สังคมนิยมตลาด
สังคมนิยมตลาด

สังคมนิยมตลาด

สังคมนิยมตลาด (อังกฤษ: Market Socialism) คือระบบเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง ที่ปัจจัยการผลิตถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสาธารณะ สังคม หรือในรูปแบบสหกรณ์ ภายใต้กรอบเศรษฐกิจที่มีการใช้กลไกตลาด สังคมนิยมตลาดแตกต่างจากสังคมนิยมไร้ตลาด ในเชิงการใช้ประโยชน์จากกลไกตลาดเพื่อจัดสรรสินค้าทุนและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ[1][2][3] กำไรจากผลประกอบการที่ได้จากกิจการที่ถือกรรมสิทธิ์โดยสังคม (เช่น รายได้สุทธิที่มิได้ถูกนำมาลงทุนซ้ำเพื่อขยายกิจการนั้น) อาจนำมาใช้เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้แก่ลูกจ้างโดยตรง หรือสมทบกลับเข้าสังคมในรูปแบบแหล่งเงินทุนสาธารณะ หรือจัดสรรกลับสู่ประชากรในรูปของเงินปันผลเพื่อสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของสังคมนิยมตลาดนั้น ๆ[4]สังคมนิยมตลาดแตกต่างจากแนวคิดเศรษฐกิจผสม ตรงที่โมเดลของสังคมนิยมตลาดนั้นเป็นระบบที่สมบูรณ์และกำกับดูแลได้ด้วยตนเอง[5] นอกจากนั้นสังคมนิยมตลาดยังมีความแตกต่างจากนโยบายประชาธิปไตยสังคมนิยมที่อยู่ภายใต้เศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม โดยในขณะที่ประชาธิปไตยสังคมนิยมมีเป้าหมายที่จะบรรลุความมีเสถียรภาพและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้นโยบายเช่นมาตรการภาษี เงินอุดหนุน หรือโครงการสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ นั้น สังคมนิยมตลาดเล็งที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่คล้ายกันด้วยการเปลี่ยนรูปแบบกรรมสิทธิ์และรูปแบบการบริหารในวิสาหกิจ[6]แม้ว่าจะมีข้อเสนอในรูปแบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์โดยสังคมอันมีตลาดสำหรับซื้อขายปัจจัยทุนมาตั้งแต่ช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 คำว่าสังคมนิยมตลาดเพิ่งจะปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษ 1920 ระหว่างที่มีการอภิปรายเรื่องการคำนวณเชิงสังคมนิยม[7] ระหว่างนักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมด้วยกันเอง ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้นไม่สามารถทำงานในฐานของการคำนวณด้วยหน่วยธรรมชาติ ตลอดจนไม่สามารถทำงานด้วยการแก้โจทย์เชิงระบบพหุสมการสำหรับการประสานงานกันทางเศรษฐกิจ และนั่นหมายความว่าตลาดทุนย่อมมีความจำเป็นในเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม[8]สังคมนิยมตลาดในยุคต้นมีรากฐานมาจากงานเขียนของอดัม สมิธ และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คลาสสิคอื่น ๆ อันประกอบด้วยข้อเสนอเรื่องวิสาหกิจแบบสหกรณ์ที่ดำเนินงานภายใต้เศรษฐกิจตลาดเสรี ข้อเสนอเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะกำจัดการขูดรีด โดยอำนวยให้ปัจเจกบุคคลได้รับผลตอบแทนจากแรงงานของตนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่รื้อทิ้งผลกระทบจากการบิดเบือนตลาด ที่เกิดจากการกระจุกตัวของกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินที่อยู่ในมือของเจ้าของเอกชนผู้เป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม[9] ผู้อุทิศตนต่อหลักการสังคมนิยมตลาดในยุคต้นได้แก่นักเศรษฐศาสตร์สังคมนิยมสายริคาร์เดียน และนักคิดสำนักประโยชน์ร่วมนิยม ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ออสการ์ อาร์. แลงจ์ และแอบบา พี. เลิร์นเนอร์ ได้ร่างเค้าโครงโมเดลสังคมนิยมแบบนีโอคลาสสิค ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของคณะกรรมการวางแผนส่วนกลางในการกำหนดราคาให้เท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม เพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพพาเรโต้ในท้ายที่สุด แม้ว่าโมเดลในช่วงต้นเหล่านี้ไม่ได้มีการพึ่งพาตลาดแบบเดิม ๆ แต่ก็ยังนับว่าเป็นสังคมนิยมตลาดเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์จากกลไกราคาและด้วยการคำนวณที่เป็นตัวเงิน โมเดลในยุคหลังส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิคชาวอเมริกัน ที่กล่าวว่ากรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตโดยสาธารณะนั้น สามารถบรรลุได้โดยการเข้าไปถือกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์และเข้าไปมีอำนาจควบคุมการลงทุน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สังคมนิยมตลาด http://links.org.au/node/14 http://mutualist.blogspot.com/2006/01/eugene-plawi... http://mutualist.blogspot.com/2006/07/js-mill-mark... http://sheldonfreeassociation.blogspot.com/2006/07... http://bradspangler.com/blog/archives/473 http://us.ft.com/ftgateway/superpage.ft?news_id%3D... http://radgeek.com/gt/2010/03/02/liberty-equality-... http://www.slate.com/id/2279457/ http://www.theamericanconservative.com/blog/libert... http://invisiblemolotov.wordpress.com/2009/09/12/s...