ลักษณะของสวน ของ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์_ศรีสะเกษ

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ เป็นที่ราบมีความสูงต่ำตามลักษณะเดิมของบริเวณ ภายในสวนมีลำห้วยธรรมชาติ 2 สาย คือ ห้วยปูนใหญ่ และห้วยปูนน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ด้านเหนือของสวนซึ่งมีฝายกั้นเป็นที่เก็บกักน้ำเพื่อความสวยงาม เป็นสวนน้ำเพื่อการพักผ่อนอย่างสงบโดยรอบและใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับระบบชลประทาน

พื้นที่เดิม เป็นป่าละเมาะธรรมชาติที่อุดมด้วยพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งประดู่ พยุง ตะแบก มังคุดป่า ชะพวงและมะส้าน โดยเฉพาะต้นลำดวนที่มีขึ้นอยู่มากมายในพื้นที่ ประมาณได้มากถึง 50,000 ต้น จากการสร้างสวนนี้เองที่จังหวัดศรีสะเกษได้นำต้นลำดวนมาเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด โดยที่พื้นที่เดิมมีส่วนหนึ่งที่เป็นป่าธรรมชาติที่มีสัตว์ป่าและนกอยู่อาศัยอยู่เดิมแล้วเป็นจำนวนมากและหลากหลายชนิด เช่น กระรอก กระแต อีเห็นลายจุด พังพอน รวมทั้งกระจง ผู้ออกแบบวางผังจึงกำหนดให้คงไว้เป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ป่า

สมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานเปิดสวนเมื่อ พ.ศ. 2524

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นสวนที่มีความเป็นธรรมชาติมากเนื่องจากเดิมเป็นป่าอยู่แล้ว จึงมีความร่มรื่นและสวยงามเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับการพักผ่อนแบบผ่อนคลายและแบบกระฉับกระเฉงที่สามารถเดินหรือวิ่งเหยาะไปตามถนนวงรอบที่กว้างและร่มรื่น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด

ใกล้เคียง

สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ปัตตานี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ฉะเชิงเทรา สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พังงา สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด