ประวัติ ของ สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น

สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้รับการก่อตั้ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และได้รับการจัดโดยสภาแห่งชาติเป็นครั้งแรกในนครเกียวโตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 ซึ่งองค์กรนี้มีรากฐานจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงคราม ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1915 โดยศิษย์เก่าของโรงเรียนโตเกียวเพื่อคนหูหนวก[6]

ในช่วงเปลี่ยนแปลง สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1950[6]

ตลอดประวัติศาสตร์ของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมและกิจกรรมมากมายสำหรับคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการแข่งขันกีฬาและการสัมมนาทางกฎหมาย

ในปี ค.ศ. 1968 ได้มีการรณรงค์ที่จัดโดยสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นอนุญาตให้คนหูหนวกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับใบขับขี่ ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการระงับเนื่องจากสถานะทางกฎหมายของคนหูหนวกจัดให้เป็น "บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ"[7]

ในปี ค.ศ. 1969 สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มเผยแพร่ตำรา และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษามือรวมถึงอาการหูหนวก ตลอดจนยังคงเผยแพร่จดหมายข่าวและหนังสือข้อความอัปเดตในปัจจุบัน นอกจากนี้ สหพันธ์คนหูหนวกได้เริ่มให้มีการสอบรับรองสำหรับล่ามภาษามือในปี ค.ศ. 1976 และช่วยก่อตั้งสถาบันฝึกอบรมภาษามือแห่งชาติในปี ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้แก่ล่ามภาษามือ[8]

อันเป็นผลมาจากการจัดประเภทคนหูหนวกเป็น "บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ" พวกเขาได้รับการพิจารณาว่า "ไร้ความสามารถเนื่องด้วยจิตหรือความสามารถทางกายภาพลดลง และลักษณะวิสัยที่ไร้ประโยชน์"[9] นอกจากนี้ พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน และไม่สามารถสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งไม่สามารถสืบทอดธุรกิจของครอบครัว สถานะเหล่านี้จึงถูกท้าทายโดยสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1979 องค์กรก็ประสบความสำเร็จในการมีมาตรา 11 จากการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้คนหูหนวกมีส่วนร่วมในฐานะบุคคลผู้สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ในทางกฎหมาย[10]

ในปี ค.ศ. 2006 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เริ่มกระบวนการของการแก้ไขกฎหมายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการออกใบขับขี่ให้กับผู้ที่มีอาการหูหนวก[11]

ม้าน้ำ ตราสัญลักษณ์และตัวนำโชค

ตราสัญลักษณ์ม้าน้ำของประชาคมคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น

ม้าน้ำเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับของประชาคมคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น[12] โดยตามตำนานของญี่ปุ่น มังกรนั้นไม่มีหูและหูหนวก หูของมังกรตกลงไปในมหาสมุทร ซึ่งหูเหล่านั้นกลายเป็นม้าน้ำ อดีต"หูมังกร"เหล่านี้ จึงได้รับการนำเสนอกราฟิกเป็นม้าน้ำในฐานะตราสัญลักษณ์และตัวนำโชคของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น[13] และกราฟิกเครื่องหมายนี้ยังพบในตราสัญลักษณ์อื่น ๆ ของประชาคมคนหูหนวก ตัวอย่างเช่น ภาพกราฟิกม้าน้ำของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับการจดทะเบียนเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์กรคนหูหนวกอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง ดังเช่น สหพันธ์คนหูหนวกแห่งกรุงโตเกียว[14] และสมาคมเทเบิลเทนนิสคนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น[15]

ใกล้เคียง

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย สหพันธรัฐ สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน สหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น http://edmonton.ctv.ca/servlet/an/local/CTVNews/20... http://www.4hearingloss.com/archives/2006/04/heari... http://deafjapan.blogspot.com/2011/03/first-interp... http://deafjapan.blogspot.com/2011/03/japanese-fed... http://deafjapan.blogspot.com/2011/03/jfd-report-m... http://deafjapan.blogspot.com/2011/03/jfd-report-o... http://www.jdtta.com/mark.html http://www.jasli.jp/about01e.html http://jdn.jfd.or.jp/ http://www.jfd.or.jp/