ตัวอย่างการซื้อขาย ของ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า

ตัวอย่างการซื้อขายสัญญาโกล์ดฟิวเจอร์ส หากสมมติให้ปัจจุบันคือวันที่ 1 มีนาคม 2552 ราคาทองคำที่ซื้อขายและส่งมอบในปัจจุบันในท้องตลาดอยู่ที่น้ำหนักบาทละ 14,000 บาท ถ้านาย ก คาดว่าอีก 2 เดือนข้างหน้า ราคาทองคำจะปรับขึ้นเป็นน้ำหนักบาทละ 14,500 บาท นาย ก จึงเข้าไปตรวจสอบราคาโกลด์ฟิวเจอร์ส และพบว่าราคาโกลด์ฟิวเจอร์สที่ครบกำหนดปลายเดือนมิถุนายน 2552 พบว่ามีราคาซื้อขายอยู่ที่น้ำหนักบาทละ 14,300 บาท

จากทัศนคติในการลงทุนผสมกับประสบการณ์ของการลงทุนที่ผ่านมาของ นาย ก ทำให้นาย ก คิดว่า ราคาโกลด์ฟิวเจอร์สที่มีการซื้อขายกันในอนาคตนั้น มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นาย ก จึงตัดสินใจซื้อโกลด์ฟิวเจอร์สครบกำหนดเดือนมิถุนายน ที่ราคา 14,300 บาท เพราะนาย ก คาดการณ์ว่าราคานั้นจะต้องขยับขึ้นในอนาคตสมมติให้โบรกเกอร์กำหนดระดับหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ที่ 50,000 บาทต่อสัญญา และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ที่ 35,000 บาทต่อสัญญา (ในทางปฏิบัติระดับเงินประกันจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับราคาของ ทองคำ มุลค่าของสัญญา ความผันผวนตามของภาวะตลาด ฯลฯ)

    • ดังนั้นในวันที่ 1 มีนาคม นาย ก ซื้อโกลด์ฟิวเจอร์ส ที่น้ำหนักบาทละ 14,300 บาท จำนวน 1 สัญญา พอสิ้นวัน โบรกเกอร์จะทำการคำนวณกำไรขาดทุน (Mark to Market) เพื่อคำนวณหามูลค่าของเงินในบัญชีของนาย ก โดยใช้ราคาที่ใช้ชำระราคา (Settlement Price) ซึ่งสำนักหักบัญชีจะประกาศให้ทราบทุกสิ้นวัน โดยมีมูลค่าเท่ากับ 14,380 บาท หักด้วยราคาที่ นาย ก ได้ทำการซื้อไว้ 14,300 บาท (เปรียบเหมือนการซื้อทองคำไว้ที่ ราคา 14,300 บาท แล้วขายได้ในราคา 14,380 บาท ทำให้เกิดกำไร 80 บาทต่อน้ำหนักทองคำ 1 บาท และ 1 สัญญานั้นมีทองคำน้ำหนักโดยรวม 50 บาท ทำให้ในวันที่ 1 ตอนสิ้นวัน นาย ก ได้กำไรคิดเป็นเงิน 4,000 บาท) **

วันที่ 1 กำไรของ นาย ก = (14,380 - 14,300) x 50 = 4,000 บาท(โกลด์ฟิวเจอร์ส 1 สัญญา มีมูลค่าเท่ากับทองคำน้ำหนัก 50 บาท)ดังนั้น โบรกเกอร์ก็จะโอนเงินกำไรนี้เข้าบัญชีของนาย ก จึงทำให้ยอดเงินในบัญชีของนาย ก เพิ่มขึ้นเป็น 50,000 + 4,000 = 54,000 บาทต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม ราคาทองคำ ณ สิ้นวัน เท่ากับ 14,100 บาท นาย ก จึงขาดทุน เพราะราคาทองคำเมื่อวานเท่ากับ 14,380 บาท แต่วันนี้เหลือเพียง 14,100 บาท ขาดทุนน้ำหนักบาทละ 280 บาท โดย 1 สัญญามีทองคำหนัก 50 บาท จึงทำให้ขาดทุน 14,000 บาทวันที่ 2 ขาดทุนของ นาย ก = (14,100 – 14,380) x 50 = -14,000 บาทเมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้ โบรกเกอร์จึงโอนเงินออกจากบัญชีของนาย ก ทำให้เงินประกันของนาย ก ลดลงเหลือเพียง 54,000 - 14,000 บาท = 40,000 บาทในวันที่ 3 ราคาทองคำ ณ สิ้นวัน เท่ากับ 13,940 บาท ทำให้นาย ก ขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก โดยทำการเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้านี้ คือ เมื่อวันที่ 2 ราคาทองคำเท่ากับ 14,100 บาท แต่ในวันที่ 3 นี้ ราคาทองคำปรับลดลงอีกเป็น 13,940 ทำให้นาย ก ขาดทุน น้ำหนักทองคำบาทละ 160 บาท โดย 1 สัญญามีทองคำหนัก 50 บาท ทำให้สัญญานี้ขาดทุนอีก 8,000 บาทวันที่ 3 ขาดทุนของนาย ก = (13,940 – 14,100) x 50 = -8,000 บาทโดยเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า โบรกเกอร์จึงโอนเงินออกจากบัญชีของนาย ก ทำให้เงินประกันของนาย ก ลดลงเหลือ 40,000 - 8,000 = 32,000 บาทในวันที่ 3 นี้ นาย ก มีเงินประกันเหลือเพียง 32,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่มีระดับต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ (ที่ระดับ35,000 บาท) นาย ก จึงต้องนำเงินไปวางในบัญชีเพิ่ม ให้เงินในบัญชีกลับไปรักษาระดับที่หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) อีกครั้งหนึ่ง (ที่ระดับ 50,000 บาท) ดังนั้น นาย ก ต้องวางเงินเพิ่ม 50,000 – 3 2,000 = 18 ,000 บาทต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม นาย ก ต้องนำเงินไปวางในบัญชีเพิ่มเติม 18,000 บาท และพอสิ้นวัน หากราคาที่ใช้ชำระราคาเท่ากับ 14,100 ทำให้ นาย ก ได้กำไร เพราะเมื่อวันที่ 3 ราคาทองคำเท่ากับ 13,940 บาท แต่มาในวันนี้ราคาทองคำขยับขึ้นเป็น 14,100 บาท ทำให้ นาย ก กำไร น้ำหนักบาทละ 160 บาท โดย 1 สัญญามีทองคำน้ำหนัก 50 บาท ดังนั้น นาย ก ได้รับกำไร 8,000 บาทวันที่ 4 กำไรของ นาย ก = (14,100 - 13,940) x 50 = 8,000 บาทการทำกำไรของนาย ก ในวันนี้ ทำให้ยอดเงินในบัญชีของนาย ก เพิ่มขึ้นเป็น 50,000 + 8,000 = 58,000 บาทต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม นาย ก มีความคาดการณ์เปลี่ยนไปจากที่ได้ตั้งใจไว้ในตอนแรก และนาย ก ต้องการปิดสถานะของสัญญา นาย ก จึงส่งคำสั่งขายโกลด์ฟิวเจอร์สที่ราคา 14,200 บาท เพื่อปิดสถานะของสัญญา นาย ก จึงได้กำไรเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า (14,200 - 14,100) x 50 = 5,000 บาท และได้เงินคืนรวมทั้งหมด 58,000 + 5,000 = 63,000 บาทจากตัวอย่างข้างต้น นาย ก ขาดทุนทั้งสิ้น = (ราคาขาย – ราคาซื้อ) x น้ำหนักทองคำ= (14,200 - 14,300) x 50= -5,000 บาท (ขาดทุน)

การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส ผู้ลงทุนจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้และต้องมีการศึกษาถึงกลวิธี หรือกลยุทธ์ในการลงทุนให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน และต้องมีการอบรม ศึกษาถึงกลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ประเภทฟิวเจอร์ส หรือประเภทอื่น ๆ นั้น มีความเสี่ยงในการลงทุนค่อนข้างสูงการลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้นใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินทั้งจำนวนในการซื้อขาย ผู้ลงทุนเพียงแค่วางเงินประกันแค่ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญา หากผู้ลงทุนลงทุนซื้อทองคำจริง ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินเต็มมูลค่า สมมติราคาทองคำน้ำหนักบาทละ 18,000 บาท หากผู้ลงทุนซื้อทองคำหนัก 50 บาท เพื่อหวังจะทำกำไรในอนาคต ผู้ลงทุนจะต้องมีเงินลงทุนสูงถึง 900,000 บาท แต่การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจะจ่ายประมาณ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญาเพื่อเป็นเงินลงทุนเริ่มแรก (ทั้งนี้เงินลงทุนเริ่มแรกนี้ จะมีการปรับตามกลไกตลาด ซึ่งทางตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จะต้องเป็นผู้ประกาศ)การลงทุนด้วยเงินที่มีมูลค่าน้อยใน โกลด์ฟิวเจอร์ส นั้น หากผู้ลงทุนได้กำไร กำไรก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินลงทุน เพราะลงทุน ด้วยเงินน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนสูง และในทางกลับกันหากผู้ลงทุนขาดทุน การขาดทุนนั้นก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเช่นเดียวกัน เพราะผู้ลงทุนอาจสูญเสียทั้งเงินที่วางเป็นหลักประกันขั้นต้น และอาจถูกเรียก Margin Call ได้ในอีกหลายโอกาสการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรคำนึงในการ ซื้อขาย เพราะโดยปกติแล้วราคาทองคำจะเคลื่อนไหวสวนทาง หรือเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท หรือเงินสกุลหลักอื่น ๆ ทั่วโลก จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนควรติดตามให้ความสนใจ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจในการลงทุนได้ลักษณะของสัญญาฟิวเจอร์สนั้นจะมีอายุจำกัด ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้น และการลงทุนโดยการซื้อทองคำจริง ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์จริง ๆ จึงไม่มีวันหมดอายุ แต่หากผู้ลงทุนถือโกลด์ฟิวเจอร์สไปจนถึงวันครบอายุสัญญา ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา ก็จะมีการปิดสถานะของสัญญาให้ผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติ ผู้ลงทุนจะได้กำไรขาดทุนเท่ากับส่วนต่างระหว่าง ราคาที่ซื้อหรือขายฟิวเจอร์สไว้ และราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย

ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรที่จะรู้จักกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ก่อน ตัดสินใจลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส และควรติดตามสถานะการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเคลื่อนไหวของตลาดอนุพันธ์ จะมีการเคลื่อนไหวที่ไวกว่าตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น โอกาสในการทำกำไรและโอกาสในการขาดทุน จึงมีโอกาสในการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วผู้ลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น โดยทั่วไปจะเป็นนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาเพื่อเก็งกำไร แต่ในทางปฏิบัติแล้วนักลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้นสามารถกำหนดได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

ผู้ที่ต้องการใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedger)ผู้ที่เข้ามาลงทุนในตราสารอนุพันธ์ เพื่อสาเหตุหลัก คือ การป้องกันความเสี่ยง โดยที่ผู้ลงทุนอาจจะเป็นผู้ที่มีทองคำอยู่ในครอบครอง แต่คาดว่าราคาทองคำนั้นจะมีแนวโน้มลดลง กลัวว่าตนเองนั้นจะขายทองคำออกได้ไม่ทัน เมื่อราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงจึงทำการขายโกลด์ฟิวเจอร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคาทองคำในอนาคต แต่ถ้าผู้ลงทุนไม่มีทองคำอยู่ในครอบครองแต่มีความต้องการที่จะซื้อทองคำในอนาคต แต่กลัวว่าราคาทองคำจะแพงขึ้น จึงทำการซื้อโกลด์ฟิวเจอร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในอนาคตผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ (Speculator)ผู้ที่เข้ามาลงทุนเพื่อหวังส่วนต่างของราคาซื้อขายในอนาคต กับราคาสินทรัพย์จริง โดยผู้ลงทุนแบบนี้จะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ หากราคาไม่เป็นไปตามที่ได้คาดไว้ โดยหลักการในการลงทุนคือ ผู้ลงทุนจะซื้อโกล์ดฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทองคำจะมีแนวโน้มเพื่อขึ้น เพื่อทำกำไรในอนาคต แต่ผู้ลงทุนจะขายโกลด์ฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทองคำจะมีแนวโน้มลดลง เพื่อทำกำไรเช่นเดียวกัน แต่หากราคาทองคำไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ผู้ลงทุนเหล่านี้จะมีผลการลงทุนขาดทุนจำนวนมากผู้ค้ากำไรจากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร (Arbitrageur)ผู้ลงทุนที่ลงทุนในตลาด 2 แห่งพร้อมกัน เพื่อหวังผลจะทำกำไรจาก 2 ตลาด ด้วยเหตุของความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสารแต่ความแตกต่างกันของข้อมูลข่าวสารของตลาดนั้นมีไม่นานนัก

การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลทั้งทางวิชาการ และการปฏิบัติอีกมากในการลงทุน ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำถึงนี้เป็นข้อมูลในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจในขั้นตอนของการลงทุนเท่านั้น ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการที่จะลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สจริง ผู้ลงทุนจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะมิฉะนั้นผู้ลงทุนจะมีข้อมูลไม่เพียงพอกับการตัดสินใจลงทุน เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย และความเสี่ยงในการลงทุนได้ในอนาคต

ใกล้เคียง

สัญญา สัญญา ธรรมศักดิ์ สัญญา คุณากร สัญญาณแจ้งเหตุร้าย สัญญาประชาคม สัญญากับมาร สัญญาณเรียกขาน สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า สัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์