ปัญหาสุขภาพ ของ สาธารณสุขในประเทศอินเดีย

การขาดสารอาหาร

ดูบทความหลักที่: Malnutrition in India

ตามในรายงานเมื่อปี 2005 ระบุวว่าเด็กอินเดีย 60% ที่อายุต่ำกว่าสามปีขาดสารอาการ ซึ่งสูงกว่าในพื้นที่ sub-Saharan ของแอฟริกา[6] ดัชนีความหิวสากล (Global Hunger Index) ของประเทศอินเดียนั้นอยู่ที่ลำดับ 67 จาก 80 ประเทศ ซึ่งหนักกว่าประเทศอย่างเกาหลีเหนือ หรือซูดาน นอกจากนี้เด็กอายุต่ำกว่าห้าปี 44% มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ (underweight) ในขณะที่ทารกแรกเกิด 72% มีอาการโลหิตจาง[7]

พื้นที่ในอินเดียซึ่งมีการขาดสารอาหารในเด็กอย่างรุนแรง:[7]

  1. รัฐอุตตรประเทศ: เด็กส่วนใหญ่ที่นี่ที่อายุน้อยกว่าห้าปีมีปัญหาแคระแกร็น ตัวไม่โต ด้วยการขาดสารอาหาร
  2. รัฐทมิฬนาฑู: จากการสำรวจ National Family Health Survey พบว่าเด็ก 23% ในรัฐนี้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในขณะที่ 25% ของเด็กในเชนไนมีปัญหาแคระแกร็น
  3. รัฐมัธยประเทศ: ข้อมูลจากปี 2015 พบว่าในรัฐนี้มีเด็กขาดสารอาหารมากที่สุดในอินเดีย ในจำนวนนี้ 74.1% ที่อายุต่ำกว่า 6 ปีมีอาการโลหิตจาง และ 60% มีอาการขาดสารอาหาร
  4. ฌารขัณฑ์ และรัฐพิหาร: ฌารขัณฑ์มีจำนวนเด็กขาดสารอาหารมากที่สุดในอินเดียเป็นอันดับสองอยู่ที่ 56.5% ตามด้วยพิหารที่ 55.9%.

รูปแบบของอาการขาดสารอาหาร

การขาดสารอาหารในเด็ก

Infants and preschool children[9]
อาการความถี่ (%)
น้ำหนักเมื่อแรกเกิดต่ำ22
Kwashiorkor/Marasmus#<1
Bitot's spots#0.8-1.0
Iron deficiency anaemia (6–59 เดือน)70.0
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (weight for age)* (<5 ปี)#42.6
แคระแกร็น (height for age)* (<5 ปี)#48.0
Wasting (weight for height)*#20.0
น้ำหนักเกิน/โรคอ้วนในเด็ก6-30

* : <Median -2SD จากมาตรฐานการเติบโตของเด็กโดย WHO (Child Growth Standards)

# : NNMB Rural Survey - 2005-06

การขาดสารอาหารในผู้ใหญ่

Adults (prevalence)[9]
อาการหน่วยชายหญิง
เขตเมืองเขตชนบท#เขตชนเผ่า^เขตเมืองเขตชนบท#เขตชนเผ่า^
Chronic energy deficiency (BMI <18.5)%33.240.036.049.0
โลหิตจางในผู้หญิง (รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์)%75
โรคขาดไอโอดีน - Goitremillions54
โรคขาดไอโอดีน - Cretinismmillions2.2
โรคขาดไอโอดีน – Still births (includes neo-natal deaths)90,000
โรคเรื้อรังที่เกิดจากโรคอ้วน (BMI >25)%36.07.82.440.010.93.2
ความดันโลหิตสูง%35.025.025.035.024.023.0
เบาหวาน (ปี 2006)%16.05.0165.0
โรคหลอดเลือดหัวใจ%7–93–57–93–5
อัตราระบุโรคมะเร็งต่อล้านคน113123

* : <Median -2SD จาก WHO Child Growth Standards

# : NNMB Rural Survey - 2005-06

^ : NNMB Tribal Survey - 2008-09

โรคติดต่อ

โรคติดต่อเช่นโรคเด็งกี, โรคตับอักเสบ, วัณโรค, มาลาเรีย และปอดบวม เป็นโรคที่ยังคงระบาดในประเทศอินเดียเนื่องด้วยความต้านทานต่อยาที่สูงขึ้น (increased resistance to drugs)[10] ในปี 2011 ประเทศอินเดียได้เกิดอาการการดื้อยาทั้งหมด ('totally drug-resistant') ของ วัณโรค[11] ในขณะที่ เอชไอวี/เอดส์ในประเทศอินเดียนั้นสูงเป็นอันดับที่สามในบรรดาประเทศที่มีผู้ป่วยเอชไอวี องค์กรควบคุมมโรคเอดส์แห่งชาติ (National AIDS Control Organisation) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการควบคุมและกำจัดภาวะการแพร่ระบาดของโรคนี้ในอินเดีย[12] ส่วนโรคเกี่ยวกับท้องร่วง (Diarrheal diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสำคัญในเด็กวัยแรกเริ่ม[13] โรคต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสะอาดในอินเดียที่ต่ำ และน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยที่มีไม่เพียงพอ[14] ประเทศอินเดียมีผู้ป่วยโรคเรบีสมากที่สุดในโลก ส่วนมาลาเรียยังคงเป็นโรคตามฤดูในอินเดียเป็นเวลายาวนาน เช่นเดียวกับ Kala-azar, เด็งกี และชิคุนกุนยา ซึ่งสองโรคหลังนั้นติดต่อผ่านทางยุง Aedes[3]

ในปี 2012 ประเทศอินเดียได้ประกาศว่าเป็นประเทศปราศจากโรคโปลิโอ (polio-free) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[15] ด้วยผลจากการจัดโครงการ Pulse Polio ของรัฐบาลที่เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 1995–96[16]

การเสียชีวิตแรกเกิด

แม้จะมีการปรับปรุงพัฒนาในด้านสุขภาพในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา แต่หลายชีวิตยังคงสูญหายไปด้วยโรตในวัยแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดที่ไม่เพียงพอและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตรทำให้มีเด็กมากกว่าสองล้านคนเสียชีวิตทุก ๆ ปีจากการติดเชื้อที่ป้องกันได้[17] ในประเทศอินเดียมีเด็กประมาณ 1.72 ล้านคนเสียชีวิตก่อนอายุครบหนึ่งขวบในทุก ๆ ปี[18] ส่วนอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบนั้นได้ลดลงมาเรื่อย ๆ จากอัตราการเสียชีวิต 202 และ 190 รายต่อเด็ก 1000 คนในปี 1970 ถึง 64 ตามลำดับ และเหลือเพียง 50 รายต่อเด็ก 1000 คนในปี 2009 ในปี 2018 จำนวนนี้ลดลงมาที่ 41.1 รายต่อ 1000 คน[18][19][4] However, this decline is slowing. Reduced funding for immunization leaves only 43.5% of the young fully immunized.[20]

ความสะอาด

ดูเพิ่มเติมที่: Water supply and sanitation in India

ในปี 2008 มีครัวเรือนในอินเดียมากกว่า 122 ล้านครัวเรือนที่ไม่มีส้วม และ 33% ไม่สามารถเข้าถึงส้วมได้ นอกจากนี้ประชากรมากกว่า 50% (638 ล้าน) อุจจาระในพื้นที่เปิด (การประมาณการณ์ในปี 2008)[21] ตัวเลขนี้สูงกว่าบังกลาเทศ, บราซิล (7%) และจีน (4%).[21] ประชากรกว่า 211 ล้านคนได้รับการเข้าถึงความสะอาดที่พัฒนาแล้วในระว่างปี 1990–2008[21] อย่างไรก็ตามด้วยความสำเร็จของปฏิบัติการสวัฉภารัต ("Swacch Bharat Mission") ของรัฐบาลอินเดียที่เริ่มต้นในปี 2014 ประเทศอินเดียได้สร้างส้วมเพิ่มจำนวนกว่า 110 ล้านส้วมทั่วประเทศด้วยงบประมาณ 28 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ข้อมูลในปี 2018 ระบุว่าครัวเรือนอินเดียกว่า 95.76% สามารถเข้าถึงส้วม และในปี 2019 รัฐบาลได้ประกาศให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศปราศจากการขับถ่ายในที่เปิดสาธารณะ (Open Defecation Free (ODF))[22]

สำหรับการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและปลอดภัยในอินเดียนั้น การเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาดในอินเดียได้พัฒนาขึ้นจากประชากร 68% สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ในปี 1990 ขึ้นมาเป็น 88% ในปี 2008[21] อย่างไรก็ตาม มีเพียง 26% ของประชากรในสลัมที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้[22] นอกจากนี้ประชากรประมาณ 25% เข้าถึงน้ำสะอาดจากแหล่งน้ำส่วนตัว ปัญหานี้เลวร้ายลงด้วยระดับน้ำบาดาลในอินเดียได้ลดลงจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้เพื่อการประปาและเกษตรกรรม[21] นอกจากนี้ยังมีปัญหาแหล่งน้ำปนเปื้อนด้วยขยะหรือสารเคมีที่ถูกทิ้งอย่างไม่เป็นระบบประกอบด้วย[21]

ปัญหาสุขภาพสตรี

ดูบทความหลักที่: Women's health in India

ปัญหาสำคัญของสุขภาพสตรีอินเดียคือการเข้าไม่ถึงการทำคลอดโดยผู้ที่มีทักษะ รวมถึงจำนวนการดูแลทางสูตินรีเวชที่ไม่เพียงพอในประเทศ นอกจากนี้ มีคุณแม่อินเดียเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับ complete antenatal care และเพียง 58 เปอร์เซ็นต์ได้รับยาพวก iron หรือ folate tablets or syrup อย่างครบถ้วน[17]

สาธารณสุขในพื้นที่ชนบท

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ประชากรของประเทศอินเดีย 68% อาศัยอยู่ในเขตชนบท[23] ครึ่งหนึ่งของประชากรในชนบทนี้อาศัยอยู่ในความยากจนต่ำกว่าขีดเส้นความยากจน ซึ่งส่งผลให้เป็นเรื่องยากในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสม[24] ปัญหาสุขภาพในชนบทนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่มาลาเรียไปจนถึงมะเร็ง[25]

สาธารณสุขในพื้นที่เขตเมือง

ดูเพิ่มเติมที่: Urbanisation in India
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณสุขในประเทศอินเดีย http://www.antenna.ch/en/research/malnutrition/chi... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/01/2012113... http://www.nydailynews.com/life-style/health/total... http://www.thelancet.com/series/india-towards-univ... http://www.time.com/time/nation/article/0,8599,173... http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4746497 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26877568 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27760702 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29626558