นสภาพทางจิตใจให้อย่างไม่น่าเชื่อต่อเด็กและที่สุดก็คือ มันเป็นทางที่ดีในการดำเนินชีวิต ที่จะรู้สึกรู้ค่าขอบคุณ และมีความสุขกับธรรมชาติและกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับคฤหาสถ์หลังใหญ่ที่มีห้องเป็นร้อยพลังธรรมชาติจึงเป็นตัว "มนต์" เองซึ่งทำให้คอลินหายจากโรคทั้งทางกายและทางใจธรรมชาติยังให้อุปมาโดยตรงเมื่อแสดงลูกนกที่หัดบินพร้อม ๆ กับคอลินหัดเดิน

เด็ก ๆ ร้องเพลงและท่องมนต์เป็นพิธีเพื่อช่วยให้คอลินดีขึ้น และเมื่อคอลินดีขึ้น ความเชื่อในเรื่องที่ดีก็ได้รับการยืนยันในมุมมองหลาย ๆ อย่าง นี่เป็นความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะว่าความเชื่อในอำนาจเหนือตัวเอง จะมีกำลังขึ้นเมื่อสิ่งที่สวดขอเกิดจริง ๆ

แม้ว่าการผสมผสานเรื่องจริงกับจินตนาการ คือ Magic realism (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่บอกอย่างละเอียดสมจริง โดยเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ) มักจะพบในวรรณกรรมละตินอเมริกัน แต่นกเขนน้อยก็มีบทบาทในเรื่องนี้คือ นกมักจะประพฤติอะไรที่ดูจะมีความหมายและเหมือนคน ยิ่งไปกว่านกธรรมดาทั่วไปเช่น นกร้องต่อแมรี่ บินลงจับด้ามเสียมของคนสวน และชวนให้แมรี่ตามไปในทางไกลอันรกไปด้วยพุ่มไม้ ซึ่งในที่สุดเขาก็จิกเอาดินขึ้นจากที่ที่กุญแจสวนลับฝังอยู่นกยังติดตามเฝ้าสังเกตแมรี่คล้ายเป็นเทวดาประจำตัว โดยสร้างรังในสวน ได้คู่ (เช่นกับแมรี่ที่ได้คนเล่นด้วย) และเริ่มชีวิตใหม่เหมือนกับเด็ก ๆ ที่เริ่มชีวิตใหม่เช่นกันบางครั้ง ผู้เขียนจะเล่าเรื่องจากมุมมองของนกว่ามันเฝ้าดูเด็กโตและออกกำลังกายกันอย่างไรและแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวในหนังสือโดยตรง แต่นกอาจจะทำรังที่เห็นได้ชัดบนต้นไม้ที่กิ่งตกทับนางเครเว็น ทำให้เธอคลอดคอลินก่อนกำหนดไอเดียว่า นกประพฤติเหมือนกับบุคคล อาจให้พิจารณาว่านกเป็นเทวดาประจำตัว คือ เป็นวิญญาณของมารดาของคอลิน (คือนางลิลิธ เครเว็น) ที่ได้กลับมาที่สวนเพื่อสนับสนุนให้แมรี่ช่วยสามีและลูกชายของเธอจากการทำลายกันและกันด้วยความประพฤติของตนและนก ซึ่งคนสวนเล่าว่า เป็นตัวเดียวที่เข้าไปและออกจากสวน อาจแสดงให้เห็นถึงความเหงาของนางเครเว็นที่สามีของเธอได้หยุดมาเยี่ยมเธอที่สวน