การปฏิวัติรัสเซีย
การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (อังกฤษ: Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี พ.ศ. 2460 ซึ่งทำลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกถอดพระอิสริยยศและแทนที่ด้วยรัฐบาลเฉพาะกาลในการปฏิวัติครั้งแรกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 (ตามปฏิทินจูเลียนซึ่งรัสเซียยังคงใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตรงกับเดือนมีนาคมตามปฏิทินเกรโกเรียน) ในการปฏิวัติครั้งที่สองในเดือนตุลาคม รัฐบาลเฉพาะกาลถูกโค่นล้มและแทนที่ด้วยรัฐบาลพรรคบอลเชวิกการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) เป็นการปฏิวัติในเฉพาะบริเวณนครเปโตรกราด (ปัจจุบัน: เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ภายใต้ภาวะความวุ่นวายนั้นเอง สมาชิกรัฐสภาหลวงดูมาถือโอกาสเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น เหล่าผู้นำกองทัพต่างรู้สึกว่าความพยายามปราบปรามการจลาจลของตนนั้นไร้ผล และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียองค์สุดท้ายก็ทำการสละราชสมบัติ ในตอนแรกเริ่ม พวกโซเวียต (สภาแรงงาน) ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมหัวรุนแรงอนุญาตให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้าบริหารประเทศ แต่ยืนยันให้พวกตนได้รับอภิสิทธิ์ในการแทรกแซงรัฐบาลและควบคุมกองกำลังต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เกิดขึ้นในบริบทของความพ่ายแพ้ทางทหารอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2457 - 2461) ซึ่งทำให้กองทัพส่วนมากอยู่ในสภาพของการก่อกบฏช่วงเวลาของ อำนาจคู่ (Dual power) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเฉพาะกาลครอบครองอำนาจรัฐ ขณะที่เครือข่ายโซเวียตแห่งชาติซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมก็ได้รับการสวามิภักดิ์จากเหล่าชนชั้นล่างและพวกฝ่ายซ้าย และตลอดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายนี้มีการก่อกบฏ, ประท้วง และนัดหยุดงานมากมายหลายครั้ง ต่อมารัฐบาลเฉพาะกาลตัดสินใจที่จะยังคงทำสงครามกับเยอรมนีต่อไป ส่งผลให้พวกบอลเชวิกและนักสังคมนิยมกลุ่มต่าง ๆ เริ่มออกมารณรงค์ให้ยุติการสู้รบกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ทำการเปลี่ยนกองกำลังจากชนชั้นแรงงานให้ไปเป็น เรดการ์ด ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นกองทัพแดง และกองกำลังนี้เองที่บอลเชวิกควบคุมเอาใจใส่อย่างมีนัยสำคัญ[1]ถัดมาในการปฏิวัติเดือนตุลาคม (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) พรรคบอลเชวิกภายใต้การนำของวลาดีมีร์ เลนินและเหล่าชนชั้นแรงงานโซเวียตเข้าล้มล้างการปกครองของรัฐบาลเฉพาะกาล ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พวกบอลเชวิกแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้นำในกระทรวงต่าง ๆ มากมายรวมไปถึงการเข้ายึดอำนาจตามชนบทต่าง ๆ จัดตั้งหน่วย เชกา เพื่อปราบปรามการต่อต้านการปฏิวัติ และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการยุติสงครามกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์กับเยอรมนีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461สงครามกลางเมืองอุบัติขึ้นระหว่าง กองทัพแดง (ฝ่ายบอลเชวิก) กับ กองทัพขาว (ฝ่ายต่อต้านบอลเชวิก) ซึ่งดำเนินไปหลายปี แต่ในท้ายที่สุดแล้วกองทัพแดงของฝ่ายบอลเชวิกก็มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือฝ่ายกองทัพขาว และการสิ้นสุดลงของระลอกการปฏิวัตินี้เองที่ปูทางรัสเซียให้เขาสู่ยุคของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต แม้ว่าเหตุการณ์หลักทางประวัติศาสตร์ส่วนมากจะเกิดขึ้นในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและกรุงมอสโก แต่ก็ยังคงสามารถพบเห็นการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ตลอดช่วงของการปฏิวัติได้ในแถบชนบทและหมู่บ้านทั่วประเทศ รวมไปถึงชนกลุ่มน้อยและบริเวณทุรกันดาร ที่ซึ่งชาวนาและทาสเข้ายึดที่ดินทำกินจากชนชั้นขุนนางแล้วแจกจ่ายปันส่วนให้แก่ตนเองใหม่

การปฏิวัติรัสเซีย

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่8 มีนาคม - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
(23 กุมภาพันธ์ - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินจูเลียน)
สถานที่จักรวรรดิรัสเซีย
ผลลัพธ์บอลเชวิกชนะ
สถานที่ จักรวรรดิรัสเซีย
ผลลัพธ์ บอลเชวิกชนะ
วันที่ 8 มีนาคม - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
(23 กุมภาพันธ์ - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินจูเลียน)

ใกล้เคียง