การเมืองภายใต้ระบอบสังคม ของ สังคมราษฎรนิยม

ไฟล์:គោបុរៈទី៤.jpgคณะพลพรรคสังคมราษฎรนิยมเดินทางขึ้นปราสาทพระวิหาร หลังได้ชัยชนะเหนือประเทศไทยในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505ไฟล์:ដំណើរទៅកាន់ប្រាសាទព្រះវិហារ.jpgพระนโรดม สีหนุ (ผู้นำพรรค) ทรงนำขบวนพลพรรคสังคมราษฎรนิยมขึ้นปราสาทพระวิหารหอประชุมจตุรมุข สิ่งก่อสร้างยุคสังคมราษฎรนิยม

ในยุคที่พรรคสังคมครองอำนาจ พรรคนี้เป็นศูนย์รวมของกลุ่มฝ่ายขวา มีเพียงกลุ่มของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่ไม่ได้เข้าร่วม ผู้นำคอมมิวนิสต์บางคนเช่น ฮู นิมและเขียว สัมพันได้เข้าร่วมกับระบอบสังคมด้วย[6] ในขณะที่พรรคประชาธิปไตย ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มการเมืองที่เป็นกลางและนิยมสาธารณรัฐ ได้ถูกบีบให้เข้าร่วมกับพรรคสังคมใน พ.ศ. 2500[7] ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐบางคนหยุดเล่นการเมืองจนกระทั่ง พ.ศ. 2513

กลุ่มฝ่ายขวาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เข้าร่วมกับระบอบสังคมคือกลุ่มฝ่ายขวาที่ต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรเสรีและได้รับการสนับสนุนจากประเทศไทย พระนโรดม สีหนุได้เรียกเขมรฝ่ายขวาว่าเขมรสีน้ำเงิน[8] เพื่อให้แตกต่างจากกลุ่มฝ่ายซ้ายที่เรียกเขมรแดง นอกจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2502 – 2503 ยังเกิดความรุนแรงต่อผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับระบอบสังคม เช่น กรมประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกเดียวกับเวียดมิญ[9] และเขมรเสรีที่ต่อต้านระบอบสังคมของพระนโรดม สีหนุ เช่น เปรียบ อิน เขมรเสรีที่ปฏิเสธการเจรจากับพระนโรดม สีหนุเมื่อ พ.ศ. 2506 ถูกจับกุม และถูกประหารชีวิต สิ่งที่คล้ายกันนี้ เกิดขึ้นกับเขมรเสรีคนอื่นด้วย เช่น เจา บอรี เจา มาธุราและเซา งอย ใน พ.ศ. 2510