ประวัติ ของ สำนักงานสอบสวนกลาง

ภูมิหลัง

ในปี พ.ศ. 2439 สำนักงานการระบุตัวอาชญากรแห่งชาติ (อังกฤษ: National Burau of Criminal Identification; NCBI) ได้ถูกก่อตั้งขี้น ซึ่งมีหน้าที่ให้ข้อมูลเพื่อระบุตัวอาชญากรที่เป็นที่รู้จักแก่หน่วยงานทั่วประเทศ จนกระทั่งมีการลอบสังหารประธานาธิบดี วิลเลียม แมกคินลีย์ ในปี พ.ศ. 2444 ก็ทำให้พวกเขารู้โดยทันทีว่าอเมริกาอยู่ภายใต้การคุกคามจากผู้นิยมอณาธิปไตย แม้กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงานสหรัฐจะได้จัดเก็บข้อมูลของผู้นิยมอณาธิปไตยมาเป็นปีแล้ว แต่ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ต้องการอำนาจมากกว่าเดิมในการสังเกตการณ์พวกเขา

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้รับหน้าที่ให้ดูแลกฎระเบียบการค้าระหว่างรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 แม้จะขาดแคลนบุคลากรก็ตาม ทำให้เกิดมีความพยายามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จนกระทั่งมีเรื่องอื้อฉาวการโกงที่ดินใน รัฐออริกอน ประธานาธิบดีโรสเวลต์ได้สั่งให้อัยการสูงสุดชาร์ลส์ โบนาปาร์ต จัดตั้งหน่วยงานราชการด้านการสืบสวนอย่างอิสระซึ่งจะรายงานต่ออัยการสูงสุดเท่านั้น

อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ยืมมือจากหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงหน่วยราชการลับ (อังกฤษ: U.S. Secret Service; USSS) ในเรื่องกำลังพลหรือก็คือพนักงานสืบสวนนั่นเอง ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 รัฐสภาสหรัฐห้ามไม่ให้กระทรวงยุติธรรมใช้บุคลากรจากกระทรวงการคลัง โดยอ้างว่าพวกเขาเกรงว่าหน่วยงานใหม่จะกลายเป็นกรมตำรวจลับ อีกครั้งจากการชี้แนะของประธานาธิบดีโรสเวลต์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้ย้ายไปจัดตั้งสำนักงานสอบสวนอย่างเป็นทางการ ซึ่งภายหลังก็ได้มีเจ้าหน้าพิเศษ (อังกฤษ: Special Agents) เป็นของตนเอง

การก่อตั้งสำนักงานสอบสวน

สำนักงานสอบสวนก่อตั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 อัยการสูงสุดโบนาปร์ตได้ใช้กองทุนค่าใช้จ่ายของกระทรวงยุติธรรมจ้างคน 34 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์บางคนของหน่วยราชการลับ เพื่อทำงานในหน่วยงานสืบสวนสอบสวนแห่งใหม่ อธิบดีของที่นี้คนแรก (ปัจจุบันรู้จักในนามผู้อำนวยการ) คือ สแตนลีย์ ฟินช์ อัยการสูงสุดโบนาปาร์ตได้แจ้งต่อรัฐสภาสหรัฐเกี่ยวกับการกระทำเหล่านี้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2451

หน้าที่แรกอย่างเป็นทางการของสำนักงานคือทำการสำรวจย่านค้าประเวณี เพื่อเตรียมตัวในการบังคับใช้รัฐบัญญัติแมนน์ (อังกฤษ: Mann Act) ที่ได้ลงมติผ่านร่างกฎหมายไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2453 และในปี พ.ศ. 2475 สำนักงานได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสอบสวนแห่งสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States Bureau of Investigation)

การก่อตั้งสำนักงานสอบสวนกลาง

ในปีต่อมา พ.ศ. 2476 สำนักงานสอบสวนก็ได้ถูกรวมเข้ากับสำนักงานสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Bureau of Prohibition) และได้ชื่อใหม่ว่าแผนกสอบสวนย่อว่า ดีโอไอ (อังกฤษ: Division of Investigation; DOI) ก่อนจะมาเป็นหน่วยงานราชการอิสระภายใต้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐในปี พ.ศ. 2478 และในปีเดียวกันชื่อก็ได้ถูกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการโดยเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์กลายเป็นชื่อเดียวกันกับปัจจุบันคือ สำนักงานสอบสวนกลาง (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI)

เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ในฐานะผู้อำนวยการเอฟบีไอ

เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอตั้งแต่ค.ศ. 1924 ถึง 1972

เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ รับราชการเป็นผู้อำนวยการเอฟบีไอตั้งแต่ปี 2467 ถึง 2515 รวมทั้งหมด 48 ปีรวมกันทั้งบีโอไอ ดีโอไอ และเอฟบีไอ เขามีส่วนรับผิดชอบที่สำคัญต่อการก่อตั้ง แล็บวิจัยการตรวจจับอาชญากรรมทางวิทยาศาสตร์ หรือ แล็บวิจัยเอฟบีไอ (อังกฤษ: FBI Laboratory) ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการในปี 2475 โดยเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของเขาเพื่อเพิมความเป็นมืออาชีพในการสืบสวนโดยรัฐบาล ฮูเวอร์ได้มีส่วนเกี่ยงข้องอย่างเป็นจริงเป็นจังต่อคดีใหญ่ๆและโครงกานส่วนมากที่เอฟบีไอรับผิดชอบในขณะที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่จากรายละเอียดข้างล่างนี้ เขาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการถกเถียงกันมากมายในเรื่องดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเอฟบีไอ โดยเฉพาะในช่วงปีหลัง ๆ หลังจากการเสียชีวิตของฮูเวอร์ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านกฎหมายซึ่งได้จำกัดเวลาดำรงตำแหน่งของผอ.เอฟบีไอในอนาคตเป็น 10 ปี

การสืบสวนคดีฆาตกรรมในช่วงแรกเริ่มของหน่วยงานใหม่นั้นรวมถึง คดีฆาตกรรมโอเซจอินเดียนด้วย (อังกฤษ: Osage Indian murders) ในช่วงสงครามอาชญากรรมตั้งแต่ปี 2473 เจ้าหน้าที่เอฟบีไอจับกุมและวิสามัญอาชญากรฉาวโฉ่ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งจากคดีลักพาตัว โจรกรรม และฆาตกรรมจากทั่วทั้งประเทศ โดยรวมถึง จอห์น ดิลลิงเจอร์ ด้วย

อีกกิจกรรมหนึ่งในช่วงทศวรรษแรกคือการมีบทบาทชี้ขาดในการลดขอบเขตและอิทธิพลของคูคลักซ์แคลน นอกจากนี้จากการทำงานของเอดวิน อาเธอร์ตัน บีโอไอกล่าวอ้างว่าพวกเขาได้รับความสำเร็จในการจับกุมกองกำลังทั้งหมดของคณะปฏิวัติแนวคิดใหม่ชาวเม็กซิโก ภายใต้การนำของนายพลเอนรีเก เอสตราดาตอนกลางช่วงปี 2463 ตะวันออกของซานดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

ฮูเวอร์เริ่มใช้การดักฟังโทรศัพท์ในปี 2463 ระหว่างการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม (อังกฤษ: Prohibition) เพื่อการจับกลุ่มผู้ลักลอบค้าของเถื่อน ในคดีออล์มสเตด วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2470 (อังกฤษ: Olmstead v. United States) ซึ่งผู้ลักลอบค้าของเถื่อนได้ถูกจับได้ผ่านการดักฟังโทรศัพท์ ศาลสูงสุดสหรัฐกล่าวว่าการดักฟังของเอฟบีไอจะไม่ละเมิดมาตรา 4 (อังกฤษ: Fourth Amendment) ในเรื่องการตรวจค้นและการตวจยึดอย่างผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อ เอฟบีไอไม่ได้เข้าไปในบ้านของใครดดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อให้สำเร็จการดักฟังโทรศัพท์ หลังจากได้ยกเลิกการใช้กฎสิ่งของต้องห้าม รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติการสื่อสารปี 2477 (อังกฤษ: Communications Act of 2477) ซึ่งระบุให้การดักฟังโทรศัพท์อย่างไม่ได้รับการยินยอมนั้นผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้มีการดักฟังได้ ในคดีนาร์ดัน วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2482 (อังกฤษ: Nardone v. United States) ศาลกล่าวว่าจากกฎหมายปี 2477 หลักฐานที่เอฟบีไอได้มาจากการดักฟังโทรศัพท์ไม่สามารถจะยอมรับได้ในชั้นศาล หลังจากคดีแคทซ์ วี ยูไนเต็ด สเตทปี 2510 (อังกฤษ: Katz v. United State) ได้กลับคดีปี 2470 ที่ได้อนุญาตให้มีการดักฟังได้ รัฐสภาสหรัฐได้ผ่านรัฐบัญญัติควบคุมอาชญากรรมรวมเรื่อง (อังกฤษ: Omnibus Crime Control Act) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณะทำการดักฟังโทรศัพท์ระหว่างสืบสวนได้ หากพวกเขาได้รับหมายศาลมาก่อน

