การค้าภายในประเทศ ของ เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

การซื้อขายสินค้าและโภคภัณฑ์

ชุดของถ้วยและจานแบบมีหูจับเคลือบด้วยน้ำมันแลคเคอร์สีแดงและสีดำจากสุสานหมายเลข 1 ที่สุสานหม่าหวางตุย ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

นักประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ฮั่น เช่น ซือหม่า เชียน (ปี 145 – 86 ก่อนคริสตกาล) และปัน กู้ (ค.ศ. 32 – 92) เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมา ฟ่าน เย่ (ค.ศ. 398 – 445) บันทึกรายละเอียดการทำธุรกรรมทางธุรกิจและการซื้อขายผลิตภัณฑ์โดยพ่อค้ายุคราชวงศ์ฮั่น หลักฐานของผลิตภัณฑ์นี้ยังได้ปรากฏออกมาจากการวิจัยทางโบราณคดี

อาหารหลักประเภทพืชในช่วงราชวงศ์ฮั่น เช่น ข้าวฟ่างหางหมา ข้าวฟ่างหางกระรอก ข้าว (รวมถึงข้าวเหนียว) ข้าวสาลี ถั่วและข้าวบาร์เลย์[90] รายการอาหารชนิดอื่น รวมถึงข้าวฟ่าง เผือก ชบา มัสตาร์ด พุทรา ลูกแพร์ พลัม (รวมถึงสปีชีส์ Prunussalicina และสปีชีส์ Prunusmume) พีช แอปริคอทและยัมเบอร์รี่[91] ส่วนเนื้อที่รับประทานกันเป็นปกติ ได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน เนื้อวัว เนื้อหมู กระต่าย กวางซีกา นกเขาใหญ่ นกฮูก นกกระทา ไม้ไผ่จีน นกกางเขน ไก่ฟ้าคอแหวน นกกระเรียน และปลาหลายชนิด[92]

การผลิตไหมโดยวิธีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสร้างกำไรให้ทั้งเกษตรกรขนาดขนาดเล็กและผู้ผลิตขนาดใหญ่ เสื้อไหมมีราคาแพงเกินไปสำหรับคนจน ผู้ซึ่งสวมใส่เสื้อผ้าทำจากป่านอย่างธรรมดา[93] ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ชนบทปกติจะจักสานเสื้อผ้าของครอบครัวทั้งหมด[94]

สินค้าทำจากสำริดทั่วไปรวมถึงภาชนะภายในบ้าน เช่น น้ำมันตะเกียง หัวตะเกียงก๊าซหอม โต๊ะ เหล็ก เตา และโถน้ำแบบหยด มีการใช้สินค้าทำจากเหล็กในการก่อสร้างและในไร่นา เช่น คันไถ พลั่ว จอบ เสียม เกรียงโบกปูน เคียว ขวาน ใบมีด ค้อน สิ่ว มีดเลื่อย ปากกาสว่านและตะปู[95] มีการใช้เหล็กทำดาบ ง้าว หัวธนู และเสื้อเกราะเกล็ดสำหรับกองทัพด้วย[96]

ถึงแม้ว่าเนื้อสุนัขถูกบริโภคในระหว่างราชวงศ์ฮั่น แต่สุนัขก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย สุนัขเกือบทุกตัวถูกเก็บไว้เป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่บางพันธุ์ได้รับการขยายพันธุ์เพื่อการบริโภค[92] รูปปั้นสุนัขดินเผาในสุสาน 2 ตัวนี้กำลังสวมใส่ปลอกคอ

สินค้าทั่วไปอื่น ๆ รวมถึง เครื่องอุปโภคบริโภค (สุรา ผักดองและซอส แกะและหมู ข้าว ยีสต์หมัก ถั่วออกรส ปลาแห้งและหอยเป๋าฮื้อ อินทผาลัม เกาลัด ผักและผลไม้) วัตถุดิบ (หนังวัว เรือไม้ เสาไม้ไผ่ สีย้อม แตรชาด แล็กเกอร์ดิบ หยก อำพัน) เสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกาย (ผ้าไหม ผ้าที่ดีและหยาบ เสื้อขนตัวเซบลและหนังจิ้งจอก พรมและสักหลาด รองเท้าแตะหนังกลับ) ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร (ช้อนส้อมและตะเกียบสำริด เงิน ภาชนะทำจากไม้และเหล็ก เช่น ถ้วย แก้ว หม้อ ถัง เครื่องถ้วยเซรามิก) ศิลปวัตถุ (งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงา เครื่องเคลือบดินเผา) โลงศพที่หรูหรา (ทำจากต้นคาเทลป้า ปาทังกา ต้นสนชนิดหนึ่งและไม้เคลือบ) ยานพาหนะ เช่น รถลากสองล้อน้ำหนักเบาและเกรียนลากด้วยวัวหนักและม้า[97]

นอกเหนือจากสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่นได้ทำรายการสินค้าที่มีเฉพาะภูมิภาค รายการการค้าทั่วไปจากภูมิภาคของมณฑลซานซีในปัจจุบัน รวมถึงไม้ไผ่ เรือไม้ เมล็ดธัญพืชและอัญมณี มณฑลซานตงมีปลา เกลือ สุราและไหม เจียงหนานมีการบูร คาเทลป้า ขิง อบเชย ทองคำ ดีบุก ตะกั่ว ชาด นอแรดกระ ไข่มุก งาช้างและเครื่องหนัง[98] อีเบรย์ลงบัญชีสินค้าที่พบในสุสานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในเมืองอู่เวย มณฑลกานซู (ตามแนวเส้นเฮอซี เสริมสร้างโดยกำแพงเมืองจีน) ปรากฏหลักฐานว่าสินค้าฟุ่มเฟือยสามารถรับได้แม้แต่ในชายแดนอันห่างไกล[99]

... หม้อปั้นดินเผา 14 ใบ วัตถุที่ทำจากไม้ เช่น ม้า หมู วัว ไก่ เล้าไก่และสัตว์ที่มีนอเดียว เหรียญทองแดง 70 เหรียญ กลไกธนูที่มีคันติดกับด้ามทำจากสำริด 1 คัน แปลงเขียน 1 อัน สระว่ายน้ำหมึกเงาและการกลั่น (ซึ่งเรียกว่า Inkstone) ซึ่งห่อหุ้มด้วยแลคเคอร์ 1 ถาด ถาดและขันใส่แลคเคอร์ 1 ชุด หวีไม้ 1 อัน เครื่องประดับหยก 1 อัน รองเท้าป่าน 1 คู่ กระเป๋าฟางข้าว 1 ใบ เศษธงที่จารึกไว้ ปิ่นปักผม 1 อัน กระเป๋าหนังสือ 2 ใบและโคมไฟหิน 1 โคม

การจัดการสินทรัพย์และการค้าขาย

ก้อนอิฐแกะสลักสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จากผนังห้องสุสานของครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอำนาจในเมืองเฉิงตู เป็นภาพบ้านของเจ้าหน้าที่ในราชสำนักราชวงศ์ฮั่นที่มั่งคั่งและมีอิทธิพล แสดงลักษณะลานภายในบ้าน ม้า ห้องนอน ห้องโถง ห้องครัว บ่อน้ำและหอนาฬิกา เจ้าบ้านและแขกนั่งและดื่มอยู่ในลานภายในบ้าน ขณะที่ไก่ตัวผู้ 2 ตัวต่อสู้กันและนกกระสา 2 ตัวเต้นอยู่ด้านนอก

ในต้นยุคราชวงศ์ฮั่น จักรพรรดิฮั่นหมิงผ่านกฎหมายซึ่งห้ามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกษตรมีส่วนร่วมทางการค้าในเวลาเดียวกัน[100] กฎหมายเหล่านี้บังคับใช้ไม่ได้ผลเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่เจ้าของที่ดินและเจ้าของบ้านผู้มั่งคั่งทำกำไรที่สำคัญจากการซื้อขายสินค้าที่ผลิตบนที่ดินของพวกเขา[100] กุ่ย ซื่อ (催寔) (เสียชีวิตปี ค.ศ. 170) เป็นผู้บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการรัฐบาลกลาง เริ่มต้นทำธุรกิจโรงกลั่นเหล้าองุ่นในบ้านเพื่อหาค่าใช้จ่ายค่าจัดงานศพพ่อของเขา เพื่อนชนชั้นสูงวิจารณ์เขาโดยกล่าวอ้างว่า การกระทำแบบนี้ผิดศีลธรรมแต่ไม่ผิดกฎหมาย[100]

หนังสือ ซื่อหมินเยว่ลิ่ง (四民月令) ของซุย ฉือ เป็นเพียงแค่งานเขียนสำคัญที่อยู่รอดมาได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกษตรจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[101] ถึงแม้ว่าอักษรจีน 3,000 คำจากฟ่าน เชิ่งจือซู (氾勝之書) ระบุเวลาว่าตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นเฉิง (ปี 33 – 7 ก่อนคริสตกาล) ยังคงอยู่รอดมาได้[102] หนังสือของซุย ฉือ ให้รายละเอียดของพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ งานเฉลิมฉลองวันหยุดเทศกาลและศาสนา ความประพฤติเพื่อความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและครอบครัว งานที่ทำในไร่นาและฤดูกาลการศึกษาของเด็กผู้ชาย หนังสือของซุย ฉือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำในเรื่องของเดือนที่เป็นเวลาแห่งการซื้อและขายที่ทำกำไรมากที่สุดในรูปแบบของสินค้าที่ผลิตในไร่นา[103]

ตารางดังต่อไปนี้เป็นรูปแบบว่าด้วย "การจัดการสินทรัพย์และครอบครัวในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตามที่พบในคำแนะนำรายเดือนสำหรับบุคคล 4 ชนชั้น (1974)" (Estate and Family Management in the Later Han as Seen in the Monthly Instructions for the Four Classes of People) (1974) ของอีเบรย์[104] อีเบรย์เขียนว่า “...สินค้าเหมือนกันถูกซื้อและขายเสมอในเวลาที่แตกต่างกันของปี เหตุผลนี้เป็นข้อมูลทางการเงินที่เห็นได้ชัดเจนมาก สินค้าถูกซื้อเมื่อราคาต่ำและถูกขายเมื่อราคาสูง”[104] จำนวนเฉพาะของการซื้อขายสินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ขึ้นบัญชีไว้ แต่กระนั้นเวลาของการซื้อและขายระหว่างปีเป็นข้อมูลที่ทรงคุณค่าที่สุดสำหรับนักประวัติศาสตร์[105] สิ่งที่สูญหายไปจากบัญชีของซุย ฉือ เป็นสินค้าสำคัญซึ่งครอบครัวของเขาซื้อและขายแน่นอนที่เวลาเฉพาะของปี เช่น เกลือ เครื่องมือทำไร่นาทำจากเหล็กและเครื่องใช้ในครัว กระดาษและหมึก (กระบวนการผลิตกระดาษถูกประดิษฐ์โดยไช่ หลุน ในปี ค.ศ. 105)[106] เช่นเดียวกับสินค้าฟุ่มเฟือย ได้แก่ ไหมและอาหารแปลกใหม่[107]

สินค้าที่ซื้อและขายตลอดปีบนที่ดินของซุย ฉือ (催寔)
เดือนของปีซื้อขาย
2ฟืนและถ่านข้าวฟ่างเปลือก ข้าวฟ่างเหนียว ถั่วเหลือง ป่านและข้าวสาลี
3ผ้าป่านข้าวฟ่างเหนียว
4ข้าวบาร์เล่ย์เปลือกและไร้เปลือก เศษแผ่นใยไหม
5ข้าวบาร์เล่ย์เปลือกและไร้เปลือก ข้าวสาลี ไหมจุรี เสื้อป่านและไหม ฟางข้าวถั่วเหลือง ถั่ว งา
6ข้าวบาร์เล่เปลือก ข้าวสาลี ไหมเนื้อบางและหนาถั่วเหลือง
7ข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์ ไหมเนื้อบางและหนาถั่วเหลือง ถั่ว
8รองเท้าหนัง ข้าวฟ่างเหนียวเมล็ดข้าวสาลีหรือข้าวบาร์เล่ย์
10ข้าวฟ่างเปลือก ถั่วเหลืองและถั่วและเมล็ดป่านไหมเนื้อหนา ไหมและไหมจุรี
11ข้าวเจ้า ข้าวฟ่างเปลือกและไร้เปลือก ถั่วและเมล็ดป่าน
รูปปั้นหมูและวัวดินเผาจากสุสานของยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

มีสภาวะการว่างงานอย่างรุนแรงท่ามกลางชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองในระหว่างช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีและวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์การเกษตรอันมั่งคั่งที่มีการจัดการเหล่านั้นเพลิดเพลินกับความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่และอยู่อย่างสุขสบาย[108] นอกเหนือจากงานเขียนของซุย ฉือแล้ว จัง เหิง นักประดิษฐ์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ในราชสำนัก (ค.ศ. 78 - 139) เขียนคำอธิบายที่สวยหรูเกี่ยวกับชนบทของเมืองหนานหยางที่อุดมสมบูรณ์และทดน้ำลงไปยังนา เขาได้กล่าวถึงพื้นที่ปลูกข้าว บ่อน้ำที่เต็มไปด้วยปลาและสวนมรดกและสวนผลไม้ที่เติมเต็มไปด้วยหน่อไม้ กระเทียมหอมฤดูใบไม้ร่วง ผักกาดก้านขาวฤดูหนาว งาขี้ม้อน ส้มและขิงสีม่วง[109]

ก้อนอิฐที่เรียงเป็นกำแพงของสุสานราชวงศ์ฮั่นที่มั่งคั่งถูกประดับด้วยดุนแม่พิมพ์หรือแกะสลักและภาพจิตกรรมฝาผนังทาสี ฉากที่แสดงอยู่เสมอเหล่านี้ของทรัพย์สินของผู้ครอบครองสุสาน ห้องโถง บ่อน้ำ รถม้า เล้าสัตว์ แกะ ไก่และหมู คอกม้าและคนงานที่ถูกจ้างให้เก็บหม่อน การไถพืชไร่และการใช้จอบขุดสวนหย่อม[110]

สินทรัพย์ขนาดเล็กและขนาดกลางถูกจัดการโดยครอบครัวเดี่ยว พ่อรับบทเป็นหัวหน้าผู้จัดการ ลูกชายเป็นคนงานภาคสนาม ภรรยาและลูกสาวทำงานกับคนรับใช้ผู้หญิงทอเสื้อและผลิตไหม[111] เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งมากมีชาวนาที่มีขนาดใหญ่ที่สนับสนุนให้ใช้ระบบการเช่าที่ดินโดยแบ่งผลผลิต ให้เหมือนกับระบบของรัฐบาลเพื่อให้รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน ภายใต้ระบบนี้ ชาวนาจะได้รับที่ดิน เครื่องมือ วัวและบ้านหนึ่งหลังเป็นการแลกเปลี่ยน เพื่อหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของผลผลิตพืชของพวกเขา[112]