การค้าต่างประเทศและการแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการ ของ เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

ผ้าไหมทอจากสุสานหมายเลข 1 ที่สุสานหม่าหวังตุย เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ระบุเวลาอยู่ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลแรดสำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ยุคก่อนราชวงศ์ฮั่น ตลาดที่ตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนทางภาคเหนือของประเทศจีนทำสัญญาซื้อขายกับชนเผ่าเร่ร่อนของภาคตะวันออกของที่ราบยูเรเชีย[113] ข้อตกลงเหอชินระหว่างราชวงศ์ฮั่นและชนเผ่าซฺยงหนูกำหนดการถ่ายโอนสินค้าบรรณาการจากประเทศจีน จำนวนที่แน่นอนของเครื่องบรรณาการประจำปีส่งไปให้ชนเผ่าซฺยงหนูในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ในปี 89 ก่อนคริสตกาล หูลู่กู (狐鹿姑) จักรพรรดิซฺยงหนู (ครองราชย์ปี 95 – 85 ก่อนคริสตกาล) ทรงร้องขอให้มีการฟื้นฟูข้อตกลงเหอชิน พระองค์ต้องการเครื่องบรรณาการประจำปี ได้แก่ ไวน์ 400,000 ลิตร เมล็ดธัญพืช 100,000 ลิตร (2,800 บุชเชล) และไหม 10,000 ก้อน[114][115] จำนวนไวน์ เมล็ดธัญพืชและไหมเหล่านี้ถูกพิจารณาว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากจำนวนเบื้องต้นของเครื่องบรรณาการ ซึ่งต้องได้รับน้อยมาก[114] นอกจากการเตรียมการเหล่านี้ การแลกเปลี่ยนเชิงพาณิชย์ทั่วไประหว่างซฺยงหนูและพ่อค้าชาวฮั่นที่มากที่สุดประกอบด้วยการซื้อขายม้าและเสื้อขนสัตว์เพื่ออาหารการกินทางการเกษตรและสินค้าฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ฮั่น ไหมเป็นสินค้าที่สะดุดตามากที่สุด[113] ด้วยวิธีของตลาดมืด ชนเผ่าซฺยงหนูสามารถลักลอบขนอาวุธเหล็กของราชวงศ์ฮั่นข้ามชายแดนได้ด้วย[113]

ราชวงศ์ฮั่นจัดตั้งการทูตในแอ่งทาริมของเอเชียกลางระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 147 – 87 ก่อนคริสตกาล) นักการทูตของราชวงศ์ฮั่นนำของขวัญ ได้แก่ แกะ ทองคำ และไหมไปยังนครรัฐที่เป็นเมืองในโอเอซิส[113] บางเวลาชาวจีนใช้ทองคำเป็นเงินตรา อย่างไรก็ตาม ไหมถูกโปรดปรานให้เป็นสินค้าจ่ายเพื่ออาหารและที่พักอาศัย[113] ครั้งหนึ่งราชวงศ์ฮั่นได้ปราบปรามแอ่งทาริมและสถาปนารัฐอารักขาขึ้นที่นี่ นักการทูตของราชวงศ์ฮั่นที่ประจำอยู่ในบรรดารัฐเหล่านี้ได้รับการเลี้ยงอาหารและให้ที่พักโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นักการทูตเหล่านี้ถูกร้องขอให้ส่งสินค้าบรรณาการ ได้แก่ เสื้อขนสัตว์ จินดา และอาหาร เช่น ลูกเกดของเอเชียกลางให้กับราชสำนักฮั่น[113] ราชสำนักของจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire) ส่งสัตว์ประหลาดรวมถึงสิงโตและนกกระจอกเทศให้กับราชสำนักฮั่น และการปกครองโดยกษัตริย์ในสิ่งที่ปัจจุบันนี้คือพม่าส่งช้างและแรด[116] ภารกิจทางการทูตของราชวงศ์ฮั่นต่อราชสำนักผ่านเอเชียถูกคลุกคลีเป็นปกติโดยคาราวานการค้าซึ่งได้รับกำไรเป็นกอบเป็นกำ[117]

ราชสำนักฮั่นได้รับเครื่องบรรณาการจากจักรพรรดิซฺยงหนู ฮูหานเสีย (呼韓邪) (ครองราชย์ปี 58 – 31 ก่อนคริสตกาล) เป็นคู่แข่งคนสำคัญต่อ จื้อจือฉานหฺยวี (郅支單于) (ครองราชย์ปี 56 – 36 ก่อนคริสตกาล สิ้นพระชนม์ในสงครามจื้อจือ) เครื่องบรรณาการของฮูหานเสีย แลกเปลี่ยนตัวประกันและปรากฏตัวที่เมืองฉางอานในวันตรุษจีนของปี 51 ก่อนคริสตกาลถูกตอบแทนด้วยของขวัญที่ตามมาจากจักรพรรดิ ได้แก่ ทองคำ 5 กิโลกรัม (160 ออนซ์) เหรียญ 200,000 เหรียญ เสื้อสูท 77 ตัว ผ้าไหม 8,000 ก้อน ไหมจุรี 1,500 กิโลกรัม (3,300 ปอนด์) ม้า 15 ตัว และองุ่น 680,000 ลิตร (19,000 บุชเชล)[118] อย่างไรก็ตาม ของขวัญนี้เป็นของขวัญตอบแทนซึ่งเป็นวัสดุอื่นมากกว่าผ้า ขณะที่แสดงในตารางข้างล่างขึ้นอยู่กับ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยราชวงศ์ฮั่น” ของ หฺยวียิงฉือ (Yü Ying-shih) (1986) ของขวัญมีเพียงแค่ผ้าไหมหลังจากปี 51 ก่อนคริสตกาล และการมอบให้จะถูกเพิ่มขึ้นมากกว่าไหมและการยอมจำนนทางการเมืองของผู้นำซฺยงหนูได้รับประกันเท่านั้นเช่นเดียวกันที่ราชวงศ์ฮั่นสามารถให้ปริมาณของไหมจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นในการเยือนราชสำนักจีนครั้งใหม่[119]

ของขวัญจากราชสำนักฮั่นได้รับโดยจักรพรรดิชนเผ่าซฺยงหนู ระหว่างการเดินทางไปถวายบังคมยังราชสำนักฮั่นในเมืองฉางอาน[119]
ปี (ก่อนคริสตกาล)ไหมจุรี (หน่วยวัด : ชั่งจีน (600 กรัม))ผ้าไหม (หน่วยวัด : ก้อน)
511,5008,000
492,0009,000
334,00018,000
255,00020,000
17,50030,000
ภาพซ้าย: มิเนอร์วาบนจานกะไหล่เงินโรมัน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล มิเนอร์วาบนจานกะไหล่เงินโรมันเป็นแบบเดียวกับที่พบในเทศมณฑลจิ้งหย่วน มณฑลกานซู ประเทศจีน ระบุเวลาอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หรือ 3 มีภาพการปลดปล่อยที่เพิ่มขึ้นของไดอะไนซัส เทพเจ้ากรีก-โรมัน[120]
ภาพขวา: ขันแก้วสีน้ำเงินยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถึงแม้ว่าชาวจีนผลิตชิ้นส่วนลูกปัดแก้วตั้งแต่ยุควสันตสารท (ปี 722 – 481 ก่อนคริสตกาล) เครื่องแก้วจีน (เช่น ขันและขวด) ปรากฏครั้งแรกระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก[121]

การก่อตั้งเส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ เนื่องจากความพยายามของนักการทูต จาง เชียน ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของไหมจากจักรวรรดิโรมันกระตุ้นการจราจรในเชิงพาณิชย์ในทั้งเอเชียกลางข้ามมหาสมุทรอินเดีย พ่อค้าชาวโรมันเดินเรือไปยังเมืองบาบาริกอน อยู่ใกล้กับเมืองการาจี ในปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน และฉนวนแบรี่ ในปัจจุบันคือรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เพื่อซื้อผ้าไหมจีน (ดูเพิ่มที่ การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย)[122] เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ทรงพิชิตอาณาจักรหนานเยว่ ปัจจุบันอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนและภาคเหนือของประเทศเวียดนามในปี 111 ก่อนคริสตกาล การค้าโพ้นทะเลถูกต่อขยายออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่พ่อค้าทางทะเลซื้อขายทองคำและไหมของราชวงศ์ฮั่นเพื่อไข่มุก หยก วิฑูรย์ และแก้วน้ำ[123]

หนังสือยุคปลายราชวงศ์ฮั่น (Book of the Later Han) ระบุว่าทูตจากโรมันถูกส่งมาโดยจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส (ครองราชย์ปี ค.ศ. 161 – 180) เดินทางมาตามเส้นทางภาคใต้ นำของขวัญมาถวายราชสำนักในจักรพรรดิฮั่นหฺวัน (ครองราชย์ปี ค.ศ. 146 – 168) ในปี ค.ศ. 166[124] ภารกิจของอาณาจักรโรมันดังกล่าวเจริญรอยตามความพยายามที่ไม่ประสบผลสำเร็จของนักการทูตของราชวงศ์ฮั่น กาน ยิง เพื่อที่จะไปถึงกรุงโรมในปี ค.ศ. 97 กาน ยิงถูกทำให้ล่าช้าที่อ่าวเปอร์เซียโดยเจ้าหน้าที่ของจักรวรรดิพาเธียน และสามารถทำรายงานเกี่ยวกับกรุงโรมขึ้นอยู่กับคำอธิบายด้วยปากเปล่าเท่านั้น[125][126][127] ชาร์ลส ฮัคเกอร์และเรฟ เดอ เครสปิกนี นักประวัติศาสตร์ ทั้งคู่คาดเดาว่าภารกิจของกรุงโรมปี ค.ศ. 166 เกี่ยวข้องกับพ่อค้าชาวโรมันที่กล้าได้กล้าเสียแทนที่จะเป็นนักการทูตที่แท้จริง[128] ฮัคเกอร์เขียนว่า[129]

ภารกิจส่งเครื่องบรรณาการจากรัฐศักดินาได้รับอนุญาตอย่างเป็นที่รู้จักกันทั่วไปให้รวมพ่อค้าด้วย ผู้ซึ่งได้รับโอกาสให้ทำธุรกิจในตลาดเมืองหลวง ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัดส่วนขนาดใหญ่ของสิ่งที่ราชสำนักจีนเลือกติดต่อภารกิจส่งเครื่องบรรณาการถูกก่อตั้งกิจการเชิงพาณิชย์อย่างฉลาด ในความเป็นจริงโดยพ่อค้าชาวต่างชาติโดยไม่มีสถานะทางการทูตทั้งหมด นี่เป็นกรณีที่ไม่ต้องสงสัย ที่น่าสะดุดตาที่สุด กับกลุ่มของพ่อค้าผู้ปรากฏตัวบนชายฝั่งภาคใต้ในปี ค.ศ. 166 ยืนยันว่าเป็นทูตจากจักรพรรดิโรมันมาร์คัส ออเรลิอัส แอนโตนิอุส แห่งโรมัน[129]

เส้นทางการค้าสายหลักนำไปสู่ประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่นผ่านเทศมณฑลคาชการ์ (Kashgar) เป็นเมืองแรก แต่กระนั้นเมืองแบคเตรียซึ่งเป็นเมืองสมัยเฮลเลนิสติกทางทิศตะวันตกที่ไกลออกไปเป็นปมศูนย์กลางของการค้าระหว่างประเทศ[130] โดยคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมืองแบคเตรียและอีกหลายเมืองในเอเชียกลางและอินเดียเหนือถูกควบคุมโดยจักรวรรดิกุษาณะ[131] ไหมเป็นสินค้าส่งออกหลักจากประเทศจีนไปยังประเทศอินเดีย พ่อค้าชาวอินเดียนำสินค้าหลากหลายชนิดมายังประเทศจีน รวมถึงกระดองเต่า ทองคำ เงิน ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก เนื้อผ้าเกรดดี ผ้าขนสัตว์ น้ำหอมและเครื่องหอม น้ำตาลคริสตัล พริกไทย ขิง เกลือ ปะการัง ไข่มุก ชิ้นส่วนทำจากแก้วและเครื่องใช้ของโรมัน[132] พ่อค้าชาวอินเดียนำกำยานไปยังประเทศจีน ขณะที่ชาวจีนมีความรู้เรื่องยางไม้หอมบีเดลเลียม (Bdellium) ว่าเป็นสินค้าที่มีกลิ่นหอมจากเปอร์เซีย ถึงแม้ว่ามันเป็นสินค้าพื้นเมืองของอินเดียตะวันตก[133] ม้าเหงื่อโลหิตนำเข้าจากเมืองเฟอกานาถูกตีราคาสูงในประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่น[134] องุ่นจากเอเชียกลางที่แปลกใหม่ที่แนะนำใหม่ถูกใช้ผลิตไวน์องุ่น ถึงแม้ว่าชาวจีนได้ผลิตไวน์ข้าวก่อนหน้านี้[135] สินค้าฟุ่มเฟือยทำจากแก้วจากดินแดนเมโสโปเตเมียยุคโบราณถูกค้นพบในสุสานจีนและระบุเวลาว่าอยู่ในช่วงปลายยุควสันตสารท (ปี 771 – 476 ก่อนคริสตกาล) เครื่องแก้วของโรมันถูกค้นพบในสุสานจีนระบุเวลาอยู่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล ตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดพบที่เมืองท่าจีนทางภาคใต้ของเมืองกว่างโจว[121] เครื่องเงินจากชายแดนระหว่างจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิพาร์เธียนถูกค้นพบที่สุสานราชวงศ์ฮั่นเช่นเดียวกัน[136]