รัฐบาลและการปกครอง ของ สาธารณรัฐกาแลกติก

ข้ารักประชาธิปไตย ข้ารักสาธารณรัฐ— พัลพาทีน

หอประชุมวุฒิสภาของสาธารณรัฐ

สาธารณรัฐเริ่มขึ้นในฐานะของการ่วมกันป้องกันและพันธมิตรทางเศรษฐกิจในหมู่ดาวหลายดวงในส่วนกลางของกาแลกติก ความล้มเหลวของสาธารณรัฐคือกฎระเบียบการจัดองค์กรของมัน การปฏิบัติการมากมายมีพื้นฐานบนการประชุม ซึ่งมันถูกมองข้ามและถูกกัดเซาะโดยนักการเมืองที่ฉ้อโกงและกระหายในอำนาจ รัฐบาลร่วมคือรัฐบาลแบบปกติของสาธารณรัฐ พร้อมความสนใจพิเศษในการจำแนกวาระของสภานิติบัญญัติ ทางด้านวุฒิสภา ในปีท้ายๆ ของสาธารณรัฐ พวกเขานั้นไร้ผลในการร่วมมือกันทำสิ่งที่พวกเขาต้องการ

อย่างไรก็ดี ปีหลังๆ ของสาธารณรัฐเป็นช่วงเวลาที่การโกงกินและความไม่ยุติธรรมในสังคมมีมาก วุฒิสภาถูกแบ่งออกเป็นผู้ที่อยากทำสิ่งที่เหมาะสมให้กับสาธารณรัฐ กับผู้ที่หวังในเป้าหมายของตนเอง หลังจากสมุหนายกที่อ่อนแอและไร้ประสิทธิผลมากมาย และวิกฤตการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรุกรานนาบูโดยสมาพันธ์การค้า เวลาของผู้นำที่แข็งแรงจึงได้มาถึงและยุติการโกงกิน


ด้านนิติบัญญัติ

สมาชิกรัฐแต่ละคนจะเป็นตัวแทนในวุฒิสภา วุฒิสมาชิกจะเป็นตัวแทนหรือเอกอัครราชทูตจากดาวของตน และดาวสมาชิกจะสามารถมีรัฐบาลและสังคมของพวกเขาที่สอดคล้องกับความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีของคนท้องถื่น มันรัฐบาลที่แตกต่างกันมากมายในการปกครองนี้ ตั้งแต่ระบบกษัตริย์จนถึงระบอบบที่คล้ายกับสาขาย่อย ในบางระบบ วุฒิสมาชิกจะได้รับเลือกในตำแหน่งนั้นๆ ในส่วนอื่น รัฐบาลของดาวจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกเอง ระบบราชวงศ์ของนาบูเลือกที่จะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกของพวกเขา ขณะที่สภาของอัลเดอรานจะเลือกตั้งวุฒิสมาชิกของพวกเขา

หอประชุมวุฒิสภา

เมื่ออำนาจและอิทธิพลของสาธารณรัฐแผ่ขยาย พื้นที่ใหม่ๆ ของกาแลกซี่ได้รวมเข้ากับสาธารณรัฐ การจัดตั้งองค์กรใหม่ของการใช้วุฒิสมาชิกเป็นตัวแทนได้เกิดขึ้นในปีที่ 1,000 ก่อนยุทธการยาวิน ในช่วงการปฏิรูปรูซานน์ องค์กรที่เป็นที่ธรรมดามากที่สุดสำหรับเขตปกครองใหม่เหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นเขตดาวประมาณห้าสิบดวง แต่ละเขตจะมีตัวแทนเป็นคณะผู้แทนในวุฒิสภา เมื่อเขตเริ่มมากเกินไป เขตจึงถูกจัดหยาบๆ เป็นดินแดนร่วมหนึ่งพันดินแดน แต่ละเขตจะมีผู้แทนเพียงคนเดียวในวุฒิสภา

วุฒิสภาเป็นกองบัญชาการหลักที่ด้านในจะมีแทนลอยจำนวนมาก ซึ่งแต่ละอันจะจุวุฒิสมาชิกได้หลายคน แต่ละแท่นลอยในวุฒิสภาจะเป็นตัวแทนของเขตแต่ละเขตในกาแลกซี่ โดยมีวุฒิสมาชิกหนึ่งคนต่อหนึ่งดาวในเขตนั้นๆ แท่นลอยบางแท่นจะเป็นตัวแทนดาวส่วนบุคคล อย่างสมาพันธ์การค้า เมื่อร่วมกับวุฒิสมาชิก ผู้นำของดาวสมาชิกส่วนบุคคลก็ยังมีสิทธิออกเสียงในสภาและเสนอกฎหมายได้ วุฒิสภาจะทำตามกฎทของรัฐสภาอย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่างที่ราชินีอมิดาล่าแห่งนาบูเสนอต่อสมุหนายกฟินิส วาโลรัม บังคับให้เขาต้องออกจากตำแหน่งในปีที่ 32 กอ่นยุทธการยาวิน

วุฒิสภาจะรับหนึ่งเสียงโหวตในทุกๆ เรื่อง สมุหนายกจะถูกเลือกตั้งจากภายในสภา กลุ่มคนจะถูกแบบออกเป็นคณะกรรมการ แต่ละคนจะถูกแบ่งให้ทำหน้าที่ในกระทรวงของรัฐบาล และจะรับผิดชอบในการสร้างกฎหมายที่จะนำไปใช้

แม้ว่าการออกกฎหมายที่ผ่านวุฒิสภาจะนำไปใช้กับดาวสมาชิกทุกดวง พลเมืองของสาธารณรัฐจะต้องปฏิบัติการกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือการเปิดโอกาสให้สมาชิกถกเถียงกันได้

ด้านบริหาร

สมาชิกของวุฒิสภาจะเลือกตั้งสมุหนายกจากกลุ่มของพวกเขา ผู้ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลของสาธารณรัฐและหัวหน้าการทูต (และเป็นผู้นำของรัฐไปโดยปริยาย)

หน่วยงานของรัฐบาลนั้นมีอำนาจน้อยในช่วงปีสุดท้ายของสาธารณรัฐ โดยเฉพาะหลังจากการปฏิรูปรูซานน์ และสมุหนายกทำหน้าที่เป็นผู้นำในวุฒิสภาและมีสิทธิเท่าเทียมกับทุกคนในวุฒิสภา อย่างไรก็ดี มันก็มีอำนาจที่จะเรียกการประชุมพิเศษของวุฒิสภา และสามารถขอร้องสิทธิพิเศษของสมุหนายกเพื่อหลีกเลี่ยงมุมมองในกระบวนการทำงานของวุฒิสภา เขายังเป็นหัวหน้าของสภาสูงอีกด้วย

มันยังคงเป็นตำแหน่งที่น่าเคารพ อย่างไรก็ตาม สมุหนายกมีห้องทำงานขนาดใหญ่ทั้งในตึกวุฒิสภาและอาคารทรงโดมในเมืองกาแลกติก สัญลักษณ์หน่วยงานของรัฐบาลคือสมุหนายก เช่นเดียวกันวุฒิสภากาแลกติก เครื่องหมายนี้มีอยู่บนโพเดี่ยมของสมุหนายกในห้องประชุมของวุฒิสมาชิก เมื่ออยู่ในห้องหลัก สมุหนายกมักจะสวมชุดคลุมที่เรียกว่าวีด้า (veda) สมุหนายกจะถูกเลือกตั้งมาจากวุฒิสมาชิก ผู้ซึ่งสร้างวุฒิสภากาแลกติกและมีวาระทั้งหมดสี่ปี สมุหนายกจะรับช่วงต่อได้เพียงสองวาระเท่านั้น วาระละสี่ปีเช่นกัน

หน่วยงานของรัฐบาลมีอำนาจอย่างมากในช่วงที่พัลพาทีนเป็นสมุหนายก ผู้ซึ่งสามารถโน้มน้าววุฒิสภาให้โหวตเสียงให้เขาใช้อำนาจ"ฉุกเฉิน"อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์แบ่งแยกดินแดนและจากนั้นก็สงครามโคลน รวมทั้งการเพิ่มวาระของเขาที่เกินรัฐธรรมนูญหลังจากปีที่ 24 ก่อนยุทธการยาวินเพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์แบ่งแยกดินแดนและขึ้นเป็นผู้นำทางทหารของสาธารณรัฐในช่วงสงครามโคลน สมุหนายกมีอำนาจโดยตรงเหนืออำนาจบริหาร กฎข้อบังคับของเขตยอมให้เขาแต่งตั้งผู้ว่าราชการทางทหารบนดาวทุกดวงของสาธารณรัฐ และการกระทำเพื่อความมั่นคงของเขาทำให้เขาควบคุมนิกายเจไดและกองทัพของสาธารณรัฐอย่างสมบูรณ์ เป็นการกำจัดทั้งเจไดและวุฒิสภา

