สัมประสิทธิ์

สัมประสิทธิ์ (coefficient) ความหมายในทางคณิตศาสตร์หมายถึงตัวประกอบการคูณในบางพจน์ของนิพจน์ (หรือของอนุกรม) ปกติแล้วจะเป็นจำนวนจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตัวแปรของนิพจน์ ตัวอย่างเช่นสามพจน์แรกมีสัมประสิทธิ์เป็น 7, −3 และ 1.5 ตามลำดับ (พจน์ที่สามไม่มีตัวแปร ดังนั้นพจน์ดังกล่าวจึงเป็นสัมประสิทธิ์โดยตัวเอง เรียกว่าพจน์คงตัวหรือสัมประสิทธิ์คงตัวของนิพจน์) ส่วนพจน์สุดท้ายไม่ปรากฏการเขียนสัมประสิทธิ์อย่างชัดเจน แต่ปกติจะพิจารณาว่ามีสัมประสิทธิ์เท่ากับ 1 เนื่องจากการคูณด้วยตัวประกอบนี้จะไม่ทำให้พจน์เปลี่ยนแปลง บ่อยครั้งที่สัมประสิทธิ์เป็นจำนวนดังเช่นตัวอย่างดังกล่าว แต่ก็สามารถเป็นพารามิเตอร์ของข้อปัญหาได้เช่นในประโยคต่อไปนี้พารามิเตอร์ a, b และ c จะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นตัวแปรดังนั้นพหุนามตัวแปรเดียว x สามารถเขียนได้เป็นสำหรับจำนวนเต็ม k บางจำนวน จะมี a k , . . . , a 1 , a 0 {\displaystyle a_{k},...,a_{1},a_{0}} เป็นสัมประสิทธิ์ เพื่อให้นิพจน์เช่นนี้เป็นจริงในทุกกรณี เราจะต้องไม่ให้พจน์แรกมีสัมประสิทธิ์เป็น 0สำหรับจำนวนที่มากที่สุด i โดยที่ ai ≠ 0 แล้ว ai จะเรียกว่า สัมประสิทธิ์นำ ของพหุนาม เช่นจากตัวอย่างนี้สัมประสิทธิ์นำของพหุนามคือ 4สัมประสิทธิ์เฉพาะหลายชนิดถูกกำหนดขึ้นในเอกลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่นทฤษฎีบททวินามซึ่งเกี่ยวข้องกับสัมประสิทธิ์ทวินาม สัมประสิทธิ์เหล่านี้ถูกจัดระเบียบอยู่ในรูปสามเหลี่ยมปาสกาล

ใกล้เคียง

สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อน สัมประสิทธิ์จีนี สัมประสิทธิ์ สัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮน สัมประสิทธิ์การลดทอน สัมปรติ สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ สัมปูรณานันทสันสกฤตวิศววิทยาลัย สัญประกาศ สามประสานศักดิ์สิทธิ์