สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้น ของ สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อน

สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้น บอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่อการเปลี่ยนแปลงไดเมนชันเชิงเส้นของวัสดุ มันคือ อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของความยาวต่อระดับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

α = 1 L ∂ L ∂ T {\displaystyle \alpha ={1 \over L}{\partial L \over \partial T}}

การขยายตัวหรือหดตัวของวัตถุต้องนำมาพิจารณาเมื่อเราออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่ เมื่อเราใช้เทปหรือเชือกในการวัดระยะทางสำหรับการสำรวจพื้นที่ เมื่อออกแบบแม่พิมพ์สำหรับหล่อวัสดุ และในการประยุกต์ทางวิศวกรรมอื่น ๆ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ เนื่องจากอุณหภูมิ ค่าสำหรับวัสดุทั่วไปนั้น จะให้ในหน่วย หนึ่งในล้านส่วนต่อองศา เซลเซียส : (บันทึก: ค่าเหล่านี้สามารถเขียนเป็น เคลวิน เพราะการเปลี่ยนแปลงของหน่วยอุณหภูมิทั้งสองเป็นอัตราส่วน 1:1)

สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้น α
วัสดุα ในหน่วย 10-6/K ที่ 20 °C
ปรอท60
BCB42
ตะกั่ว29
อะลูมิเนียม23
ทองเหลือง19
สเตนเลส17.3
ทองแดง17
ทอง14
นิกเกิล13
คอนกรีต12
เหล็ก หรือ Steel12
Carbon steel10.8
แพลทินัม9
แก้ว8.5
GaAs5.8
Indium Phosphide4.6
ทังสเตน4.5
Glass, Pyrex3.3
ซิลิกอน3
เพชร1
ควอตซ์, หลอม0.59

สำหรับวัตถุที่เป็น isotropic โดยแท้ สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้นมีค่าประมาณใกล้เคียงกับหนึ่งในสามของค่าสัมประสิทธิ์เชิงปริมาตร

β ≅ 3 α {\displaystyle \beta \cong 3\alpha }

พิสูจน์

β = 1 V ∂ V ∂ T = 1 L 3 ∂ L 3 ∂ T = 1 L 3 ( ∂ L 3 ∂ L ⋅ ∂ L ∂ T ) ≅ 1 L 3 ( 3 L 2 ∂ L ∂ T ) = 3 ⋅ 1 L ∂ L ∂ T = 3 α {\displaystyle \beta ={\frac {1}{V}}{\frac {\partial V}{\partial T}}={\frac {1}{L^{3}}}{\frac {\partial L^{3}}{\partial T}}={\frac {1}{L^{3}}}\left({\frac {\partial L^{3}}{\partial L}}\cdot {\frac {\partial L}{\partial T}}\right)\cong {\frac {1}{L^{3}}}\left(3L^{2}{\frac {\partial L}{\partial T}}\right)=3\cdot {\frac {1}{L}}{\frac {\partial L}{\partial T}}=3\alpha }

อัตราส่วนนี้เกิดขึ้นเพราะปริมาตรมาจากทิศทางแบบ orthogonal รวมกันสามด้าน ดังนั้นในวัสดุแบบ isotropic หนึ่งในสามของการขยายเชิงปริมาตรจะเท่ากับการขยายในหนึ่งแกนเดี่ยว (เป็นการประมาณที่ใกล้มากสำหรับการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ) ระลึกไว้ว่า partial derivative ของปริมาตรเทียบกับความยาวที่แสดงในสมการข้างต้นนั้นเป็นค่าแท้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ มันสำคัญที่ว่า differential change ในปริมาตรนั้นใช้ในสำกรับการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในปริมาตรเท่านั้น (นั่นคือ สูตรไม่ใช่เชิงเส้น) เมื่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมีมากขึ้น และค่าของสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้นเพิ่มขึ้น ค่าความผิดพลาดในสูตรดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นตาม สำหรับการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรแบบไม่ประมาณทิ้ง

( L + Δ L ) 3 = L 3 + 3 L 2 Δ L + 3 L Δ L 2 + Δ L 3 {\displaystyle ({L+}{\Delta L})^{3}={L^{3}+3L^{2}}{\Delta L}+{3L}{\Delta L}^{2}+{\Delta L}^{3}}

ระลึกไว้ว่าสมการนี้ยังมีเทอมหลัก 3 L 2 {\displaystyle 3L^{2}} อยู่ แต่ยังแสดงเทอมอันตับสองที่มีค่าเป็น 3 L Δ L 2 = 3 L 3 α 2 Δ T 2 {\displaystyle 3L{\Delta L}^{2}={3L^{3}}{\alpha }^{2}{\Delta T}^{2}} ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุณหภูมิสามารถข่มค่าเล็ก ๆ สำหรับสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้น ถึงแม้ว่าสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อนเชิงเส้นจะเล็กทีเดียว แต่เมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของอุณหภูมิ differential change ของความยาวสามารถโตพอจนต้องพิจารณา เทอมสุดท้าย Δ L 3 {\displaystyle {\Delta L}^{3}} นั้นเล็กจนหายวับ และเกือบจะโยนทิ้งในวัสดุแบบ anisotropic การขยายตัวเชิงปริมาตรลัพธ์จะกระจายตัวไปในสม่ำเสมอตามแกนทั้งสาม

การประยุกต์

ใกล้เคียง