ตัวอย่างเนื้อหา ของ สัมโมหวิโนทนี

ตัวอย่างการอธิบายศัทพ์วินิฉัย เช่น ในอายตนวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ อายตนวิภังคนิเทศ (บาลีข้อ 97) วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ ท่านผู้รจนาได้ทำการอธิบายศัพท์ที่ปรากฏในเนื้อความตอนนี้เช่น "สุณาตีติ โสตํ ชื่อว่าโสต เพราะอรรถว่าได้ยิน" และ "อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่าธรรม เพราะอรรถว่าย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน" เป็นต้น [7]

ตัวอย่างการอธิบายโดยยกอุปมาอุปมัย เช่นใน ปัจจยาการวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ ว่าด้วยการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ ได้ใช้วิธีการอุปมาลักษณะต่าง ๆ เพื่ออธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทได้อย่างแหลมคมและเห็นภาพ อีกทั้งยังมีความละเอียดลึกซึ้ง เฉพาะวิภังค์นี้มีความยาวกว่า 100 หน้ากระดาษพิมพ์แบบสมัยใหม่ แต่โดยคร่าว ๆ แล้วท่านผู้รจนาได้อธิบายนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ 4 นัยหลัก ๆ เพื่อแสดงถึงเหตุและปัจจัยอันก่อให้เกิดภพชาติ และการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และในท้ายที่สุดผู้รจนาย้ำว่า บัณฑิต "พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ประกอบความ เพียรเนือง ๆ ก็จะพึงได้ความหยั่งลงในประเภทแห่งปัจจยาการอันลึกซึ้งนี้ได้ [8]

ตัวอย่างการอธิบายโดยยกเรื่องราว เช่นในอารรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์ ว่าด้วยความมัวเมาต่าง ๆ ท่านผู้รจนาได้ยกตัวอย่างเรื่องเล่าและตัวอย่างจากพุทธประวัติมาประกอบให้เกิดความเข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ในการอธิบายส่าวนของอัตริจฉตานิทเทส หรือการอธิบายความอยากได้เกินประมาณ ท่านได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวของพระเจ้าพาราณสีหลงไหลนางกินนรีจนถึงกับทิ้งพระเทวี แต่สุดท้ายก็ต้องสูญเสียทั้งพระเทวีและนางกินนรีเพราะความละโมบ เป็นต้น [9]

ตัวอย่างการอธิบายแนวทางการปฏิบัติ เช่นการระบุถึงวิธีมนสิการ หรือพิจารณาธาตุโดยอาการต่าง ๆ 10 อย่างอันประกอบขึ้นมาเป็นร่างกาย ในส่วนของธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ ธาตุวิภังคนิเทศ วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ โดยท่านผู้รจนาได้เน้นหนักว่า การวิปัสสนาเพื่อบรรลุพระอรหัตนั้น "พึงชำระปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์ เพราะว่าการเจริญกรรมฐานย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีล" แล้วชี้ว่า "วิธีทำการชำระจตุปาริสุทธิศีลนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ" จากนั้นจึงพิจารณา หรือมนสิการ อาการต่าง ๆ ดังนี้ เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น [10]

ใกล้เคียง