ในที่สุด พัลพาทีนกลายมาเป็นผู้เผด็จการและแต่งตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของกาแลกซี่ ดังนั้นเขาก็ละทิ้งงานของสมุหนายกและเปลี่ยนสาธารณรัฐกาแลกติกให้กลายเป็นจักรวรรดิกาแลกติก ตำแหน่งสมุหนายกไม่ได้ถูกนำมาใช้อีกจนกระทั่งยุคของสาธารณรัฐใหม่ ซึ่งเลือกที่จะเรียกแทนว่าผู้นำของรัฐ น่าประหลาด เวลาสิบสามปีในการทำงานของพัลพาทีน และจนกระทั่งเขาเป็นจักรพรรดิกาแลกติก ได้สร้างมลทินให้กับตำแหน่งสมุหนายกอันน่าเคารพเสียจนสาธารณรัฐใหม่ก็ไม่นำมันมาใช้อีก ทั้งที่ในยุคของสาธารณรัฐเก่าก่อนพัลพาทีนสมุหนายกถูกมองงว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี

ด้านพิจารณาคดี

ศาลสูงเป็นศาลที่สูงที่สุดในสาธารณรัฐเก่า และประกอบด้วยด้านการพิจารณาคดีรัฐบาลของสาธารณรัฐ ศาลสูงเป็นศูนย์บัญชาการในอาคารศาลกาแลกติกบนคอรัสซัง

ศาลประกอบด้วยผู้พิพากษาทั้งสิ้นสิบสองคน หนึ่งในนั้นจะเป็นหัวหน้าทั้งของศาลและการพิจารณาคดี สมุหนายกสามาใช้อิทธิพลแต่งตั้งศาลในบางครั้ง (อย่างน้อยในช่วงของพัลพาทีน) ส่วนใหญ่แล้วจะผ่านทางการเสนอชื่อ นอกจากทำหน้าที่เป็นศาลและผู้บ่งชี้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ศาลสูงยังมีหน้าที่สืบสวนคดีของนักการเมืองระดับสูงและผู้คนที่ร่ำรวยของสาธารณรัฐ อย่างไรก็ตาม ในบางคดีจะถูกจัดการโดยวุฒิสภา


ความเกี่ยวข้องกับนิกายเจได

ดูบทความหลักที่: นิกายเจได

นานนับพันชั่วคน อัศวินเจไดคือผู้พิทักษ์ความสงบและความยุติธรรมในสาธารณรัฐเก่า— โอบีวัน เคโนบี

เพื่อปกป้องพลเมืองของสาธารณรัฐและเกื้อหนุนความเหมาะสมของประชาธิปไตยและความสงบภายใน สมาชิกของนิกายเจไดจึงได้สาบานตนเป็นผู้พิทักษ์ความสงบและความยุติธรรมในสาธารณรัฐ ด้วยการตอบรับอำนาจของวุฒิสภา (ถึงจะไม่ใช่ทุกกรณี) เจไดจะรับบทบาทเป็นตัวแทนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภากาแลกติก ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นที่ไว้ใจของรัฐบาลด้วยความรับผิดชอบสูง คุมกฎหมายของสาธารณรัฐเพื่อทำตัวเป็นตัวแทนของสาธารณรัฐและสื่อกลางในการทะเลาะเบาะแว้ง พวกเขาคือ"ผู้รักษาความสงบ" ทั้งรักษาสมดุลของกฎระเบียบและควบคุมกาแลกซี่ไปในเวลาเดียวกัน ถึงแม้ว่านิกายเจไดจะภักดีต่อวุฒิสภากาแลกติก เจไดมากมายถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด เกลียดความคิดในการเป็นเครื่องมือของรัฐบาลที่โกงกิน เนื่องมาจากความไม่ไว้ใจในตัวในวุฒิสภาที่โงกินของเจได เจไม่ได้ตอบรับวุฒิสมภาโดยตรงและบางครั้งก็ทำตัวต่อต้านเพื่อสิ่งที่ดีกว่าแก่สาธารณรัฐ อย่างที่ได้เป็นมาก่อน เจไดได้ช่วยเหลือสาธารณรัฐในหลายสงครามซึ่งอาจชี้เป็นชี้ตายพลเมืองและรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ หากปราศจากนิกายเจได สาธารณรัฐกาแลกติกอาจล่มสลายก่อนที่มันจะถูกครอบงำและกลายมาเป็นหน่วยงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเสียอีก

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน