สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย
สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย (TDFR;[lower-alpha 1] 22 เมษายน – 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1918)[lower-alpha 2] เป็นรัฐที่มีอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอาร์มีเนีย ประเทศอาเซอร์ไบจาน และประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่บางส่วนของประเทศรัสเซียและตุรกีด้วย รัฐดำรงอยู่เพียงหนึ่งเดือนก่อนที่จอร์เจียจะประกาศอิสรภาพ ตามมาด้วยอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานหลังจากนั้นไม่นานพื้นที่ของสหพันธ์สาธารณรัฐเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งจักรวรรดิได้ล่มสลายในช่วงการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และทำให้รัฐบาลชั่วคราวเข้ายึดครองอำนาจแทน เช่นเดียวกับในภูมิภาคคอเคซัส ที่มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลที่เรียกว่า "คณะกรรมการพิเศษทรานส์คอเคเซีย (โอซาคอม)" หลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคมและการเถลิงอำนาจของบอลเชวิคในรัสเซีย คณะกรรมาธิการทรานส์คอเคเซียจึงเข้ามาแทนที่โอซาคอมในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังคงดำเนินต่อไป คณะกรรมาธิการได้เริ่มการเจรจาสันติภาพกับจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งทำการรุกรานภูมิภาคคอเคซัสอยู่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทางจักรวรรดิออตโตมันปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจของคณะกรรมาธิการ สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ซึ่งยุติการมีส่วนร่วมของรัสเซียในสงคราม ยอมให้ดินแดนทรานส์คอเคซัสบางส่วนตกเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อต้องเผชิญภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามานี้ ทำให้ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1918 คณะกรรมาธิการได้ประกาศยุบสภาและสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซียขึ้นเป็นรัฐอิสระ และได้ก่อตั้งสภานิติบัญญัติหรือสภาเซย์ม (Seim) เพื่อเจรจาโดยตรงกับจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งได้ยอมรับความเป็นเอกราชของสหพันธ์โดยทันทีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันของทั้งสามกลุ่มชาติพันธุ์หลัก (ชาวอาร์มีเนีย ชาวอาเซอร์ไบจาน[lower-alpha 3] และชาวจอร์เจีย) ถือเป็นอันตรายอย่างรวดเร็วต่อการดำรงอยู่ของสหพันธ์ การเจรจาสันติภาพพังทลายลงอีกครั้งและต้องเผชิญกับการรุกรานของจักรวรรดิออตโตมันในเดือนพฤษภาคม  ค.ศ. 1918 ผู้แทนชาวจอร์เจียในสภาเซย์มได้ประกาศว่าสหพันธ์สาธารณรัฐไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ และประกาศให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจียเป็นเอกราชเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เนื่องด้วยจอร์เจียไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์อีกต่อไป จึงทำให้สาธารณรัฐอาร์มีเนียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจานต่างก็ประกาศตนเองเป็นรัฐเอกราชเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ถือเป็นการสิ้นสุดสหพันธ์ เนื่องจากการดำรงอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซียจึงมักถูกลืมเลือนในประวัติศาสตร์ระดับชาติของภูมิภาคนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้วถือว่าเป็นกระบวนการขั้นแรกของรัฐทั้งสามที่พยายามประกาศอิสรภาพตนเอง

สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย

• ประธานสภาเซย์ม นีโคไล ชเฮอิดเซ
• จอร์เจียประกาศเอกราช 26 พฤษภาคม 1918
ภาษาทั่วไป
การปกครอง สหพันธรัฐ สาธารณรัฐระบบรัฐสภา ภายใต้รัฐบาลชั่วคราว
สกุลเงิน รูเบิลทรานส์คอเคเซีย (ru)[2]
• นายกรัฐมนตรี อะคากี ชเฮนเคลี
เมืองหลวง ติฟลิส
สภานิติบัญญัติ สภาเซย์มทรานส์คอเคเซีย
• อาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานประกาศเอกราช 28 พฤษภาคม 1918
ยุคประวัติศาสตร์ การปฏิวัติรัสเซีย
• ประกาศจัดตั้งสหพันธ์ 22 เมษายน 1918

ใกล้เคียง

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ สหพันธรัฐ สหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ สหพันธ์เอเชียนเกมส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซีย http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1714877 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1714877 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:213498833 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1712902 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1712902 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:213610541 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1712897 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2020.1712897 https://halshs.archives-ouvertes.fr/halshs-0178340... http://doi.org/10.1080%2F23761199.2016.1173369