งานวิจัย ของ สารโปรคิเนติก

งานวิจัยในสัตว์ได้พบว่า การให้สารเสริมชีวนะ (probiotic) คือ Lactobacillus rhamnosus และ Bifidobacterium lactis จะเพิ่มความเร็วและกำลังของ migrating motor complex ระยะ III ในลำไส้เล็ก ซึ่งมีผลลดการมีแบคทีเรียมากเกินและลดการย้ายที่ของแบคทีเรีย[10]

งานวิจัยในหนูได้พบว่าการให้อาหารเสริมเป็น Lactobacillus rhamnosus และ Bifidobacterium lactis จะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก ซึ่งลดระยะเวลาของรอบ migrating motor complex อย่างวัดได้ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า หนูที่ได้อาหารเสริมเช่นเดียวกัน จะเพิ่มจำนวนและความเร็วของ migrating motor complex ในระยะ IIIซึ่งทำให้ลำไส้เล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการไล่อาหาร แบคทีเรีย และสารคัดหลั่งเข้าไปในลำไส้ใหญ่[10]อีกงานหนึ่งพบว่า อาหารเสริมเช่นเดียวกับเร่งการขับอาหารในลำไส้เล็กของหนู[11]

ยังมีงานวิจัยผลของสารเสริมชีวนะต่อการบีบตัวของทางเดินอาหารในมนุษย์อีกด้วยคือพบว่า Lactobacillus reuteri ในทารก และ Lactobacillus casei และ Bifidobacterium breve ในเด็ก มีประสิทธิผลในการรักษาท้องผูกส่วน Lactobacillus plantarum ในผู้ใหญ่พบว่าเพิ่มความถี่การถ่ายอุจจาระ[12]

ใกล้เคียง

สารโปรคิเนติก สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบโคออร์ดิเนชัน สารประกอบ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอะลิฟาติก สารประกอบของแก๊สมีสกุล สารประกอบไอออนิก สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก สารป้องกันแรงดันออสโมติก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารโปรคิเนติก http://www.acidrefluxsymptomse.com/acid-reflux-sym... http://ajpgi.physiology.org/content/299/1/G144 https://web.archive.org/web/20180914085122/https:/... https://www.medicines.org.uk/emc/product/584/smpc http://ep.physoc.org/content/91/1/229.long https://web.archive.org/web/20110615110241/http://... https://doi.org/10.1152%2Fajpgi.00496.2009 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC29041... https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20413719 https://doi.org/10.1053%2Fj.gastro.2006.11.002