สัจนิยมมหัศจรรย์
สัจนิยมมหัศจรรย์

สัจนิยมมหัศจรรย์

สัจนิยมมหัศจรรย์ (อังกฤษ: magical realism) เป็นประเภทของบันเทิงคดีที่แสดงภาพโลกแห่งความเป็นจริงแต่มีองค์ประกอบของสิ่งวิเศษอยู่ในเรื่อง[1] หรือในความหมายทั่วไปคืองานวรรณศิลป์ที่มีเวทมนตร์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติปรากฏอยู่ในโลกสมจริงที่ดำเนินไปตามระบบเหตุผล ถึงแม้จะมีองค์ประกอบของสิ่งวิเศษ แต่สัจนิยมมหัศจรรย์แตกต่างจากจินตนิมิตตรงที่สิ่งวิเศษในงานเขียนสัจนิยมมหัศจรรย์มักไม่มีคำอธิบายแน่ชัดและกลมกลืนไปกับโลกจริง ขณะที่จินตนิมิตมักมีสิ่งวิเศษปรากฏในโลกที่ถูกสร้างขึ้นมาต่างหาก[2]คำว่าสัจนิยมมหัศจรรย์ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1925 โดยฟรันทซ์ โรห์ นักวิจารณ์ศิลปะชาวเยอรมันเพื่อใช้บรรยายภาพวาดแนวคติรูปธรรมแนวใหม่ (New Objectivity) ซึ่งเป็นขบวนการศิลปะเยอรมันที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสัจนิยมแต่เพิ่มความเหนือจริงเข้าไป[3][4] โรห์ใช้คำนี้เพื่อแยกกับลัทธิเหนือจริงที่มีความเป็นนามธรรม ไม่ได้ตั้งอยู่บนความเป็นจริง และมาจากจิตใต้สำนึกมากกว่า[5] ซึ่งภาพวาดแนวนี้บันดาลใจให้แมสซิโม บอนเตมเปลลี นักเขียนชาวอิตาลีนำมาปรับใช้ในงานเขียนตัวเอง ทั้งโรห์และบอนเตมเปลลี รวมถึงลัทธิเหนือจริงต่างมีอิทธิพลต่อนักเขียนชาวอเมริกาใต้หลายคนในเวลาต่อมา เช่น อาร์ตูโร อุสลาร์ ปีเอตรี, อะเลโจ การ์เปนติเยร์, ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส และกาบริเอล การ์ซิอา มาร์เกซ นอกเหนือจากอเมริกาใต้แล้ว งานเขียนแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ยังพบได้ในนักเขียนภาษาอื่น ๆ เช่น ซัลมัน รัชดี (อังกฤษ), ฮารูกิ มูรากามิ (ญี่ปุ่น) และออลกา ตอการ์ตชุก (โปแลนด์) เป็นต้นนอกเหนือจากการมีสิ่งวิเศษในโลกที่สมจริงแล้ว สัจนิยมมหัศจรรย์ยังมีลักษณะอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ authorial reticence หรือการที่ผู้เขียนจงใจปิดบังไม่อธิบายถึงการมีอยู่ของสิ่งวิเศษในเรื่อง หรือทำให้สิ่งวิเศษดูเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติ[6], ความเป็นอภิบันเทิงคดี (metafiction) หรือการที่ผู้เขียนย้ำเตือนว่าผู้อ่านกำลังอ่านเรื่องแต่งอยู่[7] และการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและชนชั้นสูง[8]

ใกล้เคียง

สัจนิยมเหตุซึมเศร้า สัจนิยมโดยตรงและสัจนิยมโดยอ้อม สัจนิยมแบบภาพถ่าย สัจนิยมมหัศจรรย์ สัจนิยม สัจนิยมสังคมนิยม สันนิบาตชาติ สันนิบาตอาหรับ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สันนิบาตฮันเซอ