พัฒนาก้าวสำคัญ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ปี 2545
  • คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ฉบับแรก และอนุมัติให้ใช้งบประมาณเท่าที่จำเป็นในวงเงิน 9.5 ล้านบาท
ปี 2546
  • ร่วมผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน
  • ผลักดันมติคณะรัฐมนตรี ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังเวลา 22.00 น. ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ และป้ายโฆษณาใกล้สถานศึกษาเป็นผลสำเร็จ
  • รณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ปีแรกมีผู้งดดื่ม ร้อยละ 40.4 ประชาชน ร้อยละ 84.7 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้
  • คณะรัฐมนตรี มีมติให้ขยายเวลาออกอากาศของวิทยุโทรทัศน์ให้มีรายการเพื่อเยาวชนและครอบครัวในช่วงเวลาหลัก (prime time) เป็นผล
ปี 2547
  • กระทรวงสาธารณสุขปรับเปลี่ยนคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นรูปภาพ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2548 องค์การอนามัยโลกเชิญ สสส.เป็นที่ปรึกษาให้แก่ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในการจัดตั้งองค์กรลักษณะเดียวกัน
  • โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา มีผู้งดดื่มเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 48.9 และประชาชน ร้อยละ 84.1 รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ ประชาชน 229,979 คนร่วมลงนามปฏิญาณตนงดเหล้าเข้าพรรษา
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เห็นชอบประกาศห้ามเติมน้ำตาลในนมสำหรับทารกและเด็กเล็ก
  • การแข่งขันกีฬาระดับชาติทุกรายการประกาศ ตัวเป็น "กีฬาปลอดแอลกอฮอล์" และ 14 สมาคมกีฬายุติการรับทุนอุปถัมภ์จากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีจำนวนลดลง โดยในปี 2547 มีผู้ดื่ม ร้อยละ 32.7 ลดลงจากปี 2546 ที่มีจำนวนผู้ดื่ม ร้อยละ 38.6
  • ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขประกาศห้ามโฆษณาบุหรี่ ณ จุดขายสำเร็จ และมีผลบังคับใช้เป็นประเทศที่ 3 ในโลก
  • ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอัตราเพิ่มอย่างต่อเนื่องเปลี่ยนเป็นอัตราลดลงในปีงบประมาณ 2548 ขณะที่ภาษีสรรพสามิตยาสูบลดลง ร้อยละ 6.8 โดยอัตราภาษียังคงเดิม
  • ผลักดันให้การทำสุหนัตของเด็กชายไทยเข้าอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ร่วมสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดทั้งการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วประเทศ
  • ร่วมผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายเพิ่มชั่วโมงพลศึกษาในหลักสูตรจากสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็น 2 ชั่วโมง
  • สื่อโฆษณารณรงค์ของสสส. ได้รับรางวัลดีเด่นจากการตัดสินผลงานโฆษณาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศรวม 26 รางวัล
ปี 2549
  • คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนดวาระหลักประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในปีแรกใช้ประเด็น “60 ปี 60 ล้านความดีเริ่มที่เยาวชน”
  • สนับสนุนให้สถานที่ราชการเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยดำเนินงานในหน่วยราชการนำร่อง 29 หน่วยงาน
  • เปิดตัวสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว "ETV " ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามโรงเรียนทั่วประเทศจำนวน 20,000 แห่ง และครอบครัวที่เปิดรับเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 2 ล้านครัวเรือน
ปี 2550
  • ร่วมผลักดันให้มีการประกาศนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้
  • คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ เพื่อทำหน้าที่ให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ต่อสุขภาวะของสังคม
  • คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีวาระเด็กและเยาวชน ปี 2550 เพื่อให้เกิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน 5 ประเด็นและให้ 5 กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
  • กรมประชาสัมพันธ์กำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อวิทยุโทรทัศน์
  • กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายห้ามแจกตัวอย่างนมผสมแก่ทารกหลังคลอดในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม
  • มหาเถรสมาคมมีมติให้วัดทุกวัดทั่วประเทศจัดงานเทศกาลและงานต่าง ๆ ในวัด โดยปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • กองทัพไทยมีนโยบายและแผนแม่บทการสร้างเสริมสุขภาพกำลังพล โดยให้ทุกเหล่าทัพจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับแผนแม่บทและให้มีการดำเนินการตามแผน
  • คณะรัฐมนตรีมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุมการตลาดขนมเด็ก
  • รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 61 เรื่องการตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคและในมาตรา 30 และ 54 เรื่องสิทธิผู้พิการ
  • สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกาศมาตรฐานตู้ทำน้ำเย็นและห้ามโรงเรียนใช้ตู้ทำน้ำเย็นที่บัดกรีด้วยตะกั่ว
ปี 2551
  • ร่วมสร้าง นโยบาย กฎหมาย และมาตรการ สร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 36 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนโยบายด้านการลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ผ่านการพิจารณาจากฝ่ายนิติบัญญัติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ตุลาคม 2550 - กันยายน 2551) จำนวน 19 เรื่อง
  • ระบบบริการเพื่อสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรูปของศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และระบบบริการบำบัดของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสู่การให้บริการแก่ประชาชนทั่วประเทศ
  • ผลงานศึกษาวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ สสส. สนับสนุน เพิ่มขึ้นจาก 40 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2550 เป็น 168 เรื่อง หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า ศูนย์วิจัยเรื่องยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ที่ สสส. สนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น ได้ร่วมมีบทบาทในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านการป้องกันปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกปี
  • เครือข่ายสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 4 ประการ ขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น และได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้เฝ้าระวังความเสี่ยง และผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  • การรณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมและค่านิยมสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยงหลักทั้ง 4 ประการ ดำเนินต่อเนื่องโดยผ่านสื่อทุกแขนงตลอดทั้งปี
ปี 2559
  • 18 มกราคม 2559 นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่สอง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2559[3]
  • 23 มกราคม 2559 ที่ประชุมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แต่งตั้ง ผู้จัดการกองทุนได้แก่ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์
  • 8 มีนาคม 2559 มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 7 ราย[4]วันเดียวกัน นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ ขอลาออกจากตำแหน่งรองประธานกรรมการ คนที่สอง[5]
  1. นายแพทย์ วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการคนที่สอง
  2. นายแพทย์ คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคราชการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. ดร. สุวรรณี คำมั่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการพัฒนาชุมชน
  4. นาย วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการสื่อสารมวลชน
  5. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคราชการ ด้านการกีฬา
  6. นาย สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านศิลปวัฒนธรรม
  7. ดร. สัมพันธ์ ศิลปนาฎ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการบริหาร
ปี 2560

คณะกรรมการมีผล 17 ตุลาคม 2560[6]

  1. นายแพทย์ วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการคนที่สอง
  2. นายแพทย์ คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. นาย พิทยา จินาวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการพัฒนาชุมชน
  4. นาย วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการสื่อสารมวลชน
  5. นาง ทิชา ณ นคร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการศึกษา
  6. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการกีฬา
  7. อาจารย์ ดร. จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านศิลปวัฒนธรรม
  8. นาย ไพโรจน์ แก้วมณี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
  9. ดร. สัมพันธ์ ศิลปนาฎ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ด้านการบริหาร

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ http://kunkris.com/about http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news... http://thaipublica.org/2015/10/thaihealth-16-10-25... http://po.opdc.go.th/org2.php?cat_id=2 http://library2.parliament.go.th/giventake/content... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/...