สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือชื่อย่อ ศธจ. เป็นหน่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบการสอนปฏิบัติกรรมฐาน ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรของคณะสงฆ์ไทย ภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ก่อตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้สำนักปฏิบัติธรรมที่มีอยู่แล้วได้รับการยกขึ้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือจัดตั้งขึ้นใหม่โดยคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด[1]ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด มีจำนวนกว่า 1,510 สำนัก แบ่งเป็นมหานิกาย 1,339 สำนัก และธรรมยุต 171 สำนัก กระจายอยู่ในทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยมีส่วนการศึกษาสงเคราะห์ กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก ที่รับสนองงานการดำเนินงานสนับสนุนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ของมหาเถรสมาคมในปัจจุบัน[2]

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักข่าวไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง