การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและระดับชนชั้นทางสังคม ของ เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

เจ้าของที่ดินและชาวนา

รูปปั้นดินเผาคนรับใช้หญิงและที่ปรึกษาชายสวมใส่เสื้อคลุมไหมจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

หลังจากฉาง ยาง (เสียชีวิตปี 338 ก่อนคริสตกาล) แห่งรัฐฉินยกเลิกระบบบ่อนา (Well-field system) ของชุมชนและชนชั้นสูงในความพยายามที่จะเหนี่ยวรั้งอำนาจของขุนนางไว้ ที่ดินในประเทศจีนสามารถถูกซื้อและขายได้[24] นักวิชาการสาขาวิชาประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์ฮั่น เช่น ต่ง จ้งซู (ปี 179 – 104 ก่อนคริสตกาล) เชื่อในเรื่องการลุกขึ้นของชนชั้นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งในการปฏิรูปนี้[24] "หนังสือของหาน เฟยจื่อ" อธิบายถึงการใช้แรงงานจ้างของเจ้าของที่ดินเหล่านี้ในภาคการเกษตร การปฏิบัตินี้ย้อนหลังกลับไปถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล อาจเป็นไปได้ก่อนหน้านี้[24] เจ้าของที่ดินบางรายมีทาสจำนวนน้อยไว้ใช้งาน แต่มีจำนวนมากที่ให้เกษตรกรชาวนาเช่าที่ทำกินโดยให้จ่ายค่าเช่าและปันผลผลิตทางการเกษตรให้กับเจ้าของที่ดิน[3][25] เกษตรกรเจ้าของที่ดินซึ่งมีจำนวนมากกว่าเกษตรกรผู้เช่าที่ดินอยู่อาศัยและทำการเกษตรด้วยตนเอง แต่มักมีหนี้สินและขายที่ดินของพวกเขาเพื่อความร่ำรวย[3] เจ้าหน้าที่ราชสำนักฉาว ชั่ว (晁錯) (เสียชีวิตปี 154 ก่อนคริสตกาล) ให้ความเห็นว่าหากครอบครัวสามัญชนมีสมาชิก 5 คน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโดยอิสระไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ถึง 4.57 เฮกตาร์ (11.3 เอเคอร์) และไม่สามารถผลิตข้าวได้มากกว่า 2,000 ลิตร (530 แกลลอน) ทุกปี เมื่อใดที่เกิดภัยธรรมชาติประกอบกับอัตราภาษีที่สูงจะทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นหนี้จำนวนมาก ต้องขายที่ดิน บ้าน หรือแม้แต่เด็ก และต้องกลายเป็นผู้เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินเพื่อความร่ำรวย[26]

เจ้าหน้าที่ในราชสำนักของจักรพรรดิฮั่นไอ (ครองราชย์ปี 7 – 1 ก่อนคริสตกาล) พยายามดำเนินการจำกัดการปฏิรูปจำนวนของขุนนางที่ดินและเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งสามารถเป็นเจ้าของได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ดำเนินการไม่สำเร็จ[27] เมื่อหวัง หมั่ง เข้าควบคุมรัฐบาลในปี ค.ศ. 9 พระองค์ทรงยกเลิกการซื้อและขายที่ดินในระบบที่เรียกว่าแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ (王田 "หวังเถียน") นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบบ่อนา โดยที่รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินและรับประกันชาวนาทุกคนว่าได้ส่วนแบ่งพื้นที่เพาะปลูกเท่าเทียมกัน[28] ภายใน 3 ปีเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของที่ดินและขุนนางบังคับให้หวัง หมั่งยกเลิกปฏิรูป[28] หลังจากจักรพรรดิฮั่นเกิงฉื่อ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 23 – 25) และจักรพรรดิฮั่นกวังอู่ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 25 – 57) ฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น ทั้งสองพระองค์พึ่งพาบริการของครอบครัวผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่เพื่อรักษาสถานะของพระองค์ในสังคม เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจำนวนมากกลายเป็นเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งด้วย[29]

รูปจำลองบ่อน้ำที่มีหลังคากับถังน้ำดินเผายุคราชวงศ์ฮั่น

โดยปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชาวนาส่วนใหญ่กลายเป็นผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองและไปรับใช้บรรดาเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง ทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[30] ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางภายใต้จักรพรรดิฮั่นเหอ (ครองราชย์ปี ค.ศ. 88 – 105) ลดภาษีในช่วงเวลาของภัยพิบัติทางธรรมชาติและความทุกข์โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อการคลังมาก ผู้ปกครองคนต่อมากลับมีความสามารถในการรับมือกับวิกฤติน้อยลง ในไม่ช้ารัฐบาลจึงต้องพึ่งพาฝ่ายปกครองท้องถิ่นเพื่อดำเนินการบรรเทาทุกข์[31] หลังจากรัฐบาลกลางล้มเหลวที่ให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดเตรียมเสบียงอาหารในระหว่างที่มีฝูงตั๊กแตนและน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำเหลืองในปี ค.ศ. 153 ชาวนาผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองจำนวนมากกลายเป็นบริวารของเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความช่วยเหลือ[32] แพทริเซีย อีเบรย์ เขียนไว้ว่า ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเป็น “ยุคเปลี่ยนผ่าน” ระหว่างราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เมื่อเกษตรกรอิสระรายย่อยเป็นประชากรส่วนใหญ่ กับยุคสามก๊ก (ปี ค.ศ. 220 – 265) และต่อมาเป็นยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น (ปี ค.ศ. 304 – 439) เมื่อตระกูลใหญ่ใช้แรงงานที่ถูกควบคุม[33]

เมื่อกบฏโพกผ้าเหลืองปี ค.ศ. 184, สิบขันทีในปี ค.ศ. 189 และศึกปราบตั๋งโต๊ะในปี ค.ศ. 190 ทำลายเสถียรภาพรัฐบาลกลาง และเมืองลั่วหยางถูกเผา[34] ตรงจุดนี้ “... อำนาจของภาคเอกชนและส่วนท้องถิ่นเข้ามาเพื่อแทนที่อำนาจรัฐ”[33]

รูปปั้นเป็ดดินเผาสีเขียวเคลือบที่อุณหภูมิการเผาต่ำจากช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกรูปปั้นวัวลากเกวียน ม้า และคนยุคราชวงศ์ฮั่นดินเผา พบในสุสานที่เมืองลั่วหยาง

อัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นและพระมหากษัตริย์แห่งวุยก๊ก ทรงพระนามว่าโจโฉ (ปี ค.ศ. 155 – 220) ทรงสร้างความพยายามที่สำคัญครั้งสุดท้ายเพื่อกำจัดอำนาจของเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง พระเจ้าโจโฉทรงสถาปนาอาณานิคมทางการเกษตรซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการสำหรับสามัญชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ในการแลกเปลี่ยนเพื่อที่ดินและอุปกรณ์ราคาถูก เกษตรกรจ่ายผลผลิตพืชผลเป็นสัดส่วน[35] ในปีคริสต์ทศวรรษที่ 120 จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงพยายามสถาปนาอาณานิคมทางการเกษตรทางชายแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแนวระเบียงเหอซี (ปัจจุบันคือมณฑลกานซู) ที่พระองค์เพิ่งพิชิตมาได้ ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ทำไร่ไถนาจำนวน 600,000 คน บนดินแดนของรัฐเหล่านี้ใช้เมล็ดพันธุ์พืช สัตว์ช่วยงาน และอุปกรณ์ที่รัฐบาลเป็นผู้ให้กู้ยืม[36] พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 85 สั่งการให้รัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นและราชอาณาจักรที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาจัดระบบชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองให้ไปยังที่ดินของรัฐ โดยที่พวกเขาจะต้องถูกจ่ายค่าจ้าง จัดหาเมล็ดพันธุ์พืช ให้กู้ยืมเครื่องมือการเกษตร และยกเว้นการจ่ายค่าเช่าเป็นเวลา 5 ปี และจ่ายภาษีรายหัวเป็นเวลา 3 ปี[37] พระบรมราชโองการนี้ยังได้อนุญาตให้ชาวนากลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขาเมื่อใดก็ได้[37] รัฐบาลหลังจากยุคสามก๊กจัดตั้งอาณานิคมทางการเกษตรตามแบบจำลองนี้[38]

