พีชคณิตเชิงเส้น ของ สัมประสิทธิ์

ในพีชคณิตเชิงเส้น สัมประสิทธิ์นำ คือค่าแรกที่ไม่เป็นศูนย์ในแต่ละแถวของเมทริกซ์ เช่นกำหนดให้

M = ( 1 2 0 6 0 2 9 4 0 0 0 4 0 0 0 0 ) {\displaystyle M={\begin{pmatrix}1&2&0&6\\0&2&9&4\\0&0&0&4\\0&0&0&0\end{pmatrix}}}

สัมประสิทธิ์นำของแถวแรกคือ 1 สัมประสิทธิ์นำของแถวที่สองคือ 2 สัมประสิทธิ์นำของแถวที่สามคือ 4 ส่วนแถวสุดท้ายไม่มีสัมประสิทธิ์นำ

แม้ว่าสัมประสิทธิ์มักจะมองเห็นเป็นค่าคงตัวในพีชคณิตมูลฐาน แต่โดยทั่วไปมันก็สามารถเป็นตัวแปรได้ เช่นพิกัด ( x 1 , x 2 , . . . , x n ) {\displaystyle (x_{1},x_{2},...,x_{n})} ของเวกเตอร์ v ในปริภูมิเวกเตอร์ที่มีฐานหลัก { e 1 , e 2 , . . . , e n } {\displaystyle \lbrace e_{1},e_{2},...,e_{n}\rbrace } พิกัดจะเป็นสัมประสิทธิ์ของเวกเตอร์ฐานหลักในนิพจน์นี้

v = x 1 e 1 + x 2 e 2 + ⋯ + x n e n {\displaystyle v=x_{1}e_{1}+x_{2}e_{2}+\cdots +x_{n}e_{n}}

ใกล้เคียง

สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อน สัมประสิทธิ์จีนี สัมประสิทธิ์ สัมประสิทธิ์แคปปาของโคเฮน สัมประสิทธิ์การลดทอน สัมปรติ สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ สัมปูรณานันทสันสกฤตวิศววิทยาลัย สัญประกาศ สามประสานศักดิ์สิทธิ์