สัมพันธภาพระหว่างบุคคล

ในจิตวิทยาสังคม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (อังกฤษ: interpersonal relationship) หรือ มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงการรวมตัวกัน ความสัมพันธ์ และความผูกพันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งมีหลายแง่มุมที่ซ้อนทับกับแนวคิดของความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดของการวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์ โดยสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะแตกต่างกันไปตามความใกล้ชิด การเปิดเผยตนเอง ช่วงเวลา การพึ่งพาอาศัยกัน และการกระจายอำนาจ โดยมีหัวข้อหรือแนวโน้มหลักที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ครอบครัว ความเป็นญาติ มิตรภาพ ความรัก การสมรส การดำเนินธุรกิจ การจ้างงาน ความเป็นเพื่อนบ้าน ค่านิยม การค้ำจุน ความเป็นปึกแผ่น และอาจอยู่ภายใต้กฎหมาย บรรทัดฐาน หรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล และเกิดเป็นรากฐานของสังคมและกลุ่มทางสังคม และเกิดขึ้นเมื่อบุคคลติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันภายในบริบททางสังคมที่เฉพาะเจาะจง[1] และเติบโตได้ด้วยการประนีประนอมอย่างยุติธรรมกันทุกฝ่าย[2]การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบสหวิทยาการจะเกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การสื่อสาร คณิตศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ และวัฒนธรรมศึกษา และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่วิชาเหล่านั้น

ใกล้เคียง

สัมพันธ์ พันธุ์มณี สัมพันธ์ บุญญานันต์ สัมพันธ์ ทองสมัคร สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ สัมพันธ์รักรัตติกาล สัมพันธ์ แป้นพัฒน์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธสารวิเคราะห์ สัมพันธมิตร