ประวัติ ของ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

คณะสงฆ์ไทย โดยมหาเถรสมาคม ได้ออกระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2543 ขึ้น เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ซึ่งต้องเสนอผ่านความเห็นชอบตามลำดับเจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ โดย คัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมที่มีอยู่แล้ว เพื่อได้รับการยกขึ้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หรือจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นใหม่ โดยคณะกรรมการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ซึ่งสำนักปฏิบัติธรรม ที่จะเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดได้ ต้องมีที่ตั้งอยู่ในวัดที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเรียบร้อยแล้ว และอยู่ภายในสังกัดมหาเถรสมาคมเท่านั้น

โดยในแต่ละสำนัก ต้องมีการจัดการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรตามที่กำหนดไว้ 5 สายปฏิบัติ[3] ซึ่งประกอบด้วย

  1. สายบริกรรมพุท-โธ
  2. สายบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ
  3. สายบริกรรมสัมมา-อรหัง
  4. สายอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจ)
  5. สายพิจารณารูป-นาม

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักข่าวไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง