สาหร่ายสีแดง
สาหร่ายสีแดง

สาหร่ายสีแดง

สาหร่ายสีแดง หรือ โรโดไฟตา (อังกฤษ: Rhodophyta; มาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า ῥόδον (rhodon) แปลว่า กุหลาบ และφυτόν (phyton) แปลว่า พืช) เป็นหนึ่งในกลุ่มสาหร่ายเซลล์ยูคาริโอตที่เก่าแก่ที่สุด[2] โรโดไฟตายังประกอบด้วยหนึ่งในชนิดสาหร่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมีสาหร่ายสีแดงมากกว่า 7,000 สายพันธุ์ที่ผ่านการจัดจำแนกตามอนุกรมวิธานแล้ว[3] สายพันธุ์ส่วนใหญ่ (6,793) พบในชั้นฟลอริดีอาอี ประกอบไปด้วยสาหร่ายทะเลหลายเซลล์และสาหร่ายทะเลที่มีชื่อเสียง[3][4] ประมาณร้อยละ 5 ของสาหร่ายสีแดงพบได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดและมีสภาพอากาศที่อบอุ่น[5] ยกเว้น สองสายพันธุ์ในชั้นไซยานีดีโอไฟซีอาอีที่พบในถ้ำบริเวณชายฝั่ง สาหร่ายในชั้นดังกล่าวไม่พบว่าอาศัยอยู่บนบก ทั้งนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากปรากฏการณ์คอขวดที่ทำให้บรรพบุรุษของสายพันธุ์เหล่านี้สูญพันธุ์ไปร้อยละ 25[6][7]สาหร่ายสีแดงมีจุดเด่นที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั่นคือ มีเซลล์ยูคาริโอตที่ไม่มีแฟลกเจลลาและเซนทริโอล คลอโรพลาสต์ของมันไม่มีร่างแหเอนโดพลาซึมชั้นนอกและบรรจุไทลาคอยด์อย่างไม่เป็นระเบียบ นอกจากนี้ ยังมีสารไฟโคบีลีโปรตีนในฐานะรงควัตถุเสริม ทำให้สาหร่ายชนิดนี้มีสีแดง[8] สาหร่ายสีแดงเก็บน้ำตาลในรูปแป้งฟลอริดีอัน ซึ่งเป็นแป้งที่ประกอบด้วยอะไมโลเพกทิน (แต่ไม่มีอะไมโลส)[9] ในฐานะแหล่งเก็บอาหารนอกพลาสติดของมัน สาหร่ายสีแดงส่วนใหญ่มีหลายเซลล์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และมีวงจรสลับ 3 ช่วง[10]สาหร่ายกัลปังหา ซึ่งขับถ่ายแคลเซียมคาร์บอเนต มีส่วนช่วยในการสร้างแนวปะการัง สาหร่ายสีแดงอื่น ๆ อย่าง ดัลส์ (Palmaria palmata) และ ลาเวอร์ (โนริ/กิม) เป็นต้นกำเนิดของอาหารเอเชียและยุโรป และมักใช้ทำอะการ์ คาร์ราจีนัน และสารปรุงแต่งอาหารอื่น ๆ[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาหร่ายสีแดง http://autocww.colorado.edu/~toldy2/E64ContentFile... http://deenr.rutgers.edu/Huan_Qiu_red_algae.html //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11429143 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23267354 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1088757 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3526103 http://www.seaweed.ie/algae/rhodophyta.html http://www.seaweed.ie/algae/rhodophyta.lasso http://www.algaebase.org/browse/taxonomy/?id=97240 //doi.org/10.1098%2Frspb.2001.1644