สังคมคอมมิวนิสต์
สังคมคอมมิวนิสต์

สังคมคอมมิวนิสต์

ในความคิดลัทธิมากซ์ สังคมคอมมิวนิสต์ หรือ ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจประเภทหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในกำลังการผลิต โดยเป็นตัวแทนเป้าหมายขั้นสุดท้ายของอุดมการณ์การเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ สังคมคอมมิวนิสต์มีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันโดยสามารถเข้าถึงสินค้าบริโภคได้อย่างเสรี[1][2] และปราศจากชนชั้นและรัฐ[3] อันส่อความถึงการยุติการขูดรีดแรงงาน[4][5]ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นขั้นตอนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจจำเพาะขั้นหนึ่งซึ่งยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของความมั่งคั่งทางวัตถุ ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของการผลิต ซึ่งจะเปิดให้กระจายสินค้าตามความต้องการของบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมโดยยึดปัจเจกชนที่รวมกลุ่มกันอย่างอิสระ[4][5][6]ทั้งนี้คำว่าสังคมคอมมิวนิสต์ไม่ควรสับสนกับมโนทัศน์รัฐคอมมิวนิสต์แบบตะวันตก ซึ่งหมายความถึงรัฐที่ปกครองโดยพรรคการเมืองที่ประกาศตนว่ารับเอาลัทธิมากซ์–เลนินรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปใช้[7][8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สังคมคอมมิวนิสต์ http://philosophy.fas.nyu.edu/docs/IO/19808/Allen-... http://plato.stanford.edu/entries/marx/ http://www.economictheories.org/2009/05/full-commu... http://www.marxists.org/archive/marx/works/1880/so... http://www.marxists.org/reference/archive/kropotki... https://books.google.com/?id=3bJHvA1H-2kC&pg=PA57 https://books.google.com/?id=6mq-H3EcUx8C https://books.google.com/books?id=mdLh5EMehwgC&pg=... https://web.archive.org/web/20090605001014/http://...