ประวัติ ของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก

พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปที่เรียกว่า ปรากสปริง ภายใต้การนำของนายอเล็กซานเดอร์ ดุปเชค (Alexander Dubček) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี พ.ศ. 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกีย

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวะเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติเวลเวต (Velvet Revolution) และนายวาคลัฟ ฮาเวล (Václav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2532

รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นายวาคลัฟ ฮาเวลได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กในปี พ.ศ. 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และนายวาคลัฟ เคลาอุส (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน