เศรษฐกิจแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน[1] เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจแสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักมูลเบื้องหลังกิจกรรมเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมเหนือลาวเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม[2] ซึ่งไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและ/หรือภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วยไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยนิยามหลากหลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสมวิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างตลาดและการวางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนในเศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของสหรัฐอเมริกา[3][4]จนถึงคิวบา[5]เรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลในเศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการจ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน