สาธารณรัฐไวมาร์
สาธารณรัฐไวมาร์

สาธารณรัฐไวมาร์

สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ. 1918 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมันทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมันไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้นเยอรมนีได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อไคเซอร์(จักรพรรดิ) วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้สละบังลังก์แห่งเยอรมันและปรัสเซียโดยไม่ได้มีการตกลงที่จะสืบราชบังลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมาร และได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีได้ถูกก่อตั้งขึ้น สภาแห่งชาติได้มีการประชุมกันในเมืองไวมาร์ ที่รัฐธรรมนูญใหม่สำหรับเยอรมนีได้เขียนและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ในช่วงเวลาสิบสี่ปี สาธารณรัฐไวมาร์ต้องประสบปัญหามากมาย,รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง การเมืองที่มีแต่ความรุนแรง(ด้วยกองกำลังกึ่งทหาร-ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่โต้แย้งกับผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความไม่พอในเยอรมนีที่มีต่อสนธิสัญญาแวร์ซายที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ทางการเมืองที่พวกเขาโกรธแค้นต่อผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาและส่งเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข สาธารณรัฐไวมาร์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ของสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าจะไม่เคยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดอาวุธทั้งหมดและท้ายที่สุดก็ได้จ่ายเพียงเล็กน้อยของการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม(โดยการปรับโครงสร้างหนี้สองครั้งผ่านด้วยแผนการดอวส์และแผนการยัง) ภายใต้สนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีจะต้องยอมรับเขตชายแดนตะวันตกของประเทศโดยยกเลิกการอ้างสิทธิ์บนดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันในเรื่องเขตชายแดนตะวันออกและได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้ออสเตรียที่มีคนพูดภาษาเยอรมันเพื่อเข้าร่วมกับเยอรมนีในฐานะหนึ่งในรัฐเยอรมนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้ใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อหนุนหลังนายกรัฐมนตรี ไฮน์ริช บรือนิง, ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่, ความรุนแรงจากนโยบายของบรือนิงจากภาวะเงินฝืด ได้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1933 ฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคนาซีได้เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสม นาซีได้แค่สองในสิบที่นั่งในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ ฟ็อน พาเพิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็น Éminence grise(ผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง) ที่คอยเฝ้าจับตาดูฮิตเลอร์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยใช้การเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮินเดินบวร์ค ภายในเวลาไม่กี่เดือน กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคและรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของรัฐ: ได้ลบล้างการจัดการปกครองตามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน การเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์(มัคท์แอร์ไกรฟุง) ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยกฤษฎีกาซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในนิติบัญญัติ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ยุคสาธารณรัฐสิ้นสุดลง-ระบอบประชาธิปไตยล่มสลาย การก่อตั้งรัฐที่มีพรรคเดียวได้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคนาซี

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน สาธารณรัฐเท็กซัส