ประเภทของสารลดแรงตึงผิว ของ สารลดแรงตึงผิว

สารลดแรงตึงผิวแบ่งตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์และสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ ซึ่งแบ่งย่อยได้อีกดังนี้[1]

สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์

โครงสร้างของ SDS

สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี นิยมแบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะส่วนที่ชอบน้ำของโมเลกุล ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวก สารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบ สารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุ และสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบ ตัวอย่างเช่น polyoxyethylene sorbitan monooleate (Tween80), polyoxyethylene(23)dodecanol (Brij35), sodium dodecyl sulfate (SDS) และ cetyltrimetylamonium bromide (CTMAB) เป็นต้น

สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ

โครงสร้างของแรมโนลิปิด

สารลดแรงตึงผิวชีวภาพแบ่งได้เป็น 5 ชนิดตามองค์ประกอบทางเคมีและชนิดของจุลินทรีย์ที่สร้างขึ้น ได้แก่ ไกลโคลิปิด ลิพอเปปไทด์ และลิพอโปรตีน กรดไขมัน ฟอสโฟลิปิด และนิวทรัลลิปิด สารลดแรงตึงผิวที่เป็นพอลิเมอร์ สารลดแรงตึงผิวที่เป็นอนุภาค หรือเป็นเซลล์จุลินทรีย์ทั้งเซลล์ ตัวอย่างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ ได้แก่ แรมโนลิปิด (rhamnolipid) ผลิตขึ้นได้จาก Pseudomonas sp. เซอแฟกทิน (surfactin) ผลิตจาก Bacillus subtilis อลาซาน (alasan) ผลิตจาก Acinetobacter radioresistens และซาพอนิน (saponin) เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ได้จากพืช เป็นต้น