การผนวกโรม ของ สาธารณรัฐโรมัน_(คริสต์ศตวรรษที่_18)

การรบของนโปเลียน บนคาบสมุทรอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1796 จนถึง ค.ศ. 1797 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพฝรั่งเศสในช่วงสงครามแห่งสาธารณรัฐ หลังจากการประสานมิตรแรก (ได้แก่ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, สเปน, เนเปิลส์ ฯลฯ) ใน ค.ศ. 1792 นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ตั้งใจว่า จะต่อสู้กับสหสัมพันธมิตรในอิตาลีตอนเหนือ เพื่อบีบบังคับให้ชาวออสเตรียเข้าร่วมการเจรจา ผ่านการรุกรานเพลียดมอนท์ ในเวลาเดียวกันเขาตั้งใจว่า จะเสริมกำลังกองทัพฝรั่งเศสแห่งอิตาลี ซึ่งมีจำนวนที่มากกว่า ออสเตรียและรัฐในอิตาลี การรุกรานคาบสมุทรอิตาลีในครั้งนี้ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเช่นกัน เนื่องจากสหสัมพันธมิตรที่หนึ่งคาดว่าจะมีการรุกรานหลักที่แม่น้ำไรน์ โรม ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐพระสันตะปาปาเป็นส่วนหนึ่งของสหสัมพันธมิตรที่หนึ่ง พร้อมกับรัฐอื่นๆ ในอิตาลีอีกมากมาย

หลังจากการข้ามเทือกเขาแอลป์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1796 และสามารถเอาชนะกองทัพเพลียดมอนท์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการที่ม็องเตนน็องเต และในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1796 ในยุทธการม็องโตวี โบนาปาร์ต ได้หันความสนใจ โดยไปทางใต้ของเพลียดมอนท์เพื่อจัดการกับรัฐพระสันตะปาปา โบนาปาร์ตสงสัยในคำสั่งที่แบ่งแยกเพื่อการรุกราน โดยส่งจดหมายสองฉบับไปยังคณะกรรมาธิการ จดหมายนั้นปล่อยให้ดีแร็กตัวร์ผ่อนปรนการรุกรานเพียงชั่วขณะ ออสเตรียซึ่งพ่ายแพ้ในยุทธการโลดิเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 และร่นถอยไปยังมีนีโก ภายใต้สนธิสัญญาโตเลนติโน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1797 โรมถูกบีบบังคับให้รับการทูตของสาธารณรัฐฝรั่งเศส[1] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 ฝรั่งเศสรุกรานและยึดครองรัฐพระสันตะปาปา ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการสังหาร มัวร์แต็งนิงก์ แลเอนาร์ต ตัวร์ป็องเต ซึ่งเป็นนายพลฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1797 หลังจากประสบความสำเร็จจากการรุกราน รัฐพระสันตะปาปาได้กลายเป็นรัฐบริวาร ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐโรมัน ภายใต้การนำของหลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย นายพลคนหนึ่งของโบนาปาร์ต[2] สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ถูกจับเข้าคุก และออกจากกรุงโรม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1798 และถูกเนรเทศไปฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาพระองค์ได้สิ้นพระชนม์

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการต่อสู้และความอดอยากภายใน ทำให้สาธารณรัฐอยู่ได้ไม่นานนัก และการสนับสนุนที่ไม่ได้รับความนิยม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ซึ่งเป็นวันที่สงครามประสานมิตรครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น กองทัพแห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ซึ่งอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1713–1799 ได้เดินเข้าไปในกรุงโรมที่ได้รับการพิทักษ์อย่างเบาบาง อย่างแท้จริง ก่อนจะจากไปและกลับไปทางใต้สู่ประเทศของตน ในปี ค.ศ. 1798–1799 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1798 ฌาคส์ แม็คโดนัลด์ ผู้ว่าการสาธารณรัฐโรมันในขณะนั้น นำกองกำลังของเขาในยุทธการที่ฟอร์เร็งติโน่ ที่ฟอร์เร็งติโน่ ใน ค.ศ. 1798 หลังจากนั้น ในยุทธการที่อ็อตตรีโดรี ที่อ็อตตรีโดรี ในปีเดียวกัน และในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1798 ในยุทธการที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ที่คีวิตา คาลสแตร์ลนา ซึ่งตามมาด้วยตำแหน่งข้าราชการทหารที่คาลวีร์ ริโกสคา และครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1799 ที่กาปัวร์ ก่อนที่เขาจะลาออกจากการบังคับบัญชา

หลังจากการรุกรานของเนเปิลส์ ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1799 รัฐพระสันตะปาปาได้รับการฟื้นฟูภายใต้รัชสมัยของพระสันตปาปาปิอุสที่ 7 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1800[3] ฝรั่งเศสได้ยึดครองรัฐพระสันตะปาปาอีกครั้งใน ค.ศ. 1808 หลังจากนั้นก็ถูกแบ่งแยกระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอิตาลี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามนโปเลียนใน ค.ศ. 1815

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน สาธารณรัฐเท็กซัส