ระบบการเงินและการกลายเป็นเมือง ของ เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

การกลายเป็นเมืองและประชากร

รูปจำลองทางสถาปัตยกรรมดินเผาทาสี พบในสุสานของราชวงศ์ฮั่น ปรากฏหอคอยที่อยู่อาศัยพร้อมด้วยระเบียง หลังคากระเบื้อง เสาและคานแบบโบราณ และสะพานเชื่อมต่อจากชั้น 3 ไปยังหอคอยอื่น

ในระหว่างยุคสงครามระหว่างรัฐ (ปี 403 - 201 ก่อนคริสตกาล) การพัฒนาของพาณิชย์เอกชน เส้นทางการค้าแห่งใหม่ อุตสาหกรรมหัตถกรรมและเศรษฐกิจการเงินนำไปสู่การเติบโตของศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ ศูนย์กลางด้านต่าง ๆ เหล่านี้แตกต่างจากเมืองเก่าต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นเพียงเมืองที่ใช้เป็นฐานอำนาจของขุนนางเท่านั้น[2] สกุลเงินที่ใช้กันทั่วประเทศและได้มาตรฐานในระหว่างยุคราชวงศ์ฉิน (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) ช่วยอำนวยความสะดวกให้เส้นทางการค้าที่มีระยะทางอันยาวไกลเชื่อมโยงระหว่างเมืองต่าง ๆ[3] เมืองในยุคราชวงศ์ฮั่นหลายเมืองขยายใหญ่ขึ้น เมืองหลวงฉางอานของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 250,000 คน ในขณะที่เมืองหลวงลั่วหยางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 500,000 คน[4] จากบันทึกการสำรวจสำมะโนประชากรผู้เสียภาษีในปี ค.ศ. 2 ประชากรของจักรวรรดิฮั่นมีจำนวน 57.6 ล้านคนใน 12,366,470 ครัวเรือน[5] สามัญชนส่วนใหญ่ผู้ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองอาศัยอยู่ในส่วนที่มีขยายของเมืองและชานเมืองที่ขยายออกไปนอกกำแพงเมืองและเรือนเฝ้าประตู[6] พื้นที่ในเมืองฉางอานทั้งหมดของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก รวมถึงส่วนขยายออกนอกกำแพงเมืองอยู่ที่ 36 ตารางกิโลเมตร (14 ตารางไมล์) พื้นที่ในเมืองลั่วหยางทั้งหมดของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รวมถึงส่วนขยายออกนอกกำแพงเมืองอยู่ที่ 24.5 ตารางกิโลเมตร (9.5 ตารางไมล์)[7] ทั้งเมืองฉางอานและเมืองลั่วหยางมีตลาดที่โดดเด่นอยู่ 2 แห่ง ตลาดแต่ละแห่งมีสำนักงานของรัฐบาลสูงสองชั้น แบ่งเขตโดยปักธงและตั้งกลองไว้ข้างบนสุด[8] เจ้าหน้าที่ของตลาดมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เก็บภาษีการค้า ตั้งราคาสินค้าให้เป็นมาตรฐานทุกเดือนและบังคับใช้สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างพ่อค้าและลูกค้า[8]

การเปลี่ยนแปลงในเงินตรา

ในระหว่างช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โรงผลิตเหรียญของรัฐบาลแบบปิดของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 – 195 ก่อนคริสตกาล) สนับสนุนสกุลเงินเหรียญที่ผลิตโดยภาคเอกชน[9] จักรพรรดินีฮั่นเกา พระพันปีหลวง ทรงยกเลิกการผลิตเหรียญจากภาคเอกชนในปี 186 ก่อนคริสตกาล พระองค์ออกใช้เหรียญสำริดของรัฐบาลมีน้ำหนัก 5.7 กรัม (0.20 ออนซ์) เป็นอันดับแรก แต่ออกใช้เหรียญชนิดอื่นมีน้ำหนัก 1.5 กรัม (0.053 ออนซ์) ในปี 182 ก่อนคริสตกาล[9] การเปลี่ยนไปใช้เหรียญที่มีน้ำหนักเบากว่าทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างแพร่หลาย ดังนั้น ในปี 175 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิฮั่นเหวิน (ปี 180 – 157 ก่อนคริสตกาล) ทรงยกเลิกการห้ามภาคเอกชนผลิตเหรียญ ภาคเอกชนถูกร้องขอให้กลับมาผลิตเหรียญซึ่งมีน้ำหนักแม่นยำที่ 2.6 กรัม (0.092 ออนซ์)[9] การผลิตเหรียญถูกยกเลิกอีกครั้งในปี 144 ก่อนคริสตกาล ระหว่างสิ้นสุดรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจิง (ครองราชย์ปี 157 – 141 ก่อนคริสตกาล) ถึงแม้ว่าสิ่งนี้ เหรียญสำริดที่มีน้ำหนัก 2.6 กรัม (0.092 ออนซ์) ออกใช้โดยทั้งรัฐบาลปกครองส่วนกลางและรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นจนกระทั่งปี 120 ก่อนคริสตกาล เมื่อเป็นเวลา 1 ปีจึงถูกแทนที่ด้วยเหรียญที่มีน้ำหนัก 1.9 กรัม (0.067 ออนซ์)[10] เงินรูปแบบอื่นถูกแนะนำตลอดเวลานี้ บันทึกเงินที่มีค่าไม่เต็มตัว (Token money) ทำจากหนังกลับสีขาวปักกับมูลค่าที่ตราไว้จำนวน 400,000 เหรียญถูกใช้เพื่อเก็บรายได้รัฐบาล[10] จักรพรรดิฮั่นอู่ได้แนะนำเหรียญโลหะผสมดีบุกเงิน 3 ชนิด มูลค่า 3,000 500 และ 300 เหรียญสำริดตามลำดับเช่นเดียวกัน เหรียญทั้งหมดเหล่านี้มีน้ำหนักน้อยกว่า 120 กรัม (4.2 ออนซ์)[10]

เหรียญ "อู่จู" (五銖) ถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ครองราชย์ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.5 มิลลิเมตร (1 นิ้ว)

ในปี 119 ก่อนคริสตกาล รัฐบาลออกใช้เหรียญสำริด อู่จู (五銖) มีน้ำหนัก 3.2 กรัม (0.11 ออนซ์) เหรียญนี้ยังคงเป็นสกุลเงินมาตรฐานในประเทศจีนจนกระทั่งเข้าสู่ยุคราชวงศ์ถัง (ปี ค.ศ. 618 – ค.ศ. 917)[11] ระหว่างยุคราชวงศ์ซินซึ่งเป็นราชวงศ์ช่วงเวลาอันสั้นของหวัง หมั่ง (ปี 45 – 23 ก่อนคริสตกาล) รัฐบาลแนะนำหน่วยเงินตราสกุลใหม่ ๆ ในปี ค.ศ. 7, 9, 10, และ 14 หน่วยเงินตราสกุลใหม่เหล่านี้ (รวมถึงสกุลเงินเหรียญสำริดรูปทรงมีด ทองคำ เงิน เต่า และเปลือกหอยเบี้ย) มีราคาตลาดไม่เท่ากับน้ำหนักของเหรียญและปลอมปนมูลค่าของเงินสดเหรียญ[12] ครั้งหนึ่งเมื่อสงครามกลางเมืองซึ่งเป็นผลมาจากการล้มล้างหวัง หมั่งทุเลาลง เหรียญ "อู่จู" ถูกฟื้นฟูโดยจักรพรรดิฮั่นกวังอู่ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 25 – 57) ในปี ค.ศ. 40 จากการยุยงของหม่า หยวน (ปี 14 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 49)[12] ตั้งแต่รัฐบาลได้ออกใช้เหรียญในเขตปกครองที่มีคุณภาพด้อยกว่าและน้ำหนักเบากว่าเสมอ รัฐบาลกลางปิดการทำเหรียญในเขตปกครองทั้งหมดในปี 113 ก่อนคริสตกาลและยินยอมให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นผลิตเหรียญได้[13] ถึงแม้ว่าในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การออกใช้เหรียญของรัฐบาลกลางได้ถูกถ่ายโอนไปยังสำนักงานกระทรวงการคลัง (เป็น 1 ใน 9 กระทรวงของรัฐบาลกลาง) แต่รัฐบาลกลางยังผูกขาดการออกใช้เหรียญอยู่[14]

แกร์รี่ ลี ท็อดด์ (จบปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ และเป็นศาสตราจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติไซแอส ในเมืองซินเจิ้ง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน) จัดหาภาพถ่ายของเหรียญที่ออกในช่วงยุคราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ซินบนเว็ปไซต์ของเขา[15]

  • เหรียญถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดินีฮั่นเกา (ครองราชย์ปี 187 – 180 ก่อนคริสตกาล) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 34 มิลลิเมตร
  • เหรียญถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นเหวิน (ครองราชย์ปี 180 – 157 ก่อนคริสตกาล) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 24 มิลลิเมตร
  • เหรียญถูกออกใช้ในระหว่างต้นรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ครองราชย์ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ทำจากตะกั่วและออกใช้ก่อนการประกาศผูกขาดของรัฐบาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 – 23 มิลลิเมตร
  • เหรียญ "อู่จู" (五銖) ถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นเซฺวียน (ครองราชย์ปี 74 – 49 ก่อนคริสตกาล) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.5 มิลลิเมตร
  • เหรียญถูกออกใช้ในระหว่างสมัยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของหวัง หมั่ง (ปี ค.ศ. 6 – 9) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28 มิลลิเมตร
  • เหรียญรูปทรงมีดถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยของหวัง หมั่ง (ปี ค.ศ. 9 – 23)
  • เหรียญรูปทรงจอบถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยของหวัง หมั่ง (ปี ค.ศ. 9 – 23)
  • เหรียญถูกออกใช้ในระหว่างรัชสมัยของหวัง หมั่ง (ปี ค.ศ. 9 – 23) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร

การไหลเวียนและเงินเดือน

แม่พิมพ์สำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่น ใช้สำหรับทำเหรียญวูซู (五銖) ส่วนที่สร้างกับแม่พิมพ์นี้มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลางที่สามารถร้อยเชือกผ่านและลำเลียงได้ในครั้งเดียว

พ่อค้าและเกษตรกรชนบทจ่ายภาษีโรงเรือนและภาษีรายหัวเป็นเงินสดเหรียญและภาษีที่ดินเป็นสัดส่วนของผลผลิตพืชผล[16] ชาวนาได้รับเงินตราด้วยการทำงานเป็นแรงงานรับจ้างให้กับเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ในธุรกิจที่เหมือนกับโรงต้มเบียร์หรือโดยการขายสินค้าการเกษตรและเครื่องใช้ซึ่งทำเองที่บ้านที่ตลาดในเมือง[17] รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นอาจจะพบว่าการเก็บภาษีจากเหรียญเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเนื่องจากการขนส่งสินค้าที่เก็บภาษีนั้นจะไม่จำเป็นอีก[18]

จากปี 118 ก่อนคริสตกาลถึงปี ค.ศ. 5 รัฐบาลผลิตเหรียญทั้งหมด 28,000,000,000 เหรียญ โดยผลิตเฉลี่ยปีละ 220,000,000 เหรียญ (หรือ 220,000 เชือกของ 1,000 เหรียญ)[19] ในการเปรียบเทียบยุคเทียนเป่า (天寶) (ปี ค.ศ. 742 – 755) ของราชวงศ์ถัง ผลิต 327,000,000 เหรียญทุกปีในขณะที่ผลิต 3,000,000,000 เหรียญในปี ค.ศ. 1045 และผลิต 5,860,000,000 เหรียญในปี ค.ศ. 1080 ถูกผลิตในยุคราชวงศ์ซ่ง (ปี ค.ศ. 960 – 1279)[19] เงินสดเหรียญกลายเป็นมาตรวัดความมั่งคั่งร่วมกันระหว่างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ขณะที่ค่าจ้างจำนวนมากถูกจ่ายเป็นเงินสดอย่างเดียว[20] หลุนที่ห้า (第五倫) (ค.ศ. 40 – 85) ผู้ว่าราชการจังหวัดฉู่ (ปัจจุบันคือมณฑลเสฉวน) อธิบายว่า ความมั่งคั่งอย่างเป็นทางการของผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการถือครองที่ดิน แต่อยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์โดยรวม มูลค่าเป็นเงินสดประมาณ 10,000,000 เหรียญ[21] การทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์เกี่ยวข้องกับหนึ่งแสนเหรียญถือเป็นเรื่องธรรมดา[21]

แอนกัส แมดดิสัน ประมาณค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีนเท่ากับ 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัวในปี ค.ศ. 1990 ผลรวมอยู่เหนือกว่าระดับพอยังชีพ (Subsistence level) ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจนกระทั่งเข้าสู่สมัยต้นราชวงศ์ซ่งในปลายศตวรรษที่ 10[22] โจเซฟ นีดแฮม นักวิชาการสาขาวิชาจีนวิทยา โต้แย้งเรื่องนี้และกล่าวอ้างว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีนมีมากกว่ายุโรป โดยอัตรากำไรขั้นต้นที่สำคัญจากคริสต์ศักราชที่ 5 ต่อมาถือได้ว่าประเทศจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นมีความมั่งคั่งมากกว่าจักรวรรดิร่วมสมัยอย่างจักรวรรดิโรมัน[23] การไหลเวียนของเงินสดเหรียญอย่างแพร่หลายทำให้พ่อค้าจำนวนมากร่ำรวย ผู้ซึ่งใช้เงินของพวกเขาลงทุนในที่ดินและกลายเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ความพยายามหมุนเวียนเงินสดของรัฐบาลได้เพิ่มอำนาจให้กับชนชั้นสังคมซึ่งรัฐบาลพยายามปราบปรามอย่างกระตือรือร้นโดยผ่านการออกภาษี ค่าปรับ ยึดทรัพย์ และรูปแบบการควบคุมราคาที่หนักหน่วง[18]