เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น
เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ราชวงศ์ซิน (ปี ค.ศ. 9 – 23) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี ค.ศ. 25 – 220) ระบอบการปกครองของราชวงศ์ซินก่อตั้งโดยจักรพรรดิซินเกาจู่ (หวัง หมั่ง) เป็นระบอบการปกครองช่วงระหว่างภาวะสุญญากาศทางการเมืองคั่นกลางระหว่างการปกครองที่ยาวนานของราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่การปกครองของจักรพรรดิซินเกาจู่ล่มสลายลง เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นถูกย้ายไปทางทิศตะวันออกจากเมืองฉางอานไปยังเมืองลั่วหยาง ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึงเรียกยุคก่อนและหลังว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตามลำดับ[1]เศรษฐกิจสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกกำหนดโดยการเติบโตของประชากรอย่างแพร่หลาย การกลายเป็นเมืองเพิ่มขึ้น การเติบโตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของอุตสาหกรรมและการค้า และการทดลองของรัฐบาลโดยแปลงสินทรัพย์ของเอกชนให้เป็นสินทรัพย์ของรัฐ ในยุคนี้ระดับของการทำเหรียญและการไหลเวียนของเหรียญเงินตราเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบของพื้นฐานทางระบบการเงินที่มั่นคง เส้นทางสายไหมช่วยอำนวยความสะดวกในการสถาปนาการค้าและแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการกับต่างประเทศทั่วทวีปยูเรเชีย หลายสิ่งนี้ไม่เคยเป็นที่รับรู้ของชาวจีนยุคโบราณมาก่อน เมืองหลวงของราชวงศ์ทั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ฉางอาน) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ลั่วหยาง) ตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นทั้งด้านประชากรและด้านพื้นที่ โรงงานของรัฐบาลผลิตเครื่องตกแต่งสำหรับพระราชวังของจักรพรรดิและผลิตสินค้าสำหรับสามัญชน รัฐบาลควบคุมการก่อสร้างถนนและสะพานหลายแห่งซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของรัฐบาลอย่างเป็นทางการและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางการค้า ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น นักอุตสาหกรรม ผู้ค้าส่งและพ่อค้า จากพ่อค้าปลีกรายย่อยไปจนถึงนักธุรกิจที่มั่งคั่งสามารถมีส่วนร่วมในความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการค้าที่หลากหลายทั้งภายในประเทศ ในแวดวงสาธารณะ และแม้แต่ทหารในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น ชาวนาที่อาศัยอยู่พื้นที่ชนบทพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาเริ่มพึ่งพาการแลกเปลี่ยนทางการค้าอย่างหนักกับเจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่ที่มั่งคั่ง ชาวนาชาวไร่จำนวนมากมีหนี้สินลดลงและถูกบังคับให้กลายเป็นแรงงานจ้างหรือไม่ก็เป็นผู้อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับชนชั้นเจ้าของที่ดิน รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับชาวนาที่ยากจนอย่างต่อเนื่อง พวกชาวนาต้องแข่งขันกับขุนนาง เจ้าของที่ดินและผู้ประกอบการค้าที่ทรงอำนาจและอิทธิพล รัฐบาลพยายามจำกัดอำนาจของกลุ่มคนที่มั่งคั่งเหล่านี้โดยการเก็บภาษีและออกกฎระเบียบทางราชการอย่างหนัก ถึงแม้ว่ารัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ได้แปรรูปอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือให้กลายเป็นกิจการของรัฐ อย่างไรก็ตาม การผูกขาดของรัฐบาลเหล่านี้ถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การแทรกแซงของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจภาคเอกชนระหว่างปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ส่งผลให้ชนชั้นพ่อค้าเชิงพาณิชย์อ่อนแอลงอย่างหนัก การแทรกแซงของรัฐบาลช่วยให้เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งเพิ่มอำนาจพวกเขาและรับประกันความต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ครอบงำการเกษตร เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งครอบงำกิจกรรมด้านการค้าได้เป็นอย่างดี ปรับปรุงอำนาจการปกครองให้อยู่เหนือชาวนาที่อยู่ในชนบททั้งหมด ผู้ซึ่งรัฐบาลไว้วางใจเพราะรายได้จากการจัดเก็บภาษี กำลังทางทหารและแรงงานสาธารณะ โดยในปีคริสต์ทศวรรษที่ 180 วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นเหตุให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นกระจายอำนาจมากขึ้น ขณะที่เจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอิสระและมีอำนาจในชุมชนของพวกเขามากขึ้น