การปฏิรูปภาษี

เนื่องจากว่าครอบครัวเจ้าของที่ดินรายย่อยเป็นกลุ่มฐานภาษีหลักของราชวงศ์ฮั่น รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามช่วยเหลือและปกป้องเจ้าของที่ดินรายย่อยและจำกัดอำนาจของเจ้าที่ดินและพ่อค้าผู้มั่งคั่ง[39] รัฐบาลลดภาษีในเวลาที่เก็บเกี่ยวไม่ดีและให้การสงเคราะห์หลังจากเหตุภัยพิบัติ[40] การเลี่ยงภาษีและสินเชื่อเมล็ดพันธุ์พืชสนับสนุนให้ชาวนาพลัดถิ่นกลับคืนสู่ที่ดินของพวกเขา[40] พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 94 อภัยโทษให้ชาวนาพลัดถิ่นจากการจ่ายภาษีที่ดินและภาษีบริการแรงงานเป็นเวลา 1 ปีเมื่อกลับคืนไปยังไร่นาของพวกเขา[41] ภาษีที่ดินต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรถูกลดลงในปี 168 ก่อนคริสตกาล จากอัตราส่วน 1/15 ของผลผลิตพืชผล เหลืออัตราส่วน 1/30 และยกเลิกในปี ค.ศ. 167 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ภาษีถูกนำกลับมาใช้อีกในปี 156 ก่อนคริสตกาลที่อัตราส่วน 1/30[42] เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อัตราภาษีที่ดินเป็น 1/10 ของผลผลิตพืชผล แต่ภายหลังจากการรักษาเสถียรภาพภายหลังจากการสวรรคตของหวัง หมั่ง อัตราส่วนถูกลดไปยังอัตราส่วนเริ่มต้นที่ 1/30 ในปี ค.ศ. 30[43]

เนื่องจากสิ้นสุดยุคราชวงศ์ฮั่น อัตราภาษีที่ดินถูกลดลงไปที่ 1/100 กับรายได้ที่สูญเสียไปถูกชดเชยโดยการเพิ่มอัตราภาษีรายหัวและภาษีโรงเรือน[44] ภาษีรายหัวสำหรับผู้ใหญ่อยู่ที่ 120 เหรียญเป็นประจำทุกปี 240 เหรียญสำหรับพ่อค้า และ 20 เหรียญสำหรับผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 3 ปี และ 14 ปี เกณฑ์อายุที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าสำหรับผู้เยาว์เพิ่มขึ้นเป็น 7 ปีระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่น-ยฺเหวียน (ปี 48 – 33 ก่อนคริสตกาล)[45] และต่อมาชาร์ลส์ ฮัคเกอร์ นักประวัติศาสตร์ เขียนว่า ภายใต้การรายงานของจำนวนประชากรโดยเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นเป็นไปอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างขวาง ตั้งแต่ลดภาระผูกพันด้านภาษีและบริการแรงงานของพวกเขาแสดงผลต่อรัฐบาลกลาง[46]

รูปปั้นดินเผาทหารม้ายุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

ถึงแม้ว่ามีความต้องการเพิ่มรายได้เพื่อนำเงินไปทำสงครามฮั่น-ซฺยงหนู รัฐบาลในระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ขอหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีที่หนักหน่วงของเจ้าของที่ดินรายย่อย เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ รัฐบาลจึงกำหนดภาษีต่อพ่อค้าหนักขึ้น ยึดที่ดินจากขุนนาง ขายตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ และจัดตั้งการผูกขาดของรัฐบาลตลอดจนการผลิตเหรียญ การผลิตเหล็ก และการทำเหมืองเกลือ[39] ภาษีใหม่ถูกกำหนดต่อเจ้าของเรือ รถม้า รถเข็นล้อเดียว ร้านค้า และทรัพย์สินอื่น ๆ ภาษีโรงเรือนรวมทั้งหมดสำหรับพ่อค้าถูกขึ้นในปี 119 ก่อนคริสตกาลจาก 120 เหรียญสำหรับทุก 10,000 มูลค่าเหรียญของทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของ เป็น 120 เหรียญสำหรับทุก 2,000 มูลค่าเหรียญของทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของ[47] อัตราภาษีสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์เกือบทั้งหมดไม่เป็นที่รู้จัก ยกเว้นสำหรับของเหล้า หลังจากการผูกขาดของรัฐบาลเกี่ยวกับเหล้าถูกยกเลิกในปี 81 ก่อนคริสตกาล ภาษีโรงเรือนของ 2 เหรียญสำหรับทุก 0.2 ลิตร (0.05 แกลลอน) ถูกเรียกเก็บจากพ่อค้าเหล้า[16]

การขายบางตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ถูกรื้อฟื้นขึ้นในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโดยจักรพรรดินีเด็งสุย ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จากปี ค.ศ. 105 – 121 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลในเวลาที่เกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรงและการก่อกบฏอย่างแพร่หลายของชาวเชียงในภูมิภาคจีนตะวันตก[48] การขายตำแหน่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากภายใต้รัฐบาลที่ถูกครอบงำโดยขันทีในจักรพรรดิฮั่นหลิง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 168 - 189) เมื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดจำนวนมากถูกขายให้กับผู้ที่ชนะการประมูลแทนที่จะเป็นการบรรจุแต่งตั้งโดยผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบขุนนางหรือเข้ามหาวิทยาลัยของจักรพรรดิ[49]

การเกณฑ์ทหาร

รูปปั้นดินเผาทหารม้าและทหารราบ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

การเกณฑ์ทหารมีอยู่ 2 รูปแบบ เกิดขึ้นในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่น มีการเกณฑ์พลเรือน (更卒 "เกิ้งจู๋") และการเกณฑ์ทหาร (正卒 "เจิ้งจู๋") นอกจากการจ่ายภาษีการเงินและภาษีพืชผลของพวกเขาแล้ว ชาวนาทุกคนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่มีอายุระหว่าง 15 ปี และ 56 ปี จำเป็นต้องมีหน้าที่เกณฑ์ทหารเป็นเวลา 1 เดือนของแต่ละปี หน้าที่เหล่านี้ถูกเติมเต็มเสมอโดยทำงานเกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง[50]

เมื่อชาวนาผู้ชายที่มีอายุครบ 23 ปีจะถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร โดยพวกเขาจะถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารราบ ทหารม้า หรือทหารเรือ หลังจาก 1 ปีของการฝึกทหาร พวกเขาถูกส่งไปประจำการเป็นกองทหารรักษาการณ์ชายแดนหรือเป็นยามรักษาเมืองหลวงเป็นเวลา 1 ปี[50] พวกเขายังคงรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการปีนี้จนกระทั่งอายุครบ 56 ปี[50] เป็นอายุที่พวกเขาถูกปลดออกจากทหารกองหนุน ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าร่วมครั้งหนึ่งที่พวกเขาได้สิ้นสุดปีแห่งการเป็นทหารเกณฑ์[51] ทหารมือสมัครเล่นที่ถูกเกณฑ์มาเหล่านี้ประกอบเป็นกองทัพตะวันตก (南軍 "หนานจวิน") ขณะที่กองทัพตะวันออก (北軍 "เป่ย์จวิน") เป็นกองทัพที่มีตำแหน่งประกอบไปด้วยทหารอาชีพที่ได้รับเงินเดือน[52]

ในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ชาวนาสามารถหลีกเลี่ยงเดือนแห่งการเกณฑ์แรงงานประจำปีด้วยการจ่ายภาษีเป็นการแลกเปลี่ยน (更賦 "เกิ้งฟู่") การพัฒนานี้ไปด้วยกันได้กับการใช้แรงงานจ้างที่เพิ่มขึ้นโดยรัฐบาล[53] ในลักษณะเหมือนกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโปรดปรานการเกณฑ์ทหารของอาสาสมัคร การเกณฑ์ทหารที่จำเป็นของชาวนาที่มีอายุครบ 23 ปีสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการจ่ายภาษีทดแทน[54]

พ่อค้า

รูปปั้นสัตว์สำริดชุบทองจากราชวงศ์ฮั่น ประกอบด้วย ม้า ช้าง วัวและยูนิคอร์น

มีพ่อค้าชาวฮั่น 2 ประเภท ได้แก่ พ่อค้าขายสินค้าที่ร้านค้าในตลาดในเมือง และพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองและประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า[55] ผู้ประกอบการในเมืองที่มีจำนวนน้อยกว่าถูกลงบันทึกว่าด้วยการลงทะเบียนอย่างเป็นทางการและต้องจ่ายภาษีการค้าอย่างหนัก[55] ถึงแม้ว่าพ่อค้าที่ลงทะเบียนเหล่านี้จะถูกเรียกเก็บภาษี แต่พระบรมราชโองการปี ค.ศ. 94 สั่งการให้ชาวนาที่ไม่มีที่ดินผู้ซึ่งต้องอาศัยเร่ขายได้รับการยกเว้นเก็บภาษี[41]ส่วนพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ มีความมั่งคั่งเสมอและไม่ต้องลงทะเบียน[55] พ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนร่วมในการค้าขนาดใหญ่เสมอกับครอบครัวและเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ[55] นิชิจิมะ เขียนว่า อัตชีวประวัติเกือบทั้งหมดของ “คนรวย” ในบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ และหนังสือยุคราชวงศ์ฮั่น (Book of Han) เป็นบรรดาพ่อค้าที่เดินทางไปตามเมืองต่าง ๆ[55]

ในทางตรงกันข้าม พ่อค้าในตลาดที่ลงทะเบียนมีสถานะทางสังคมต่ำมากและอาจมีข้อจำกัดเพิ่มเติมเสมอ[56] จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ทรงผ่านกฎหมายจัดเก็บภาษีที่สูงกว่า ห้ามพ่อค้าสวมใส่เสื้อไหมและห้ามทายาทรับราชการ กฎหมายเหล่านี้เป็นการยากที่จะบังคับใช้[56] จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงมุ่งเป้าไปยังทั้งพ่อค้าผู้ที่ลงทะเบียนและไม่ได้ลงทะเบียนกับภาษีที่เก็บสูงกว่า ในขณะที่พ่อค้าที่ลงทะเบียนไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ดิน ถ้าหากพวกเขาฝ่าฝืนกฎหมายนี้ที่ดินและทาสของพวกเขาจะถูกยึด[56] อย่างไรก็ตาม พ่อค้าที่ไม่ได้ลงทะเบียนที่มั่งคั่งเป็นเจ้าของบริเวณที่ดินขนาดใหญ่[57] จักรพรรดิฮั่นอู่ทรงลดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของพ่อค้ารายใหญ่อย่างน่าสังเกตด้วยการแข่งขันกับพวกพ่อค้ารายใหญ่อย่างเปิดเผยในตลาด โดยที่พระองค์ทรงจัดตั้งร้านค้าที่รัฐบาลเป็นผู้จัดการซึ่งขายสินค้าที่เก็บรวบรวมจากพ่อค้าเป็นภาษีโรงเรือน[39]