ความมั่นคงแห่งชาติ

เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 2483 ถึงช่วงปี 2513 สำนักงานได้สืบสวนหลาย ๆ คดีเกี่ยวกับการจารกรรมต่อสหรัฐและชาติพันธมิตร เจ้าหน้าที่นาซี 8 คนซึ่งได้วางแผนวินาศกรรมต่อเป้าหมายอเมริกาได้ถูกจับและอีก 6 คนถูกประหาร (คดี Ex parte Quirin) ภายใต้คำพิพากษาของพวกเขา และเช่นกัน ณ เวลาขณะนั้น ความพยายามแกะรหัสร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรซึ่งเรียกว่า โปรเจกต์วีโนนา (อังกฤษ: Venona Project) ซึ่งเอฟบีไอได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก สามารถแกะรหัสการสื่อสารด้านข่าวกรองและการทูตโซเวียตได้ ทำให้รัฐบาลสหรัฐและบริเตนอ่านการสื่อสารของโซเวียตได้ ความพยายามนี้เป็นตัวพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของชาวอเมริกาที่ทำงานในสหรัฐด้านข่าวกรองโซเวียต ฮูเวอร์เองทำหน้าที่บริหารโปรเจกต์นี้แต่เขาเพิกเฉยต่อการแจ้งให้สำนักข่าวกรองกลางหรือซีไอเอทราบจนกระทั่งปี 2495 คดีที่มีชื่อเสียงอีกคดีนึงคือ การจับกุมสายลับโซเวียตชื่อ รูดอล์ฟ เอเบล ในปี 2500 จากการค้นพบสายลับโซเวียตปฏิบัติการในสหรัฐทำให้ฮูเวอร์สามารถทำตามแนวคิดที่มีมาอย่างยาวนานของเขากับภัยคุกคามที่เขาได้รับมาจากฝ่ายซ้าย ตั้งแต่ผู้จัดตั้งสหภาพพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐอเมริกาไปจนถึงพวกเสรีนิยมชาวอเมริกา

การกักกันชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

ในปี 2482 สำนักงานเริ่มรวบรวมรายขื่อการคุมขัง (อังกฤษ: Custodial Detention List) ซึ่งมีรายชื่อคนที่จะถูกนำไปคุมขังในสถานการณ์สงครามกับชาติอักษะ ชื่อส่วนใหญ่ในรายชื่อเป็นของผู้นำชุมชนอิสเซ เพราะการสืบสวนของเอฟบีไอสร้างมาจากรายชื่อของสำนักงานข่าวกรองกองทัพเรือที่มีอยู่ ซึ่งจะเน้นไปที่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นในฮาวายและชายฝั่งตะวันตก แต่พลเมืองชาวเยอรมันและอิตาลีหลาย ๆ คนก็มีชื่ออยู่ในรายชื่อลับเช่นกัน โรเบร์ต ชีเวอรส์หัวหน้าสำนักงานโฮโนลูลูได้รับอนุญาตจากฮูเวอร์ให้เริ่มการจับกุมคนที่อยู่ในรายชื่อได้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ในขณะที่ระเบิดยังคงตกลงใส่ท่าเพิร์ล การตรวจค้นบ้านและการจับกุมอย่างล้นหลาม (ส่วนมากกระทำโดยไม่มีหมายศาล) เริ่มต้นขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังการโจมตีและในหลายอาทิตย์ต่อมา ชาวอิสเซมากกว่า 5500 คนถูกคุมตัวโดยเอฟบีไอ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2485 ประธานาธิบดีแฟรงกลิน โรสเวลต์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 9066 (อังกฤษ: Executive Order 9066) ซึ่งได้มอบอำนาจในการขับไล่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นออกจากชายฝั่งตะวันตก ผู้อำนวยการเอฟบีไอฮูเวอร์ได้ต่อต้านการคุมขังและการขับไล่จำนวนมากที่จะตามมาจากข้อบังคับใช้เกี่ยวกับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นภายใต้คำสั่งบริหารที่ 9066 แต่โรสเวลต์ก็เอาชนะได้ เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำสั่งยกเว้นที่ตามมา แต่ในบางกรณีซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบทางทหารใหม่ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอก็จัดการจับกุมด้วยตัวเอง สำนักงานทำการสังเกตการณ์ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงสงคราม ทำการตรวจสอบภูมิหลังผู้ขอตั้งถิ่นฐานนอกค่ายและการเข้ามาในค่าย (ส่วนใหญ่โดยไม่มีการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการของกองบังคับการย้ายถิ่นฐานระหว่างสงคราม) และทำการฝึกสายข่าวเพื่อการจับตาพวกต่อต้านและพวกสร้างปัญหา หลังจากสงคราม เอฟบีไอได้รับมอบหมายให้ปกป้องชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่กลับมาจากการโจมตีของชุมชนผิวขาวที่ไม่เป็นมิตร

ใกล้เคียง